“Eat Smart” ปรับการกิน ส่งผลต่อความสำเร็จมากกว่าที่คิด 

ปรับการกิน

“ปรับการกิน พิชิตประสิทธิภาพการทำงาน : สุขภาพดีเริ่มต้นที่ออฟฟิส”

“เที่ยงนี้ทานอะไรกันดี” เป็นคำถามที่เรามักได้ยินจากเพื่อนร่วมงานอยู่แทบทุกวัน ก็เพราะคนเราโดยเฉลี่ยใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตหรือครึ่งหนึ่งของวันไปกับการทำงาน งานวิจัยหลายชิ้นจึงพบว่า การส่งเสริมให้พนักงาน “ปรับการกิน” ส่งผลต่อสุขภาพของพนักงานและสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตลงได้ ซึ่งสำคัญไม่แพ้เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุในที่ทำงานเลยทีเดียวแต่กลับเป็นประเด็นที่มักถูกละเลย

การศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Occupational and Environmental Medicine พบว่าพนักงานที่รับประทานอาหารไม่ดีต่อสุขภาพมีแนวโน้มที่จะเสียประสิทธิภาพการทำงานมากกว่าพนักงานที่มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพถึง 66% นอกจากนี้ยังพบว่า ธุรกิจที่ลงทุนในโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของพนักงานได้รับผลตอบแทนเฉลี่ย 3.27 ดอลลาร์ต่อทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่จ่ายไป


และรู้หรือไม่ พนักงาน 68% กลับไม่ชอบพักเที่ยง และ 2 ใน 3 คนไม่ทานอาหารกลางวันเลยด้วยซ้ำ จากการสำรวจของ Reed แต่อย่างไรก็ตาม พนักงาน 90% ที่ใช้เวลาพักเที่ยงอย่างเหมาะสมรู้สึกสดชื่นและพร้อมที่จะกลับไปทำงานมากขึ้น การเคลื่อนไหวร่างกายในช่วงเวลาพักเที่ยงช่วยเพิ่มสมาธิ อารมณ์ และประสิทธิภาพในการทำงานได้ ดังนั้นแค่การสนับสนุนให้พนักงานใช้เวลาพักเที่ยงอย่างเต็มที่ รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ จัดให้มีการเดินเล่นพักผ่อนบ้างก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้แล้ว

ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จการองค์กรที่ช่วย “ปรับการกิน” พรักงาน

บริษัท Salesforce ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้านลูกค้าสัมพันธ์ชั้นนำของโลก มีโครงการส่งเสริมนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพของพนักงานที่เรียกว่า “Ohana Culture” โดยนำคอนเซปต์ของ “Farm to Table” จัดอาหารที่มีคุณภาพจากฟาร์มมายังโรงอาหารพนักงาน นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับประโยชน์ของอาหารในแต่ละท้องถิ่นและอาหารตามฤดูกาลอีกด้วย ผลปรากฎว่า พนักงานของ Salesforce ลาป่วยลดลง 20% และผลิตภาพเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายในเวลาเพียงแค่หกเดือน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จนั่นไม่ใช่แค่สถิติตัวเลขทางสุขภาพของพนักงานเท่านั้น แต่ยังเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่อพนักงานในระยะยาวอีกด้วย
.
กรณีของ Johnson & Johnson ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของโลก มีโครงการที่เรียกว่า “Wellness at Work” ซึ่งประกอบด้วยเวิร์กชอปให้ความรู้ด้านโภชนาการและแนะนำขนมของว่างที่ดีต่อสุขภาพที่หาซื้อได้ง่าย ๆ จากเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติใกล้ออฟฟิศ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ พนักงานจำนวนเพิ่มขึ้น 35% เลือกของว่างเพื่อสุขภาพแทนอาหารขยะที่คุ้นเคย ส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมของพนักงานดีขึ้น
.
ฝั่งของบริษัทเทคโนโลยี Cisco เองก็มีโครงการด้านโภชนาการที่ครอบคลุมซึ่งสนับสนุนให้พนักงานเลือกรับประทานอาหารที่ดีขึ้น โดยมีโค้ชด้านโภชนาการส่วนบุคคลให้กับพนักงาน คลาสเรียนทำอาหาร และจัดให้มีของว่างเพื่อสุขภาพในที่ทำงาน ซึ่ง Cisco พบว่าความผูกพันของพนักงานเพิ่มขึ้นถึง 15%

ไอเดียปรับการกินในองค์กรที่คุณทำได้ทันที

จากการสำรวจเรื่อง Health at Work ของ Financial Times พบว่า การมีนักโภชนาการช่วยดูแลการบริโภคอาหารของพนักงาน มีอัตราทำให้พนักงานหันมาดูแลสุขภาพและมีสุขภาพที่ดีขึ้นจากการกินได้มากที่สุด ดังนั้น องค์กรอาจจัดให้มีการปรึกษาเรื่องโภชนาการแบบเร่งด่วน 30 นาทีต่อคน นอกจากนี้ ตัวอย่างกิจกรรมที่หลายองค์กรสามารถทำได้ อาทิเช่น การจัดการแข่งขัน “Eat Smart” เป็นทีม เป็นระยะเวลาหนึ่งเดือน เพื่อส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมในการมีสุขภาพที่ดีร่วมกันเป็นทีม โดยให้มีการเตรียมแพลนอาหารสำหรับในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์โดยเน้นที่ธัญพืชไม่ขัดสี โปรตีนไม่ติดมัน และผักใบเขียว จะช่วยสร้างสมาธิและความแจ่มใสทางจิตใจที่ดีขึ้นตลอดสัปดาห์การทำงาน
ไม่เพียงแต่การรับประทานอาหารภายในที่ทำงานเท่านั้น ในเมืองใหญ่อย่างซานฟรานซิสโกมีการจัดพื้นที่สำหรับรับประทานอาหารร่วมกันในชื่อ “The Mill” ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมผู้ประกอบการในท้องถิ่น ศิลปิน และผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีมารวมตัวกัน เพื่อแบ่งปันอาหารและแลกเปลี่ยนความคิดกันอีกด้วย สภาพแวดล้อมของเมืองก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มสถาบันหรือเครือข่ายต่างๆ โดยโครงการนี้ช่วยเพิ่มให้เกิดความร่วมมือและการแก้ปัญหาร่วมกันได้มากถึง 25% หากองค์กรจะนำคอนเซปต์นี้ไปใช้บ้าง ก็สามารถสร้างบรรยากาศที่น่าดึงดูดด้วยการจัดพื้นที่ส่วนกลาง ที่มีโต๊ะกลางและการจัดที่นั่งแบบยืดหยุ่นที่ให้พนักงานมาพูดคุยกันได้แบบเป็นกันเอง
.
สำหรับองค์กรที่ต้องการปรับพฤติกรรมการบริโภคของพนักงาน ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญและเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิต ให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพ และยังมีการลงมือทำให้เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะเป็นการอบรมด้านการดูแลสุขภาพเป็นประจำ การแสดงฉลากอาหารที่ขายอยู่ในบริเวณโรงอาหาร หมั่นจัดกิจกรรมอาหารเพื่อสุขภาพร่วมกัน ทำให้พนักงานเข้าใจเรื่องการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมทั้งสร้างความสนใจให้กับพนักงานในรูปแบบที่สนุกสนานและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อีกด้วย เพียงเท่านี้ องค์กรก็จะสามารถมีพนักงานที่สุขภาพดีทั้งกายและใจ พร้อมที่จะลุยงานต่อไปด้วยกันได้ในระยะยาว

อ้างอิง : khonatwork

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

generation
จะทำอย่างไร? หากต้อง "ทำงานกับคนต่าง Generation" ที่คิดไม่เหมือนกัน
Generation กับความคิดที่ไม่เหมือนกัน เป็นอย่างไร?ความท้าทายของการทำงานร่วมกับคนที่ต่างอายุ ต่างช่วงวัย หลายครั้งไม่ใช่ความสามารถในการทำงานหรือประสบการณ์ที่มากกว่ากัน...
Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...