5 คำถามที่ลูกน้องอยากให้หัวหน้าถามตัวเองมากที่สุด

อยากเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้น ให้ลูกน้องรัก? บางครั้งคนเป็นหัวหน้าแบบเรา แทนที่จะเอาแต่พูดจาแนะนำหรือออกคำสั่งลูกน้องในทีม ต้องหันกลับมา “ตั้งคำถาม” กับตัวเอง

คำถามที่ดี ชวนฉุกคิด ได้รื้อฟื้นทบทวนตัวเอง และเผยมุมมองใหม่ๆ ที่มองข้ามมาตลอด ทำให้เราเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นได้อย่างเหลือเชื่อโดยแทบไม่มีต้นทุนเลยนะ! ลองมาดูกันๆ

 

หัวเราะครั้งสุดท้ายที่ออฟฟิศเมื่อไร?

 

หัวหน้าที่ลูกน้องรักต้องมีความเป็นคนน่าคบหา การมีมนุษยสัมพันธ์พื้นฐานที่ดีกับเพื่อนร่วมเป็นสิ่งจำเป็น! ไม่ต้องถึงกับสนิทสนมรู้เรื่องส่วนตัวทุกเรื่องก็ได้ แต่ควรมีบทสนทนาชิลๆ โจ๊กขำๆ แซวเล่นๆ อยู่เป็นประจำ นอกจากจะถูกจริตวัฒนธรรมคนไทยแล้ว ยังเพิ่มบรรยากาศการทำงานทีาผ่อนคลายขึ้น

 

หัวหน้าลองหาเวลาทำกิจกรรมด้วยกันที่นอกเหนือจากงาน เช่น กินมื้อเที่ยงด้วยกัน ออกไปดื่มหลังเลิกงาน นัดตีแบด ชวนไปคาราโอเกะ

 

อย่าลืมว่า เวลาในออฟฟิศกินเวลาชีวิตคนเราไปอย่างน้อย 1/3 ในทุกๆ วัน คงจะดีไม่น้อยถ้าเราได้หัวเราะผ่อนคลายบ้างเล็กน้อยในทุกวัน นอกจากความสัมพันธ์แล้ว ยังดีต่อสุขภาพ ดีต่อผิวพรรณกล้ามเนื้อใบหน้า สารเคมีในร่างกายที่ไหลเวียนจากการหัวเราะด้วยนะ

 

ลูกน้องคุณ สู้กลับครั้งสุดท้ายเมื่อไร?

 

เป็นคำถามที่เช็คว่าตัวเองเป็นหัวหน้าขี้วีนหรือบ้าอำนาจจนลูกน้องไม่มีใครกล้ามาขอความช่วยเหลือหรือไม่? ถ้าใช่ ก็ต้องรีบเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะระยะยาวไม่มีอะไรดีแน่นอน

 

เทคนิคกระตุ้นการถกเถียงคือ คุณอาจใช้วิธี Devil’s advocate แต่งตั้งให้สมาชิกทีมเก่งๆ คนนึงมาคอยโต้แย้งคุณโดยเฉพาะ! หาหลักฐานมาแย้งให้ได้ ปัดตกไอเดียพร้อมเสนอวิธีอื่นที่ดีกว่า คอยท้าทายมุมมองใหม่ๆ ที่หัวหน้ามองข้ามมาตลอด



อะไรคือคีย์เวิร์ดแค่ 3 คำ ที่บ่งบอกความเป็นตัวคุณ?

 

เป็นเหมือนการทบทวนตัวตนของคุณเอง เพราะนี่คือคาแรคเตอร์ที่ชัดที่สุด เหมือนเป็น DNA ในตัวคุณ ฝเลยนะ เช่น 

 

1. Fair – ตัวคุณรักความยุติธรรม ไม่ชอบเอาเปรียบใครและไม่ชอบถูกใครเอาเปรียบ ปฏิบัติกับลูกน้องอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ตอนรับพนักงานใหม่เข้ามาก็จะไม่กดเงินเดือน ถ้ามีโอทีก็ต้องจ่าย

 

2. Work smart – เพราะคุณเป็นคนไม่อึด ทำงานหามรุ่งหามค่ำไม่ไหว จึงต้องคอยหาวิธีทำงานที่ทุ่นแรงแต่ยังได้ผลลัพธ์เท่าเดิมอยู่เสมอ ซึ่งนำไปสู่ความครีเอทีฟใหม่ๆ ได้เช่นกัน และ

 

3. Learning – คุณรักการเรียนรู้อยู่ตลอด มีทัศนคติว่ายิ่งเรียนยิ่งไม่รู้ ไม่มีอีโก้ในการถามเรื่องที่ไม่รู้ พร้อมทำตัวเป็นนักเรียนยกมือถามอาจารย์เพื่อหาคำตอบของปัญหา

 

แน่นอนว่าทุกคนมักให้คำตอบคีย์เวิร์ดในแง่บวกอยู่แล้ว คำถามนี้จึงเหมือนเป็นการพยายามรักษาจุดยืนอุดมการณ์ในตัวคุณเองไปในตัว!

 

ลูกน้องคนนี้มีข้อดีอะไรบ้าง?

 

คำถามเบสิคที่หัวหน้าอาจมองข้ามไปแล้ว อันดับแรก มันส่งเสริม positive thinking ให้เราค้นหาข้อดีและศักยภาพซ่อนเร้นของลูกทีมรอบตัว 

 

และเพราะคนเรามีข้อดี-ข้อด้อย แต่ไม่ควรจมปลักกับข้อด้อย เพราะยังไงข้อด้อยก็เป็นข้อด้อยอยู่วันยังค่ำ มันไม่ใช่สิ่งที่ถนัดและอาจไม่ชอบ ต่อให้พัฒนาตัวเองขีดสุดจนกลบข้อด้อยไปได้บ้างแล้ว 

 

ก็แต่ยากมากๆ ที่คนทั่วไปจะเปลี่ยนมันมาเป็นข้อดี ดังนั้น หัวหน้าควรโฟกัสที่ข้อดีของลูกน้องมากกว่าและหาทาง leverage ทำให้มันดีแบบทวีคูณขึ้นไปอีก 

 

เช่น ลูกน้องคนนึงเป็น Content Creator ที่มีสกิลการเขียนอธิบายเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่ายและสนุกมากๆ หัวหน้าควรจะดึงจุดแข็งตรงนี้ โดยเชิญชวนให้มาร่วมสร้าง template มาตรฐานกลางเวลาพรีเซนต์งานลูกค้าว่าควรใช้ Data visualization แบบไหนให้เข้าใจง่าย

 

ถ้าต้องเขียนเล่าประวัติของตัวเองขณะทำงานในบริษัทนี้ (แบบซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา) จะเขียนว่าอะไร?

 

เป็นคำถามที่ชวนมองไปที่ปลายทาง ณ วันที่ลาออก แล้วมองย้อนกลับมาทบทวนตัวเองขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้า

 

ลึกๆ แล้วคงไม่มีหัวหน้าคนไหนอยากเขียนว่า ตัวเองแค่นั่งหัวโต๊ะไปวันๆ รู้สึกดีที่มีอำนาจในการสั่งการและไล่ใครออก หรือหาเรื่องด่าลูกน้องเด็กจบใหม่ด้วยความสะใจ ทุกคนก็คงอยากเห็นตัวเองด้วยความภาคภูมิใจ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ สร้างการเติบโตให้บริษัท เป็นที่เคารพรักของลูกน้อง

 

เพราะคำถามนี้ กระตุ้นให้หัวหน้าพยายามเป็น “หัวหน้าในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด” อยู่เสมอ คอยทบทวนตัวเอง หมั่นเทคแคร์ลูกน้อง คิดหากลยุทธ์ปั้นทีมใหม่ๆ สุดท้ายจะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่านั่นเอง

 

เห็นไหม? แค่คำถาม 5 ข้อนี้…ถ้าให้เวลาขบคิดและตอบแบบซีเรียส ก็ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและลูกทีมมากขึ้นแบบรอบด้านแล้ว พร้อมมากขึ้นสู่การเป็นหัวหน้าในเวอร์ชั่นที่ดีกว่าเดิมและน้องๆ ลูกทีมให้ความเคารพนับถือ!

 

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ดูยังไงว่าคนสัมภาษณ์งานกำลังพูดไม่จริง

ผลวิจัยเผยว่า คนเรา “โกหก” ซึ่งๆ หน้าเวลาสัมภาษณ์งานมากกว่าที่คิด เพื่อปกปิดเรื่องที่ไม่อยากให้รู้ หรือให้รู้แค่บางส่วนเท่าที่อยากให้รู้พอ หลายคนทำไปเพราะสถานการณ์บังคับ คือพื้นฐานเป็นคนดีมีจรรยาบรรณ แต่จังหวะสำคัญนี้ก็ต้องขอซักหน่อย เพราะใครๆ ก็อยากได้งาน

คนแบบไหนที่ไม่น่าอยู่ในอำนาจได้นาน 

การไต่เต้าขึ้นมาเป็นหัวหน้ามีอำนาจในมือ vs. การรักษาตำแหน่งหัวหน้าและอำนาจในมือ เป็น 2 สิ่งที่ดูเผินๆ เหมือนกัน แต่ถ้าดูลึกๆ จะพบว่าต่างกันสิ้นเชิง