Search
Search

ข้อควรระวังสำหรับการเป็นหัวหน้า

เป็นหัวหน้าทีมไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากจะต้องมีความรู้และสามารถบริหารทีมได้ การวางตัวให้ดี และคิดก่อนทำอะไรต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญ มาลองดูกันว่ามีสิ่งไหนบ้างที่หัวหน้างานที่ดี “ไม่ควรทำ”

ใครที่พึ่งขึ้นตำแหน่งเป็นหัวหน้าใหม่ ๆ อาจจะยังรู้สึกทำตัวไม่ถูก ประหม่า หรือเกิดความตึงเครียดได้ว่าเราจะทำงานหรือบริหารงานออกมาแบบไหนให้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามนอกจากเรื่องของการทำงาน คุณภาพของเนื้องาน สิ่งที่ต้องคิดคำนึงถึงอีกอย่างคือพฤติกรรม

 

หัวหน้าเป็นคนหนึ่งที่เปรียบเสมือนบุคคลต้นแบบให้กับคนในทีม และเนื่องจากเราต้องนำทีมและลูกทีม เสียงของเราจึงมีความหมายและ Impact กับคนในทีมอย่างมากมาย เพราะฉะนั้นบอกเลยว่าไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม คนก็มักจะมองเห็นเราเป็นคนแรก ๆ เสมอ

 

วันนี้ลองมาดูกันดีกว่าว่า หัวหน้าที่ดีมีอะไรบ้างที่ควรจะเลี่ยงหรือพฤติกรรมใดบ้างที่ไม่ควรทำ

 

10 พฤติกรรมที่หัวหน้าที่ดีไม่ควรทำ

  1. อย่ามีนโยบายหรือกฎตายตัวมากจนเกินไป : ยิ่งมีกฎมาก ความตึงเครียดก็ยิ่งสูง อีกทั้งยังทำให้คนในทีมรู้สึกไม่ยืดหยุ่นอีกต่างหาก เปลี่ยนจากการใช้กฎเกณฑ์มาแก้ไขเป็นปัญหา เป็นการพิจารณาด้วยเหตุผลและอารมณ์บ้างก็ได้ เนื่องจากลูกทีมแต่ละคนก็มีปัญหาที่ต่างกัน หลายครั้งที่การตั้งกฎตายตัว มักจะไม่ได้ผลเสมอไป
  1. อย่าโกรธง่ายจนเกินไป : ความสุขุม มีเหตุผล และใจเย็น คือสิ่งที่หัวหน้าพึงมี เพราะฉะนั้นหากใครที่เป็นคนเจ้าอารมณ์ อย่าลืมสังเกตอารมณ์ของตัวเองให้ดี และอย่าใจร้อนหรืออารมณ์เสียบ่อยจนเกินไป
  1. อย่ารบกวนเวลาส่วนตัวของลูกทีม : ทุกคนล้วนมีเวลาส่วนตัวกันทั้งสิ้น หากเราเป็นหัวหน้าที่ไม่ได้สนใจว่าลูกทีมต้องมีเวลาพักบ้าง และเอาแต่สั่งงานในวันหยุด คงไม่มีลูกน้องคนไหนอยากทำงานด้วยอย่างแน่นอน
  1. อย่าโกหกหรือบิดเบือนความจริง : ถ้าหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น หรือความจริงเกี่ยวกับการทำงานที่ลูกทีมจำเป็นที่จะต้องรู้ อย่าบิดเบือนความจริง หรือหาข้อแก้ตัว เพียงแต่เราต้องอธิบายความจริงให้เป็น พร้อมกับวางแผนแก้ไขสถานการณ์ให้ได้อย่างมีเหตุผล
  1. อย่าวิจารณ์ลูกทีมในที่สาธารณะหรือลำเอียงเป็นการส่วนตัว : หัวหน้าที่ดีควรมีความเท่าเทียม และให้ความสำคัญกับลูกทีมอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรลำเอียงชอบคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ หรือต่อว่าใครในที่สาธารณะจนทำให้ถูกมองไม่ดีเป็นวงกว้าง
  1. เสียสละให้ผู้อื่นก่อน อย่ายึดตัวเองเป็นอันดับแรก : หัวหน้าควรนึกถึงคนอื่น หรือลูกทีมอยู่เสมอ อย่าคิดว่าตัวเองเป็นหัวหน้าแล้วต้องได้อภิสิทธิ์ก่อนคนอื่น แต่ต้องมีน้ำใจและคำนึงถึงจิตใจคนอื่นด้วยเช่นกัน
  1. อย่าเป็นคนที่คาดเดายากหรือไม่แน่ไม่นอน : หัวหน้าที่ดีควรเป็นคนที่มั่นคง ไม่ว่าจะเป็นทั้งการกระทำหรือจิตใจ อย่าคาดเดายากจนเกินไป จนทำให้ลูกทีมรู้สึกไม่มั่นใจในตัวของหัวหน้า
  1. อย่าพยายามสอดรู้สอดเห็นเรื่องลูกน้อง : การที่เราพยายามรู้เรื่องส่วนตัวของลูกน้องมากจนเกินไป ไม่ใช่เรื่องที่ดี เพียงแต่จะสร้างความไม่สบายใจซึ่งกันและกัน และทำให้การทำงานนั้นมีสภาพแวดล้อมที่อึดอัดมากขึ้นอีกด้วย
  1. อย่าให้คนอื่นทำงานเพื่อที่ตัวเองจะได้ดี : อย่าใช้ลูกน้องทำงานเพื่อผลงานของตัวเอง เพียงแต่เราต้องมองว่าสิ่งที่ลูกน้องทำมาคือผลงานของเขา และมองเห็นความตั้งใจของลูกน้องพร้อมกับให้คำชมเชย ไม่นำผลงานนั้นมาเข้าทางตัวเองเสมอไป
  1. อย่าเข้าไปมีส่วนร่วมในปัญหาจุกจิกหรือความเห็นต่าง : หัวหน้าควรจะต้องเป็นกลาง ไม่เบนไปทางความเห็นต่างความเห็นใดความเห็นหนึ่ง แต่เราควรจะต้องเปิดใจรับฟังทุกความเห็น และสามารถให้คำแนะนำกับทุกคนได้พร้อมกับการลอยตัวเหนือปัญหา ไม่นำตัวเองเข้าไปยุ่งในปัญหาส่วนตัวของใคร

 

การเป็นหัวหน้าไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ได้ง่ายขนาดที่ว่าเราจะทำอะไรก็ได้ เพียงแต่เราต้องคิดให้มากขึ้น วางตัวให้ดีขึ้นและเป็นที่น่าไว้วางใจได้ในสายตาของลูกน้อง อย่าลืมศึกษาวิธีการเป็นหัวหน้าที่ดี และลองทำตามกันนะ

 

อ้างอิง : https://emaxklein.medium.com/10-things-a-boss-should-never-do-7415a224a2ea

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ทำงานเยอะ ไม่อยากเสียสมดุลชีวิต มาลองทำตามวิธีเหล่านี้

เชื่อว่าหลายคนต้องประสบพบเจอปัญหา “ทำงานหนักจนไม่มีเวลาชีวิต” บางคนไม่ได้ทำงานแค่ 5 วัน แต่ยังต้องเอางานที่ทำไม่เสร็จมาทำเสาร์อาทิตย์อีก แล้วสุดท้ายวันหยุดของเราอยู่ไหนกัน?

5 รูปแบบพนักงาน ที่มักจะโดนเพื่อนร่วมงานเกลียด

เคยสงสัยบ้างไหมว่าทำไมเราถึงไม่มีเพื่อนในที่ทำงาน หรือคนรอบตัวแสดงความรู้สึกไม่ค่อยอยากทำงานกับเราสักเท่าไร
มาลองเช็กว่ากำลังเป็นแบบนี้กันอยู่หรือเปล่า

จัดการปัญหา แก้ไขทุกวิกฤติด้วย Fink’s Crisis Management Model

ชีวิตการทำงานของทุกคนคงไม่ได้ราบรื่นเสมอไป ยิ่งต้องทำงานร่วมกับหลายฝ่าย หลายทีม ยิ่งมีปัญหาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนรู้การตั้งรับวิกฤติที่จะเกิดขึ้น และผ่านมันไปให้ได้เสมอ