Beginner’s Mind – เป็นหัวหน้าตอบว่า “ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่รู้” บ้าง…ผิดไหม?

ใครที่ทำงานจนขึ้นมาเป็นระดับหัวหน้าแล้ว มักถูกคาดหวังว่าต้องรอบรู้ไปซะทุกเรื่องแต่ความจริงแล้ว หัวหน้าอาจไม่ใช่คนที่รู้ดีที่สุด แต่เขาเป็นคนที่บริหารเก่งที่สุดต่างหาก มีวิสัยทัศน์ เข้าใจสถานการณ์รอบด้าน มองเห็นในสิ่งที่คนอื่นมองข้าม และกล้าตัดสินใจอย่างเฉียบคม

เป็นเรื่องไม่ง่ายนักสำหรับหัวหน้าบางคนที่จะยอมรับว่า “ไม่รู้” เพราะด้วยตำแหน่ง อายุงานที่มาก ประสบการณ์ที่เยอะ และด้วยอำนาจสั่งการที่มีในมือ หล่อหลอมให้มีอีโก้ว่าตัวเองต้องคงสถานะรู้ดีกว่าลูกน้องเสมอ

 

แต่ความคิดนี้ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น หัวหน้าเองไม่ได้รู้มากขึ้น แถมลูกน้องก็อาจไม่ชอบใจ จึงมีแนวคิดนึงที่เรียกว่า Beginner’s Mind มาปรับทัศนคติหัวหน้าให้เติบโตก้าวหน้าไปได้มากกว่านี้

 

Beginner’s Mind – หัวหน้าก็ตอบว่าไม่รู้ได้เหมือนกัน!

 

Beginner’s Mind เป็นการมองโลกแบบ “มือใหม่” ทุกอย่างสดใหม่ น่าตื่นเต้น ท้าทายน่าลอง อยากไปสัมผัสกับตัว ที่สำคัญ ไม่รีบด่วนตัดสินใจจากความรู้เดิมที่มี…เพราะแทบไม่มีความรู้อะไรติดตัวอยู่แล้ว

 

Beginner’s Mind จะช่วยปลูกฝังหัวหน้าให้กลับไปมีอุปนิสัยรักการเรียนรู้อีกครั้ง เหมือนสมัยที่เขาเป็นมือใหม่พึ่งเข้าทำงาน เพราะหัวหน้ายอมรับว่าไม่รู้…จึงรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ในที่สุด 

 

ลองนึกย้อนกลับไปสมัยเราเริ่มทำงานใหม่ๆ สิ ด้วยความที่ทุกคนยังอ่อนประสบการณ์ สิ่งที่ทุกคนน่าจะมีเหมือนกันหมดคือ อยาก “เรียนรู้” ไปซะทุกเรื่อง! เราจะเป็นผู้ฟังที่ดี ชอบตั้งคำถาม ไม่ด่วนตัดสินใคร ยอมรับในความไม่รู้และความผิดพลาดของตัวเอง หรืออยากหา role model เก่งๆ เพื่อเรียนรู้อยู่ตลอด

 

ลองคิดดูๆ ปฏิกิริยาต่อคนที่เวลาเราถามอะไรไปแล้วเขาตอบว่า ไม่รู้…อันดับแรก เรามีแนวโน้มจะอยากแขร์ความรู้ให้ นี่คือจิตวิทยาพื้นฐานของมนุษย์เราเลย เพื่อ educate อีกฝ่ายให้รู้ได้เข้าใจ หรือแม้แต่ enlighthen ทำให้เขาตาสว่างต่อความจริงซะที เป็นความสุขที่ได้แชร์ข้อมูล และเป็นความภูมิใจที่ได้โชว์ของ

 

  • จะรู้มากกว่านี้ได้…ต้องยอมไม่รู้
  • อยากรู้เท่าเดิม…ก็ให้ รู้แล้ว รู้แล้ว รู้แล้ว! ต่อไป

 

แล้วต้องทำยังไง? ถึงจะรักษาจริตความอยากรู้ไปได้ตลอด

 

“ทัศนคติ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดอันดับแรก ให้คิดว่าแม้เราจะผ่านวัยเรียนมานานหลายปีแล้ว แต่เรายังไม่ “จบการศึกษา” เพราะการศึกษาหาความรู้เป็นเรื่องที่ต้องทำไปตลอดชีวิต เราศึกษาต่อในชีวิตการทำงานได้ เราศึกษาต่อเพื่อนร่วมงานได้ เราศึกษาจากเด็กจบใหม่ได้ 

 

หัวหน้าต้องเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชิน จากเคยเอาแต่สั่งการลูกน้อง ให้เปลี่ยนเป็น “ผู้ฟัง” ที่ดีบ้าง ผ่านการซักถาม ตั้งข้อสงสัย เพื่อให้ลูกน้องแชร์ข้อมูลมาให่ แต่เรื่องนี้ต้องมาพร้อมการลดละอีโก้ของตัวเองไม่ได้อีโก้สูงเกินไปจนไม่รับฟังใคร ที่สำคัญ วิธีนี้ยังใช้ประเมินทัศนคติลูกน้องได้ด้วย เพราะหัวหน้าอาจแกล้งทำเป็นไม่รู้ก็ได้ เพื่อวัดมุมมองความคิดของลูกน้องแต่ละคน 

 

นอกจากนี้ หัวหน้าควรหาเวลาไปลงเรียนคอร์สใหม่ๆ ที่ตัวเองไม่ได้เก่งเป็นทุนเดิม เช่น การสร้าง Personal Brand และถ้าเป็นไปได้ ควรหา Mentor เก่งๆ ซักคนมาคอยโค้ชอย่างต่อเนื่อง

 

เพราะไม่รู้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการอยากรู้ ที่นำไปสู่ความรอบรู้ในที่สุด เมื่อนั้นเอง เราน่าจะเป็นหัวหน้าที่ดีกว่าเดิม…

 

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ดูยังไงว่าคนสัมภาษณ์งานกำลังพูดไม่จริง

ผลวิจัยเผยว่า คนเรา “โกหก” ซึ่งๆ หน้าเวลาสัมภาษณ์งานมากกว่าที่คิด เพื่อปกปิดเรื่องที่ไม่อยากให้รู้ หรือให้รู้แค่บางส่วนเท่าที่อยากให้รู้พอ หลายคนทำไปเพราะสถานการณ์บังคับ คือพื้นฐานเป็นคนดีมีจรรยาบรรณ แต่จังหวะสำคัญนี้ก็ต้องขอซักหน่อย เพราะใครๆ ก็อยากได้งาน

คนแบบไหนที่ไม่น่าอยู่ในอำนาจได้นาน 

การไต่เต้าขึ้นมาเป็นหัวหน้ามีอำนาจในมือ vs. การรักษาตำแหน่งหัวหน้าและอำนาจในมือ เป็น 2 สิ่งที่ดูเผินๆ เหมือนกัน แต่ถ้าดูลึกๆ จะพบว่าต่างกันสิ้นเชิง