Diversity and Inclusion สำหรับพนักงานวัยสีเงิน (Silver Talent)

Diversity and Inclusion

ความสำคัญของ Diversity and Inclusion ในองค์กร

  • ในยุคที่หลายองค์กรตื่นตัวเรื่อง Diversity & Inclusion (D&I) บางแห่งอาจเริ่มต้นเพราะแรงกดดันจากสังคมหรือเพื่อภาพลักษณ์ แต่จริงๆ แล้ว D&I มีผลกระทบเชิงบวกต่อธุรกิจ โดยเฉพาะการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับทุกช่วงวัย
  • D&I ในไทยยังเน้นประเด็นเรื่องเพศและเชื้อชาติมากกว่าเรื่องอายุ กลยุทธ์ส่วนใหญ่จึงมุ่งให้คนรุ่นใหม่มีพื้นที่และบทบาทในองค์กร ซึ่งบางครั้งละเลยความสำคัญของพนักงานวัยสีเงิน

ทำความรู้จักกับกลุ่ม Silver Talent

  • ใครคือ Silver Talent?
    • กลุ่มอายุ 55-70 ปีที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากภาวะ Aging Population
  • ศักยภาพทางธุรกิจ:
    • มีเงินเก็บสูง
    • สุขภาพยังดี
    • มีเวลาว่างพร้อมใช้เทคโนโลยี
    • ในประเทศญี่ปุ่น พนักงานวัยนี้คิดเป็น 12.3% ของตลาดแรงงานตั้งแต่ปี 2017 และแนวโน้มในไทยกำลังตามมา

Unconscious Bias และความเข้าใจผิดที่ต้องแก้ไข

ความเชื่อที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Silver Talent

  1. “สุขภาพไม่ดีเท่าคนหนุ่มสาว”
    • ความจริง: พนักงานสูงวัยมักใช้วันลาป่วยน้อยกว่า และด้วยการดูแลสุขภาพในปัจจุบัน หลายคนยังแข็งแรงมาก
    • แนวทาง: ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ ergonomic และมีโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ
  2. “Productivity ต่ำกว่า”
    • ความจริง: พนักงานกลุ่มนี้มักมีความจงรักภักดีสูง งานต่อเนื่อง และตัดสินใจได้ดีจากประสบการณ์
    • แนวทาง: สร้างพื้นที่ให้แสดงศักยภาพ พร้อมเชื่อมโยงประสบการณ์กับนวัตกรรม
  3. “ไม่เปิดรับการเปลี่ยนแปลง”
    • ความจริง: ความต่อต้านเกิดได้ทุกวัย แต่ Silver Talent อาจต้องการวิธีเรียนรู้ที่เหมาะสม
    • แนวทาง: ออกแบบโปรแกรมฝึกอบรมที่ตอบโจทย์วิธีการเรียนรู้เฉพาะกลุ่ม

ในมุมของการจ้างงาน เรามักคุ้นเคยกับกับดักทางความคิด การตัดสินคนจากอายุ ไม่ว่าจะจากวัฒนธรรมดั้งเดิม หรือประสบการณ์ที่แตกต่างกัน จนกลายเป็นสิ่งที่ทำลายวัฒนธรรมองค์กรและฉุดรั้งการเป็นองค์กรแห่งอนาคต

มาดูกันว่า มีมุมมองอะไรบ้างต่อพนักงานสูงอายุที่องค์กรควรรับมือและให้ความรู้พนักงานทุกกลุ่ม เพื่อสร้างสถานที่ทำงานสำหรับพนักงานทุกคน (Truly Diversive Workplace) ที่เปิดกว้างและใช้จุดแข็งร่วมกันอย่างแท้จริงให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ และผลลัพธ์ทางธุรกิจที่สูงขึ้น ความเชื่อและ bias ที่เรามักพบเจอในองค์กรในช่วงการสรรหาคัดเลือก และการจะพิจารณาเลื่อนตำแหน่งพนักงาน

“พนักงานสูงอายุ อาจทำงานได้ไม่ดีพอเพราะมีปัญหาด้านสุขภาพ….”แต่จากการศึกษาพบว่า พนักงานสูงอายุใช้วันลาป่วยน้อยกว่าพนักงานรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งสัมพันธ์กับอัตราการลาและความพึงพอใจในงาน และด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์และเทรนด์การดูแลสุขภาพทำให้ผู้สูงอายุในปัจจุบันหลายรายแข็งแรงกว่าเด็กรุ่นใหม่ ๆ ที่มีโรคประจำตัวรุมเร้า และมีอาการออฟฟิศซินโดรมตั้งแต่ยังอายุน้อย หากองค์กรเล็งเห็นว่า สิ่งเหล่านี้อาจเป็นปัญหาในอนาคต ก็ต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิธีทำงานและ workplace ให้ ergonomic รวมถึงมีโปรแกรมดูแลสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อหนีห่างจาก dilemma นี้ในอนาคตที่ดูจะมาถึงเร็วกว่าเดิม

“พนักงานสูงอายุ Productive สู้พนักงานรุ่นใหม่ไม่ได้….” พนักงานวัย Silver มีความจงรักภักดีกับองค์กร มีความต่อเนื่องของงาน และหลายครั้งมีการตัดสินใจที่ดีกว่า ที่เกิดจากประสบการณ์ที่สะสมมา รวมถึงคนส่วนใหญ่ยังทำงานอยู่โดยมีเป้าหมายมากกว่าแค่เงินเดือนหรือการเติบโตก้าวหน้าในงาน ในขณะที่คนรุ่นใหม่อยากเลิกทำงานตั้งแต่อายุน้อย คนสูงวัยกลับอยากทำงานต่อไปอีกนาน ๆ เพื่อให้ตนยังรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและมีคุณค่าอยู่ ดังนั้นหลายคนยังคงมี passion และแสวงหาความ productive ในตัวเองอยู่ แม้ในเรื่องของเทคโนโลยีก็ตาม

“พนักงานสูงอายุชอบต่อต้านการเปลี่ยนแปลง…” ความจริงการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น พนักงานอายุน้อยก็เป็น แต่มักถูกแสดงออกมาด้วยอาการ “ดื้อรั้น” หรือ “ดื้อเงียบ” ที่น่าเอ็นดูจากมุมมองของคนที่มีประสบการณ์สูงกว่า แต่ข้อที่ต้องยอมรับคือ ผู้สูงอายุมีอัตราการอยากเรียนรู้ที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเด็ก ผู้สูงอายุหลายคนกระตือตือร้นเรียนรู้ที่จะใช้อินเทอร์เน็ต และ smart phone แต่มักเรียนรู้ได้ถึงจุด ๆ หนึ่งเท่านั้น ดังนั้นองค์กรควรหาเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายในการสร้างความรู้และทักษะใหม่ ๆ ให้กับ Silver Talent หรือ Active Ager ขององค์กรเหมือนกับ Young Talent แต่ด้วยรูปแบบที่แตกต่างกันเพราะวิธีเรียนรู้ไม่เหมือนกัน

การพัฒนาและการส่งต่อความรู้

การจัดโปรแกรมการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน

  • สร้าง Community of Practice ระหว่างพนักงานต่างวัย
  • ส่งเสริม Growth Mindset ในทุกวัย เพื่อเรียนรู้จากอดีตและพัฒนาทักษะใหม่
  • เน้น Inter-Department Collaboration เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้ข้ามสายงาน

การบริหาร Silver Employee ที่สำคัญคือ ทำอย่างไรให้คนเหล่านี้สามารถส่งต่อความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่สำคัญ (Critical Experience) ไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นอนาคตขององค์กรได้แบบครบถ้วนที่สุด เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่ยังคงรักษา Competitive Advantage แบบเดิม และเติมนวัตกรรมจากการรู้จักลูกค้าและองค์กรดีที่สุดเท่ากับคนที่ทำงานมากว่าครึ่งชีวิต การจะสร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนหลายวัยได้นั้น องค์กรต้องเพิ่ม growth mindset ในทุกเจเนอเรชั่น สำหรับคนที่มีประสบการณ์ ก็ให้เรียนรู้จากความผิดพลาด (Mistakes) ในอดีต และคอยหมั่นเติมความรู้และทักษะระหว่างสายงานเข้าไปมากขึ้น (Inter-Department) และอาจมีการจัดตั้งกลุ่มการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนในวัยเดียวกัน หรือต่างวัย (Community of Practice) โดยกำหนดชุดทักษะที่เป็นที่ต้องการ หรือทักษะที่คนสูงวัยต้องมา refresh ให้ทันกับปัจจุบันและอนาคต

ในขณะที่โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุค digitalization ธุรกิจมีเทคโนโลยีและคนรุ่นใหม่ที่มีหัวก้าวหน้าเข้ามาช่วยขับเคลื่อน แต่สิ่งที่ขาดที่สุดคือ ข้อมูลและประสบการณ์ ซึ่งติดอยู่กับประสบการณ์กว่า 30 ปีของคนวัย Silver ที่เป็น Silver Talent ขององค์กร ยิ่งองค์กรและผู้บริหารละเลยคนกลุ่มนี้เท่าไหร่ เพราะคิดว่าเก่งแล้ว หรือเป็นผู้บริหารอยู่แล้วทำมาตั้ง 30 กว่าปี ธุรกิจก็ยิ่งสูญเสียสิ่งที่สะสมมาตลอดปีที่ผ่าน ๆ มาจนต้องเริ่มต้นใหม่อยู่ตลอดเวลา คนรุ่นใหม่เข้ามาก็เหนื่อยกับการที่องค์กรไม่มีระบบ ไม่มีคนสอนงาน หรือไม่มีข้อมูล

บทบาทของ Silver Talent ในองค์กรยุคใหม่

  • Silver Talent ไม่เพียงเป็นพนักงาน แต่ยังสามารถเป็น ที่ปรึกษา หรือ Board of Advisor
  • การมีพนักงานต่างวัยในทีมช่วยเพิ่มมุมมองหลากหลาย สร้างสมดุลระหว่างนวัตกรรมและประสบการณ์

องค์กรใหม่ ๆ หลายแห่งอาจปฏิเสธว่า เรามีแต่คนรุ่นใหม่และไม่มีพนักงานอายุเกิน 35-40 ปี ซึ่งพบเห็นได้มากขึ้นในปัจจุบัน และเป็นเรื่องจริง แต่เชื่อได้ว่าทุกองค์กรจำเป็นต้องมีคนที่มีประสบการณ์ในเรื่องที่สำคัญ ๆ ที่เป็นหัวใจขององค์กรนั่งเป็นที่ปรึกษา หรือแม้แต่เป็น Board of Advisor ที่ให้มุมมองและประสบการณ์ หรือแม้แต่ Connection ที่สะสมมาหลายสิบปีจากคนกลุ่ม Silver Age นี้ ดังนั้นวิธี engage กับคนกลุ่มนี้ในแต่ละบทบาทก็อาจแตกต่างกันไปในเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ พนักงานพาร์ทไทม์ พนักงานชั่วคราว หรือที่ปรึกษา ซึ่งล้วนกำลังทำงานอยู่บนเป้าหมายเดียวกันในการทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ


จะดีกว่ามากหากเราสามารถสร้างองค์กรสำหรับทุกคน ทีมที่เปิดกว้างยอมรับและมีแนวปฏิบัติสำหรับความแตกต่างในเชิงบวก เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายเดียวกันด้วยเทคนิคและรูปแบบที่แต่ละคนได้เป็นตัวเองและได้ใช้ท่าที่ถนัดที่สุดในการทำภารกิจของแต่ละคน

สรุป: องค์กรสำหรับทุกวัย

องค์กรที่ประสบความสำเร็จคือองค์กรที่ยอมรับและใช้ศักยภาพของทุกคนได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานรุ่นใหม่หรือ Silver Talent การสร้างความร่วมมือข้ามวัยจะนำพาธุรกิจไปสู่เป้าหมายร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...