16 Personalities มาทำความรู้จัก จุดแข็ง & จุดอ่อนของบุคลิกภาพทั้ง 16 กัน !

Personalities
หลายบริษัทใช้แบบทดสอบเช็ค Personalities ในกระบวนการคัดเลือกและวางแผนการพัฒนาบุคลากร เนื่องจากการรู้จักบุคลิกของพนักงานจะช่วยให้เข้าใจว่างานใดเหมาะสมที่สุด เช่น INTJ มักเหมาะกับงานด้านวิเคราะห์หรือกลยุทธ์ ในขณะที่ ENFP มักเหมาะกับงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และความยืดหยุ่น

16 Personalities คืออะไร ?

16 Personalities เป็นแบบทดสอบบุคลิกภาพที่พัฒนาจากทฤษฎีของ Carl Jung และ Myers-Briggs Type Indicator (MBTI) โดยแบ่งคนออกเป็น 16 บุคลิกหลัก ซึ่งประเมินจากแนวโน้มในการรับรู้โลก การคิด การตัดสินใจ และการโต้ตอบกับผู้อื่น การทำแบบทดสอบนี้ช่วยให้เข้าใจลักษณะนิสัยของตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น ช่วยให้เรารู้ว่าจุดแข็งและจุดอ่อนของเราคืออะไร วิธีที่เราคิดและตัดสินใจ รวมถึงการตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวที่แตกต่างกันไป

Personalities เหล่านี้ช่วยอะไรเราได้บ้าง

การนำผลการทดสอบ 16 Personalities ไปใช้จะช่วยให้เข้าใจการทำงานเป็นทีมและการบริหารบุคลากรได้ดีขึ้น เช่น การมอบหมายหน้าที่ที่เหมาะสมตามจุดแข็งของแต่ละบุคลิก และการปรับวิธีการสื่อสารให้เหมาะกับสมาชิกในทีมที่มีบุคลิกต่างกัน ตัวอย่างองค์กรที่ประสบความสำเร็จจากการใช้แบบทดสอบนี้คือ Google ซึ่งใช้การวิเคราะห์บุคลิกภาพเพื่อสร้างทีมที่มีความหลากหลาย โดยเลือกคนที่มีลักษณะเสริมกันในทีม ทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมมากขึ้น นอกจากนี้ บริษัท Zappos ยังใช้แบบทดสอบนี้เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานแต่ละคนเหมาะกับวัฒนธรรมองค์กร ทำให้ทีมทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น ส่งผลให้พนักงานมีความสุขและรักษาความเป็นทีมที่แข็งแกร่ง

16 Personalities มีอะไรบ้าง?

Personalities

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท INTJ (The Architect )

[จุดแข็ง]
1. หัวไว คิดไว ทำอะไรรวดเร็ว
2. สร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆได้ไว
3. มีความมั่นใจในตัวเองสูง
4. ทำงานหนัก ทุ่มเทมุ่งมั่น
5. เป็นคนเปิดกว้างต่อความคิดที่แตกต่างหลากหลาย

[จุดอ่อน]
1. ชอบตัดสินคนอื่น บางครั้งก็เผลอตัดสินคนอื่นไปด้วยทัศนคติของตัวเองเพียงคนเดียว
2. มั่นใจในตัวเองมากเกินไป จนไม่ยอมฟังคนอื่น
3. บ้าการวิเคราะห์ ทุกการกระทำจะต้องมีเหตุผลเสมอ ซึ่งบางทีก็คิดมากและซับซ้อนเกินไปจนคนอื่นไม่เข้าใจ
4. ชอบทำอะไรที่ซับซ้อนมากเกินไป
5. ไม่ค่อยถนัดเรื่องความรักหรือ เข้าใจความรู้สึก เพราะว่าเป็นคนที่เน้นการใช้ตรรกะเหตุผล และวิเคราะห์ไปทุกสิ่งอย่างอยู่ตลอดนั่นเอง

[อาชีพที่เหมาะกับ INTJ] – บางส่วนเท่านั้น

  • นัก Logistic
  • เจ้าของบริษัท
  • หัวหน้าฝ่ายการเงิน
  • วิศวกร
  • นักประวัติศาสตร์
  • Art director
  • นักเขียน
  • ศัลยแพทย์

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท ENFP (The Campaigner)

[จุดแข็ง]
1.ยิ้มได้เสมอ ไม่ว่าจะเจอเรื่องเครียดแค่ไหน ENFP ก็จะมองโลกในแง่บวกและทำให้สถานการณ์ทุกอย่างเป็นบวกได้
2. เป็นนักสื่อสารชั้นเยี่ยม เชี่ยวชาญเรื่องการคุยกับผู้อื่นยังไงให้ราบรื่นที่สุด
3. เข้ากับคนได้ง่าย แน่นอนว่าใครๆก็อยากอยู่กับคนที่อารมณ์ดี อยู่ด้วยแล้วร่าเริงสบายใจใช่มั๊ยล่ะ
4. Popular มีเพื่อนเยอะ
5. ช่างสังเกต จดจำรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของคนอื่นได้ดี

[จุดอ่อน]
1. เป็นคนคิดมาก ชอบคิดเล็กคิดน้อย
2. เครียดง่าย แม้ว่าจะอารมณ์ดี แต่เมื่อเจอเรื่องหนักใจก็ทำให้อารมณ์เปลี่ยนกะทันหันในทันทีได้เช่นกัน
3. อารมณ์อ่อนไหวมาก บางเรื่องแค่เล็กๆน้อยๆ ENFP ก็รู้สึกได้ อยู่ดีๆอาจจะร้องไห้หรือว่าเครียดขึ้นมากะทันหัน โดยที่คนรอบข้างยัง งงๆ อยู่ว่าเกิดอะไรขึ้น
4. ไม่ค่อยมีสมาธิ Focus หลุดง่าย เพราะว่าเป็นคนสนใจเรื่องรอบตัวอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
5. สำหรับ ENFP แม้ว่าจะทำงานด้วยแล้วสนุก แต่เวลาต้องปฏิบัติงานจริงจัง ก็มักจะเบื่อและเลิกซะกลางคันได้ ดังนั้นควรจะทำตารางแผนการทำงานให้ชัดเจน จะช่วยให้การทำงานมีความสุขขึ้นมากเลยล่ะ

[อาชีพที่เหมาะกับ ENFP] – เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น

  • นักแสดง
  • นักขาย
  • นักออกแบบ
  • ไกด์นำเที่ยว
  • นักขายโฆษณา
  • ศิลปิน
  • นักพูด
  • พิธีกร
Personalities

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท ESTP (The Entrepreneur)

[จุดแข็ง]
1. ตรงไปตรงมา
2. เข้าสังคมเก่ง
3. เข้าใจผู้อื่น (แบบตรงประเด็น)
4. Original โดดเด่นมีเอกลักษณ์
5. มีเหตุผล ทำผลงานที่จับต้องได้จริง
6. เป็นนักสู้ จอมลุย พร้อมเผชิญหน้ากับปัญหา ไม่หนีปัญหา

[จุดอ่อน]
1. โหด พูดตรงๆ ไม่ค่อยเห็นใจคนอื่น
2. ใจร้อน / หงุดหงิดง่าย / สมาธิสั้น
3. เน้นผลลัพธ์จนชอบเผลอมองข้ามภาพรวม
4. อึดอัด / เกลียดการเป็นผู้ตาม
5. แหกกฎโดยไม่สนใจผู้อื่น

[อาชีพที่เหมาะกับ ESTP]

  • ผู้ประกอบการ
  • นักขาย
  • วิศวกร
  • ตำรวจ / ทหาร
  • ธุรกิจการเกษตร
Personalities

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท ESFJ (The Consul)


[จุดแข็ง]
1. ดูแล เทคแคร์คนอื่นได้ดี คนอยากอยู่ใกล้
2. มีความรับผิดชอบสูง
3. เป็นคนที่ทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพตามต้องการ
4. ซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง


[จุดอ่อน]
1. ไม่ยอมยืดหยุ่นตามสถานการณ์
2. กลัวการโดนวิจารณ์
3. ไม่ค่อยชอบทำสิ่งใหม่ๆ ชอบทำตาม Pattern เดิมที่มีอยู่แล้ว
4. กังวลเรื่องสถานะทางสังคมของตัวเอง
5. ชอบขอร้องให้คนอื่นช่วยมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว จนบางครั้งคนอื่นลำบากใจ

[อาชีพที่เหมาะกับ ESFJ] – ตัวอย่างเพียงบางส่วนเท่านั้น

  • ครูสอนพิเศษ
  • ผู้จัดการโรงแรม
  • ศัลยแพทย์
  • ครูฝึกฟิตเนส
  • หัวหน้าฝ่าย HR
  • นักขายโฆษณา
  • ตัวแทนขายประกัน
  • พยาบาล
Personalities

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท ENTJ (The Commander)

[จุดแข็ง]

1. ทำงานมีประสิทธิภาพ – มีความสามารถสูงมากในการทำงานให้ออกมามีประสิทธิภาพสูงสุด จะไม่มีการขี้เกียจ เอื่อยเฉื่อย ชิวๆ แน่นอน ENTJ มีความสามารถในการทุ่มพลังให้กับเป้าหมายในอนาคต แม้ว่าตอนนี้ยังมองไม่เห็นก็ตาม

2. พลังงานเหลือล้น – ENTJ ชอบการเป็นผู้นำ โดยเฉพาะการให้คนอื่นๆได้ทำตามแผนที่ตนเองวางไว้จะเป็นอะไรที่ฟินมากสำหรับคนประเภทนี้ ประมาณว่ายิ่งแข่งยิ่งมันส์ ยิ่งมีพลังยิ่งคึก 555

3. มั่นใจในตัวเอง – ENTJ มั่นใจในตัวเองสุดๆ เชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง และเชื่อว่าตัวเองสามารถเป็นผู้นำได้ และทำได้จริงซะด้วย!!

4. วิ่งสู้ฟัดกัดไม่ปล่อย – อย่างที่บอกไปว่า ความสุขของ ENTJ คือการได้แข่งขัน และทำอะไรที่ท้าทาย ยิ่งมีเป้าหมายที่ยากแค่ไหนก็ยิ่งกระตุ้นให้อยากเอาชนะให้ได้มากขึ้น ทำให้คนแบบนี้จะสู้งาน ไม่ยอมแพ้ง่ายๆนั่นเอง

5. เป็นนักวางกลยุทธ์ – สำหรับ ENTJ ความสามารถพิเศษอย่างหนึ่งคือการ สามารถแยกระหว่าง ‘ปัญหาเฉพาะหน้า’ และ ‘แผนการณ์ในระยะยาว’ ซึ่งจะทำให้วางแผนทำงานแก้ปัญหาได้อย่างถูกจุด และไปในทิศทางที่ถูกต้อง ประมาณว่าไม่ใช่คนที่จะมาตกใจกับปัญหาตรงหน้านิดๆหน่อยจนทำงานทั้งหมดพัง

6. นักสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น – จาก ข้อดีที่เป็นคุณสมบัติทั้งหมดของ ENTJ พอมารวมกันแล้ว นี่แหละคือคุณสมบัติของคนที่เป็นผู้นำที่ดี (มีคนอยากจะทำงานด้วยเยอะ) และพอมีคนอยากมาทำงานด้วยเยอะก็จะช่วยให้เป้าหมายอันทะเยอทะยานของเหล่า ENTJ ประสบความสำเร็จได้ดงหวังนั่นเอง


[จุดอ่อน]
1. ดื้อ ไม่ฟังใคร – ความมั่นใจและความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของ ENTJ เป็นดาบสองคมในตัวเองเพราะมั่นใจมาก จึงไม่ฟังใคร ถ้ามีจุดยืนแล้ว จะเถียงจนกว่าตัวเองจะถูกต้องให้ได้ จนสุดท้ายอาจจะทำให้ไม่มีใครอยากให้คำแนะนำเราอีกเลยก็เป็นได้

2. ยอมหักไม่ยอมงอ – ENTJ จะเป็นคนที่ไม่ยอมให้ไอเดียอะไรก็ตาม มาทำให้ตัวเองไขว้เขวออกนอกเส้นทางเพื่อไปสู่เป้าหมายของตนเองอย่างเด็ดขาด คือถ้ามีใครมาเสนอไอเดียอื่นๆ ก็จะไม่ยอมฟังหรือเปลี่ยนใจได้ยากมาก โดยเฉพาะเหตุผลที่เป็นทางด้านอารมณ์ความรู้สึกที่จับต้องไม่ได้

3. ใจร้อน ไม่อดทน – สำหรับ ENTJ ที่เป็นผู้ คิดเร็ว ทำเร็วแล้ว เมื่อมาเจอกับ Personalities แบบอื่นที่ต้องใช้เวลาในการไตร่ตรองความคิดนานหน่อย อาจจะทำให้เหล่า ENTJ หงุดหงิดว่าทำไมถึงคิดช้าแล้วไปตัดบทของคนอื่นๆ ไม่ให้เสนอไอเดียไปเลย ซึ่งจะถือว่าพลาดอย่างมากในการหาไอเดียใหม่ๆดีๆ

4. หยิ่งผยอง – สำหรับ ENTJ จะมีความรู้สึกเชื่อมั่นในความคิดอย่างรวดเร็วและตรรกะที่สุดยอดของตนเองเป็นอย่างมากว่าถูกต้อง และมักจะมองคนอื่นๆที่คิดไม่ทัน หรือว่าตามไม่ทันว่าไม่ได้เรื่อง และจะเกิดเป็นปัญหา เมื่อต้องทำงานกับคนประเภทเดียวกันที่มีความมั่นใจในความคิดของตัวเองเหมือนกัน

5. อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย – จากการที่เป้นคนเจ้าเหตุผลแบบสุดขั้ว แน่นอนว่าจะทำให้ชาว ENTJ ขาดความสามารถในด้านการใช้อารมณ์และควบคุมอารมณ์ และมีโอกาสที่จะ เหวี่ยงใส่คนอื่น หรือพูดเหยียบย่ำจิตใจคนอื่นไปโดยไม่รู้ตัวได้ ทั้งเพื่อน ครอบครัว

6.โหด เลือดเย็น -สำหรับชาว ENTJ ที่เสพติดเรื่องประสิทธิภาพในการทำงานเป็นหลักแล้ว มักจะทำให้เผลอทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ตัวเองต้องการ โดยไม่ได้ใส่ใจความรู้สึกของคนรอบข้าง เพื่อร่วมงาน สถานการณ์โดยรวมเลยว่า จะเกิดความขัดแย้งกับคนอื่นอย่างไรบ้าง

[อาชีพที่เหมาะกับ ENTJ] – บางส่วนเท่านั้น

  • นัตรวจสอบบัญชี
  • ผู้ประกอบการ
  • ผู้จัดการด้านโฆษณา
  • หัวหน้าฝ่ายขาย
  • วิศวกร
  • สถาปนิก
  • นักจิตวิทยา
  • นักเศรษฐศาสตร์
  • ทันตแพทย์
  • เภสัชกร
Personalities

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท INFP(The dreamer)

[จุดแข็ง]
1. เป็นคนมองโลกในแง่ดี – สำหรับ INFP แล้วทุกคนบนโลก ย่อมมีด้านที่ดีเป็นของตัวเอง สามารถที่จะมองหาข้อดี และคิดบวกได้ ไม่ว่าสถานการณ์ไม่ว่าจะเลวร้ายแค่ไหน ประมาณว่าเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีได้เก่งก็แล้วกัน

2. ชอบความกลมเกลียว ไม่ชอบทะเลาะ – สำหรับคนประเภทนี้แล้ว INFP เป็นคนที่ไม่ได้สนใจในอำนาจหรือการมีสิทธิพิเศษเหนือคนอื่น แต่ว่า เป็นคนที่พยายามทำให้ ทุกๆคนมีเสียงเท่าเทียมกันให้ได้มากที่สุด

3. เปิดกว้างทางความคิด – คนประเภท INFP ไม่ชอบยึดติดอยู่กับกฏเกณฑ์ แถมยังยอมรับความคิดใหม่ๆอยู่เสมอ โดย INFP จะยอมสู้อย่างเต็มที่ สนับสนุน คนที่ตนเองคิดว่าถูกต้อง

4. มีความคิดสร้างสรรค์สูงมาก – จากลักษณะนิสัยที่เป็นคนชอบเปิดใจให้กับแนวคิดใหม่ๆอยู่เสมอ จึงเกิดการผสมผสานของความคิดจากหลายๆแขนงและทำให้มักจะมีไอเดียแปลกๆ ใหม่ๆมานำเสนออยู่ตอลดเวลานั่นเอง

5.ถ้ามี passion จะทุ่มเททำอย่างสุดตัว – สำหรับงานใดๆก็ตาม ถ้าหากว่า คนอย่าง INFP ได้เกิดอาการ ‘อิน’ กับงานนั้นๆแล้วล่ะก็ รับรองได้เลยว่า จะทุ่มเททำอย่างสุดชีวิตอย่างแน่นอน ทำโดยไม่ต้องให้ใครมาบังคับ ทำอย่างสุดตัวไม่มีถอยเลยจ้า

6.เป็นคนขยัน ทุ่มเท ทำงานหนัก ไม่ยอมแพ้ง่าย (ถ้าอินกับงานนั้น) – สำหรับข้อนี้ เป็นผลพวงมากจากข้อ 5 นั่นแหละ คือ สำหรับ INFP แล้ว จะเป็นคนที่มองเห็นภาพของผลงานสุดท้ายชัดเจนกว่าคนประเภทอื่น ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง ในขณะที่คนอื่นๆอาจจะยอมแพ้เลิกทำงานนี้ไปแล้วเพราะมองไม่เห็นอนาคต แต่คนประเภท INFP จะยังคงลงมือทำต่อเพราะว่ามองเห็นภาพผลงานสุดเจ๋งในอนาคตมากกว่าคนอื่นยังไงล่ะ

[จุดอ่อน]
1. โลกสวยจนเกินไป – แน่นอนว่าการมองโลกในแง่ดีและวาดภาพี่สวยงามเป็นสิ่งที่ดีต่อใจ แต่สำหรับโลกของเรานั้น ไม่ได้มีแต่สิ่งดีๆเกิดขึ้นเสมอไป ชาว INFP จึงมักจะต้องประสบกับอาการ ‘ผิดหวังจากภาพที่ฝันไว้’ เนื่องจากวาดภาพในความคิดเอาไว้เพอร์เฟกต์มาก แต่พอทำจริงๆแล้วมันไม่เป็นอย่างที่คิดนั่นเอง ดังนั้น ฝันได้แต่อย่าลืมความเป็นจริงด้วยนะว่าโลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ

2. ใจดีเกินไป – ชาว INFP มักจะรู้สึกว่า ‘ไม่อยากเป็นคนเห็นแก่ตัว’ แต่บางทีการเป็นคนดี ช่วยเหลือคนอื่นมากเกินไป จนลืมที่จะดูแลตัวเอง ก็จะทำให้เราโดนเอาเปรียบได้ในหลายๆเรื่องโดยไม่รู้ตัวและเกิดผลเสียต่อตัวเราเองเช่นกันนะ ดังนั้น อย่าลืมที่จะให้ตัวเองได้ประโยชน์ด้วยอย่างสมเหตุสมผล ไม่งั้นเราจะลำบากในภายหลังซะเองนะ

3. คิดเยอะแต่ขาดการลงมือทำจริง – จากนิสัยที่ชอบไอเดียใหม่ๆ อะไรที่ตื่นเต้น มักจะส่งผลให้ INFP ทำอะไรได้ไม่ค่อยต่อเนื่อง ทำๆไปแล้วทิ้งซะกลางคันบ่อยๆ ดังนั้น ถ้าวางแผนปฏิบัติและคงความตื่นเต้นของงานเอาไว้เสมอๆก็จะช่วยให้ทำงานต่อเนื่องมากขึ้นได้

4. ไม่ชอบข้อมูลมากๆ – INFP เป็นคนชอบมองภาพรวมในภาพใหญ่ แต่ไม่ชอบลงในรายละเอียดข้อมูล คือเป็นคนที่ไม่ชอบใช้สมองคิดรายละเอียดเยอะๆนั่นเอง

5. แบกทุกอย่างไว้กับตัวเองมากเกินไป – เวลาทำอะไรผิด ชอบโทษตัวเองและรู้สึกว่าตัวเองทำได้ไม่ดี มากกว่าที่จะชื่นชมตัวเองอย่างภาคภูมิใจ
6.หลีกหนีการทะเลาะเบาะแว้ง – INFP เป็นคนที่ ทำทุกวิถีทางยังไงก็ได้ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง คือ ยอมทุกอย่างขอแค่ไม่ทะเลาะกัน ไม่ว่าจะฝ่ายไหนก็ตาม ซึ่งบางทีมันก็เป็นภาระมากเกินไปที่จะทำได้ แล้วก็สิ้นเปลืองพลังงานมากๆซะด้วย

7. เป็นคนที่เข้าใจยาก – INFP ชอบที่จะ เก็บตัวอยู่คนเดียว ขบคิดอยู่กับตัวเองซะเยอะ เลยทำให้คนรอบข้างเข้าใจยากว่า ตอนนี้เรารู้สึกยังไง กำลังมีปัญหาอะไรรึเปล่า จะช่วยก็ไม่รู้จะช่วยยังไง ดังนั้น มีอะไรก็เล่าให้เพื่อนๆฟังได้นะ อย่าอุบไว้คนเดียว เดี๋ยวเครียดแย่

[อาชีพที่่เหมาะกับ INFP] – บางส่วนเท่านั้น

  • นักเขียน
  • ศิลปิน
  • คนทำงานเพื่อสังคม
  • คนทำงานสร้างสรรค์
  • นักออกแบบกราฟิก
  • ผู้เขียนบท

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท ESFP (The Entertainer)

[จุดแข็ง]
1.กล้าเสี่ยง ชอบทดลองอะไรใหม่ๆอยู่เสมอ
2. มีเอกลักษณ์ มีคาแรกเตอร์ที่โดดเด่น
3. ช่างสังเกต ช่างสงสัย
4.เก่งเรื่อง People Skill เชี่ยวชาญการเข้ากับคนมากๆ สามารถสนิทกับคนอื่นๆได้ง่าย

[จุดอ่อน]

1. อ่อนไหวเกินไป ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจเป็นหลัก ซึ่งอาจทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้
2. วางแผนระยะยาวไม่เก่งเพราะ ESFP ชอบที่จะใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบันเป็นหลักมากกว่า ทำให้ถ้าต้องวางแผนระยะยาวจะมีปัญหา
3.เบื่อง่าย สมาธิสั้น Focus อยู่กับอะไรนานๆไม่ค่อยได้ ต้องหาอะไรตื่นเต้นๆมาทำตลอดเวลา

[อาชีพที่เหมาะกับ ESFP] – บางส่วนเท่านั้น

  • ครูโรงเรียนประถม
  • พยาบาล
  • นักจิตวิทยาบำบัด
  • ตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์
  • แอร์โฮสเตส / สจ๊วต
  • ศิลปิน
  • นักดนตรี
  • นักฝึกสัตว์

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท ESTJ (The Executive)


[จุดแข็ง]
1. ทุ่มเททำงานหนัก
2. ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา
3. เชื่อใจได้ เฉียบขาด
4. เก่งเรื่องการบริหารจัดการมากๆ
5. เป็นคนใส่ใจรายละเอียดต่างๆ ทำงานไม่ค่อยพลาด


[จุดอ่อน]
1. ไม่ยืดหยุ่น ไม่ค่อยชอบปรับเปลี่ยน
2. ชอบทำตามแผนที่วางไว้เท่านั้น ถ้าต้องทำอะไรนอกเหนือจากแผนจะรู้สึกไม่สบายใจ
3. ชอบตัดสินคนอื่น
4. ค่อนข้างยึดติดกับสถานะทางสังคมของตัวเอง และภาพลักษณ์ที่คนอื่นมอง
5. เครียดง่าย Relax ยาก
6. แสดงออกด้านอารมณ์ไม่ค่อยเก่ง

[อาชีพที่เหมาะกับ ESTJ] – บางส่วนเท่านั้น

  • นักตรวจสอบบัญชี
  • ผู้จัดการโรงแรม
  • Broker
  • นักวิเคราะห์ความเสี่ยง
  • ผู้บริหาร
  • นักบิน
  • ผู้การตำรวจ
  • ผู้ทำธุรกิจการเกษตร

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท ENTP (The Debater)

[จุดแข็ง]

1. เรียนรู้ไว หัวไว เข้าใจอะไรได้ง่าย

2. มีเสน่ห์ดึงดูด เก่ง ฉลาด เรียนรู้ไว

3. เป็นผู้นำในการระดมความคิดได้เยี่ยม เพราะ ENTP มีทั้ง ความเข้าใจด้านสร้างสรรค์เปิดรับไอเดียใหม่ๆ แต่ก็มีเหตุผลที่จะคอยคัดเลือกไอเดียดีๆมีเหตุผล ไม่ปล่อยให้ไอเดียฟุ้งเกินไปนั่นเอง


[จุดอ่อน]
1. ชอบถกเถียงเป็นที่สุด เพราะเข้าใจว่าตัวเองคิดถูก จึงมักเกิดการเถียงกับคนอื่นเป็นประจำ

2. ไม่ค่อยแคร์ความรู้สึกคนอื่น ไม่ใช่เพราะไม่เข้าใจอารมณ์นะ ENTP เข้าใจอารมณ์ผู้อื่นแต่ว่าเหตุผลต้องมาก่อนก็เท่านั้นเอง

3. เปลี่ยนใจยาก เนื่องจากตัดสินใจด้วยตัวเองเป็นหลัก ถ้ามีคนเสนอทางเลือกอื่นให้ จะแทบไม่ฟังเลย จนทำให้บางครั้งก็พลาดทางเลือกที่ดีกว่าไป

4. เสียสมาธิได้ง่าย เนื่องจากเป็นคนที่คิดอะไรหลายๆอย่างพร้อมกัน ทำให้บางครั้งเวลาจะจดจ่อกับสิ่งหนึ่งนานๆ จะทำให้อึดอัดและหลุดโฟกัสซะเอง

5. สำหรับ ENTP เป็นนักมองภาพรวมที่เยี่ยม แต่ถ้าให้ไปลงรายละเอียดในเนื้องานจริงๆอาจจะทำให้อึดอัดและไม่อยากทำ เพราะว่าไม่ชอบโฟกัสสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ

[อาชีพที่เหมาะกับ ENTP]

  • Broker
  • HR
  • นักวางแผนการเงิน
  • นักลงทุน
  • Consult ธุรกิจ
  • สถาปนิก
  • Art Director
  • นักจิตวิทยาองค์กรณ์
  • นักสิ่งแวดล้อม

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท INFJ (The Advocate)


[จุดแข็ง]
1. มีความสร้างสรรค์
2. เข้าใจจิตใจผู้อื่นได้ดี
3. เป็นนักสร้างแรงบันดาลใจที่ดีเยี่ยม
4. มีความมุ่งมั่นแน่วแน่ ทำงานอย่างตั้งใจ
5. เห็นแก่ผู้อื่นเป็นหลัก เห็นใจผู้อื่นมากกว่าตัวเอง


[จุดอ่อน]
1. หมดไฟได้ง่าย ถ้าไม่เข้าใจว่าสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ทำไปเพื่ออะไรก็จะหมดไฟในการทำงานไปเลย
2. ชอบความเป็นส่วนตัว มักจะปิดกั้นตัวเองจากคนอื่น ไม่ยอมเปิดใจให้ใครง่ายๆ
3. Perfectionist เกินไป ถ้าหากเจอความผิดหวังเล็กน้อยจะทำให้ลำบากใจ
4. อารมณ์อ่อนไหวมากเกินไป เป็นคนคิดมากในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ซึ่งทำให้เครียดเกินความจำเป็น
5. เป็นคนตั้งความคาดหวังสูง อย่างที่บอกว่าเป็น Perfectionist นั่นแหละ ซึ่งการคาดหวังสิ่งต่างๆมากไป INFJ จึงมักจะเจอกับความรู้สึกผิดหวังอยู่บ่อยๆนั่นเอง

[อาชีพที่เหมาะกับ INFJ] – บางส่วนเท่านั้น

  • นักกายภาพบำบัด
  • นักฟิสิกส์
  • นักวิจัยยา
  • นักวิจัยอาหาร
  • หัวหน้าฝ่าย HR
  • ครูโรงเรียนประถม
  • นักแปล
  • นักเขียน
  • บรรณาธิการ
  • นักออกแบบภายใน
Personalities

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท ISFP (The Adventurer)

[จุดแข็ง]
1. มีเสน่ห์ – ด้วยลักษณะสุดชิว สบายๆ อบอุ่น ของคนแบบ ISFP ในสไตล์ ‘ชีวิตเรา…ใช้ซะ’ ทำให้มีคนมาหลงเสน่ห์และเป็นที่ชื่นชอบได้ง่าย
2. เข้าใจผู้อื่นได้ดี มีความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้มากกว่าคนทั่วไป ช่วยลดการขัดแย้งกับผู้อื่นได้
3. จินตนาการสูง จากความสามารถในการเข้าใจจิตใจผู้อื่นได้ดี จะทำให้มีไอเดียในการแก้ปัญหาที่ลึกซึ้งได้มากกว่าคนทั่วไป
4. มี Passion – เวลา ISFP สนใจเรื่องอะไรขึ้นมาแล้วละก็ บอกได้เลยว่าจะมุ่งทะยานทำอย่างไม่หยุดยั้ง อะไรก็หยุดไม่อยู่
5. ช่างสงสัย – ISFP เป็นคนที่ชอบนำไอเดียของตัวเองไปทดลองกับผู้อื่นว่าเวิร์คจริงหรือไม่ และชอบทดลองไอเดียของตัวเองอยู่เสมอๆ
6. มีศิลปะ – ISFP มีความสามารถพิเศษคือการเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์จากในจินตนาการให้ออกมาเป็นรูปธรรมได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งเพลง การนำเสนองานผ่านศิลปะแบบต่างๆ ที่เข้าใจง่าย รับรองว่าคนดูละสายตาไปไมได้แน่นอน

[จุดอ่อน]
1. ชอบอยู่กับตัวเองแบบสุดๆ เพราะอิสระคือคำตอบของ ISFP พวกกฏต่างๆ หรือธรรมเนียมต่างๆ จะเป็นอะไรที่ทำให้คนประเภทนี้อึดอัดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกฏเคร่งๆในที่ทำงานหรือโรงเรียน
2. คาดเดาไม่ได้ คนประเภทนี้ไม่ชอบการวางแผนระยะยาว ซึ่งอาจจะเป้นปัญหาสำหรับการวางแผนการเงิน หรือการวางแผนความสัมพันธ์ในระยะยาวได้
3. เครียดง่าย – ISFP เป็นผู้อยู่กับปัจจุบัน ไม่ค่อยวางแผน ซึ่งจะเป็นปัญหาเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น คนประเภทนี้มีโอกาสที่จะเปลี่ยนไปจากอารมณ์ดี ชิวๆ กลายเป็น เงียบ หดหู่ เซ็ง ได้เลยในทันทีเช่นกัน
4. บ้าการแข่งขันจนเกินไป บางที ISFP ก็ชอบเผลอตัวไปบ้าการแข่งขันในชั่ววูบ หรือการแข่งขันระยะสั้น จนลืมแผนการของตัวเองในระยะยาวไป และก็จะเซ็งมากเมื่อตนเองแพ้
5. ขาดความมั่นใจในตัวเอง ISFP มักจะไม่ค่อยมั่นใจในการตัดสินใจของตัวเองเท่าไหร่นักและมักจะไขว้เขวได้ง่ายเมื่อมีคนมาวิจารณ์สิ่งที่ตัวเองทำ เพราะว่าเป็นคนใส่ใจในความรู้สึกของคนอื่นมากเกินไปนั่นเอง

[อาชีพที่เหมาะกับ ISFP] – ตัวอย่างเพียงบางส่วน

  • นักออกแบบ
  • นักออกแบบกราฟิก
  • แฟชั่นดีไซน์เนอร์
  • นักพฤษศาสตร์
  • นักกายภาพบำบัด
  • ครูฝึกสัตว์
  • พยาบาล

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท ISFJ (The Defender)

[จุดแข็ง]
1.เป็นหน่วยสนับสนุนที่ดี ช่วยเหลือผู้อื่นได้ดี
2.เชื่อใจได้ ขยันและอดทน
3.กระตือรือร้นในการทำงานเสมอ
4.ช่างสังเกตรายละเอียดของคนรอบตัว
5.ซื่อสัตย์ พร้อมทำงานหนัก ไม่กลัวเหนื่อย
6.ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

[จุดอ่อน]
1.ขี้อาย ถ่อมตัวเกินไป
2.ไม่ค่อยแสดงออกด้านอารมณ์ มักจะเก็บเอาไว้คนเดียว
3.แบกความรับผิดชอบไว้ที่ตัวเองมากเกินไป
4.ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

[อาชีพที่เหมาะกับ ISFJ] – (ตัวอย่างเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น)

  • นักภูมิศาสตร์
  • ศิลปิน
  • นักวางแผนการท่องเที่ยว
  • ครู
  • System Analysis
  • ศัลยแพทย์
  • นักออกแบบเสื้อผ้า

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท INTP (The Logocians)

[จุดแข็ง]
1. วิเคราะห์ข้อมูลเก่ง
2. มีความคิดสร้างสรรค์ จากการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก
3. มีเป้าหมายที่ชัดเจน มั่นคงในเป้าหมายของตัวเอง
4. ทำงานอย่างตรงไปตรงมา ไม่ไขว้เขวง่ายๆ
5. เปิดกว้างต่อความคิดใหม่ๆ

[จุดอ่อน]
1. บ้า Logic เรื่องไหนที่ขัดต่อ Logic ของ INTP แล้วละก็จะไม่ได้รับการยอมรับเลย
2. ไม่ถนัดการเข้าสังคม INTP ชอบใช้เวลาอยู่กับการวิเคราะห์ความคิดของตัวเองมากกว่าการเข้าสังคม เพื่อพูดคุยกับคนอื่นๆ ทำให้เป็นคนเข้าสังคมไม่เก่งนัก
3. ไม่ชอบอธิบายอะไรที่ซับซ้อนให้คนอื่นฟัง สำหรับ INTP แล้ว ถ้าต้องให้อธิบายเรื่องยากๆ ให้คนอื่นฟัง INTP มักจะบอกว่า ‘ช่างมันเถอะ’ แม้ว่าตัวเองจะเข้าใจเป็นอย่างดี เพราะไม่ชอบการสื่อสารให้คนอื่นฟังนั่นเอง
4. ชอบคิดเดิมๆซ้ำๆ ทำให้ INTP เครียดได้มากเช่นกัน ถ้าไม่มีคนมาช่วยเบรก ให้หยุดคิดซะบ้าง

[อาชีพที่เหมาะกับ INTP] – บางส่วนเท่านั้น

  • นักพัฒนาซอฟท์แวร์
  • นักพัฒนาเว็บไซต์
  • วิศวกร
  • สถาปนิก
  • นักธรณีวิทยา
  • นักประวัติศาสตร์
  • นักเศรษฐศาสตร์
  • นักดาราศาสตร์
  • นักสถิติ
  • เภสัชกร

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท ENFJ (The Protagonist)

[จุดแข็ง]

1.เชื่อใจได้ ไว้วางใจได้ ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ
2.ใจกว้าง ชอบช่วยเหลือคนอื่น
3. มีเสน่ห์ ดึดดูด
4. มีความเป็นผู้นำโดยธรรมชาติ
5.เห็นใจผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัว


[จุดอ่อน]
1. มองโลกในอุดมคติเกินไป เมื่อโลกความเป็นจริงไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิดไว้ก็จะเกิดความเครียด
2. อารมณ์อ่อนไหวเกินจริง จนบางครั้งก็ตัดดสินใจผิดพลาดเพราะใช้อารมณ์มากเกินไป
3. ชอบช่วยเหลือผู้อื่นจนลืมตัวเอง
4. ความมั่นใจแปรปรวน ในบางเวลาก็มั่นใจมากเป็นผู้นำสุดๆ แต่บางเวลาความมั่นใจก็หายไปเลย
5. ตัดสินใจไม่เก่ง เนื่องจากมีความเห็นใจให้แก่ทุกฝ่าย จึงมักจะตัดสินใจไม่ได้เมื่อต้องเลือกอะไรอย่างเด็ดขาด

[อาชีพที่เหมาะกับ ENFJ] – บางส่วนเท่านั้น

  • บรรณาธิการ
  • นักทำงานด้านสังคม
  • ผู้ให้คำปรึกษาด้านครอบครัว
  • นักเขียน
  • หัวหน้าฝ่าย HR
  • นักวิเคราะห์ด้านการตลาด
  • นักจัด Training ด้านพัฒนาตนเอง

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท ISTP (The Virtuoso)

[จุดแข็ง]

1.มีเหตุผล มีตรรกะที่ดี หนักแน่น ไม่เปลี่ยนใจตามอารมณ์ง่ายๆ
2.เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Multitasking สามารถทำหลายอย่างพร้อมกันได้ และทำออกมาได้ดี
3. รับมือสถานการณ์คับขันแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
4.มองโลกในแง่ดี ไม่เครียดหรือว่าวิตกกังวลอะไรง่ายๆ

[จุดอ่อน]
1.เบื่อง่าย ต้องหาอะไรทำอยู่ตลอดเวลา
2.ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง ไม่ค่อยชอบสุงสิงกับใครหรือเข้าสังคมมากนัก
3.ไม่ชอบการผูกมัด เช่น การให้สัญญาที่ต้องผูกมัดกับตัวเอง ซึ่ง ISTP จะไม่ชอบที่จะตอบตกลงอะไรไว้ล่วงหน้า แต่เลือกทำอะไรที่จับต้องได้จริงๆทันทีมากกว่า
4.ชอบเสี่ยงโดยไม่จำเป็น เพราะว่าชอบทำอะไรท้าทาย แต่บางครั้งก็ทำให้ตัวเองเข้าไปเสี่ยงและเสียหายโดยไม่จำเป็นเพราะความคึกคะนองเช่นกัน

[อาชีพที่เหมาะกับ ISTP]

  • นักแสดง
  • นักบิน
  • นักเคมี
  • ช่างฝีมือ ช่างไม้
  • เชฟ
  • ช่างภาพ
  • นักเศรษฐศาสตร์
  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์

จุดแข็ง&จุดอ่อน ของ คนประเภท ISTJ (The Logistician)

[จุดแข็ง]
1. เก่งรอบด้าน (เก่งหลายอย่าง รู้จักหลายศาสตร์ แต่อาจจะไมไ่ด้เชี่ยวชาญลงลึก)
2. ใจเย็น ตัดสินใจด้วยเหตุผล
3. ทำงานตรงประเด็น มีประสิทธิภาพ
4. ตั้งใจ มุ่งมั่นในการทำงาน
5. ตรงไปตรงมา มีอะไรพูดกันตรงๆ ไม่ชอบการพูดอ้อมค้อม

[จุดอ่อน]
1. ดื้อ จะไม่ยอมฟังคนอื่นหากไม่มีเหตุผลที่ดีพอมาอธิบายให้ตัวเองยอมรับ
2. ชอบทำตามตำรา ไม่ค่อยชอบออกจากกรอบเท่าไหร่ (ถ้าต้องทำอะไรที่ไม่ได้มีการวางแผนไว้ก่อนจะรู้สึกกระวนกระวายใจ)
3. ชอบโทษตัวเองมากเกินไป จนทำให้ตัวเองเครียดเกินสถานการณ์จริง
4. ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ให้คนอื่นรับรู้ว่าตัวเองกำลังคิดอะไรอยู่ ทำให้คนอื่นไม่ค่อยเข้าใจว่าต้องการอะไรกันแน่

[อาชีพที่เหมาะกับ ISTJ] – ตัวอย่างเพียงบางส่วน

  • ผู้บริหาร
  • ผู้จัดการ
  • นักสืบ
  • ผู้พิพากษา
  • โปรแกรมเมอร์
  • หมอฟัน
  • Systems Analysis
  • หัวหน้าฝ่ายการเงิน
  • นักบัญชี

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

HR Tech

ข้อดีและข้อควรระวังของ HR Tech: เปลี่ยนงานทรัพยากรบุคคลสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ

การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในงานทรัพยากรบุคคล คุณเห็นด้วยหรือไม่ว่า งานทรัพยากรบุคคลกำลังจะกลายเป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ (HR Tech) ไม่เพียงแต่ในแง่ของการใช้งานเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงในด้านต่างๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Big Data เพื่อทำความเข้าใจพนักงาน เพิ่มทักษะดิจิทัลให้กับพนักงาน และพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ในขณะที่มุมของพนักงานจากผลสำรวจของ PwC เชื่อว่าการวิเคราะห์ข้อมูลจะมีบทบาทสำคัญต่อการเลือกเส้นทางการเติบโตก้าวหน้าของพนักงาน . สถานการณ์ปัจจุบันของ HR Technology ปัจจุบัน 80% ขององค์กรกำลังใช้ HR Technology อยู่อย่างน้อยหนึ่งอย่าง และ 60% ขององค์กรวางแผนเพิ่มการลงทุนใน HR Technology ในปี 2024 แล้ว HR Technology ส่งผลกระทบต่อพนักงานอย่างไรบ้าง และจะวัดความคุ้มค่าอย่างไร วันนี้เรามาดูแนวทางไปพร้อมกัน อย่างไรก็ดี หลายองค์กรยังคงมีความกังวลในเรื่องการใช้ HR Tech โดยเฉพาะเรื่องการลงทุน การคำนวณความคุ้มค่าของ HR Tech นั้นสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ประโยชน์ที่ได้เปรียบเทียบกับต้นทุนที่ต้องใช้ในการลงทุนเทคโนโลยีทาง HR นั้น ๆ ดังนี้ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการลงทุน HR Tech ให้ชัดเจน ก่อนที่จะคำนวณความคุ้มค่าของ HR Tech ควรกำหนดวัตถุประสงค์ในการลงทุนอย่างชัดเจน เช่น . 2. ประเมินผลประโยชน์ของ HR Tech หลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว ต้องทำการวัดผลประโยชน์ที่ได้รับจาก HR Technology เพื่อใช้ในการคำนวณความคุ้มค่า ตัวอย่างของผลประโยชน์ที่สามารถวัดได้มีหลายประการ เช่น . 3. คำนวณต้นทุนของ HR Tech ต้นทุนในการลงทุน HR Technology เบื้องต้น ได้แก่ . 4. คำนวณ ROI (Return on Investment) ROI หรือ Return on Investment เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการวัดประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุน HR Technology โดยสามารถคำนวณได้ด้วยสูตรเบื้องต้น ดังนี้ ROI=(ผลประโยชน์ทั้งหมด−ต้นทุนทั้งหมดต้นทุนทั้งหมด)×100% อย่างไรก็ดี หลายองค์กรยังคงมีความกังวลในด้านการใช้ HR Technology อาทิ โดยรวมแล้ว HR Technology มีข้อดีต่อพนักงาน ทำให้ทุกฝ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีส่วนร่วมมากขึ้น และเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักถึงความเสี่ยงและความกังวลที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง และดำเนินการเพื่อลดผลกระทบเหล่านี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับทุกฝ่ายเพื่อมุ่งสู่โลกการทำงานแห่งอนาคตไปพร้อมกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : Khon At Work Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 12

โซเชียลของพนักงาน

5 วิธีเปลี่ยนพลัง “โซเชียลของพนักงาน” ให้เป็นกระบอกเสียงดึงดูดคนเก่ง

ในแต่ละวัน พนักงานของคุณ 50% โพสต์ข้อความเกี่ยวกับงานและบริษัทลงในโซเชียลมีเดียส่วนตัว แต่! มีพนักงานเพียง 17% ที่โพสต์แบบตั้งใจและมีเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งหมายความว่า อีก 33% ที่เหลือโพสต์โดยไม่ได้คิดอะไรมาก และนี่คือโอกาสขององค์กรที่จะเปลี่ยนพลังของโซเชียลให้กลายเป็นกระบอกเสียงสร้างแบรนด์นายจ้างและดึงดูดคนเก่งเข้ามาในองค์กร และเพิ่มความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร และยังทำให้งานของ HR ได้รับความสนใจและยอมรับมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ การฝึกอบรม กิจกรรมภายในบริษัท และอื่น ๆ อีกมากมาย ความสำคัญของการมีทิศทางในการโพสต์ หากไม่มีกลยุทธ์ที่ช่วยวางแนวทางให้พนักงาน บริษัทยิ่งต้องรับความเสี่ยงที่จะต้องลุ้นว่าพนักงานจะโพสต์อะไรลงในโซเชียลมีเดีย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะไม่สอดคล้องหรือบิดเบือนไปจากสิ่งที่องค์กรต้องการสื่อสารออกไปภายนอก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องที่ไม่ดี ทั้งอย่างตั้งใจและด้วยความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน หรืออาจเกิดจากทักษะการเขียนหรือการทำรูปภาพที่ไม่เท่ากัน เพราะทุกคนอาจไม่ใช่ครีเอเตอร์มืออาชีพ . การโปรโมทผ่านสื่อขององค์กรอย่างเป็นทางการ เช่น เว็บไซต์บริษัท โซเชียลมีเดียของบริษัท อีเวนต์ทางการ ฯลฯ มักมีข้อจำกัดในเชิงแบรนด์เต็มไปหมด ต้องผ่านกลั่นกรองและการอนุมัติอีกสิบขั้น จนทำให้ message ขาดความเรียลและจริงใจ โดยเฉพาะเมื่อต้องสื่อสารว่าองค์กรให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลายในองค์กร (Diversity & Inclusion) การเรียนรู้และพัฒนา (Learning & Development) การมีส่วนช่วยส่งเสริมสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social Responsibility) หรือแม้กระทั่งวัฒนธรรมองค์กรที่มีชีวิต (Culture) และเมื่อเป็นเรื่องคน ธรรมชาติของคนเราจะไม่สามารถฟังจากปากคนเพียงคนเดียว หรือสื่อเดียวได้ แต่ต้องฟังจากคนส่วนใหญ่ในองค์กร ประโยชน์ของ Employee Advocacy Program การสร้างเครือข่ายพนักงานที่พร้อมจะช่วยโปรโมทภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร (Employer Branding) ไปพร้อม ๆ กับการสร้างแบรนด์ให้ตัวเอง (Personal Branding) ผ่านโปรแกรมที่เรียกว่า Employee Advocacy Program องค์กรจะสามารถเพิ่มยอด Reach ที่จะเข้าถึงคนกลุ่มใหม่ ๆ ได้ถึง 200% และคนที่กำลังหางานในปัจจุบัน เชื่อรีวิวในโซเชียลมีเดีย หรือการได้พูดคุยกับพนักงานตัวจริงที่ทำงานอยู่ในแต่ละองค์กร มากกว่าการพูดคุยกับ HR หรือหัวหน้างานเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนตัดสินใจ ถึงแม้จะมีประโยชน์มากขนาดนี้ แต่มันกลับไม่ได้ง่ายแบบนั้น เพราะองค์กรส่วนใหญ่เชื่อว่า พนักงานมักจะโพสต์เรื่องไม่ดีลงในโซเชียลมีเดีย และขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ นำมาซึ่งนโยบายในการ “ห้าม” พนักงานโพสต์เกี่ยวกับบริษัทลงในโลกโซเชียล แต่อย่างที่ทราบกันดีว่า ในโลกที่ทุกอย่างอยู่บนออนไลน์และการสนับสนุนความคิดเสรี เป็นเรื่องที่ห้ามกันไม่ได้จริง และยิ่งกลับจะทำให้พนักงานมององค์กรในแง่ลบ . . การวางแผนให้พนักงานโพสต์คอนเทนต์ในด้านดีเกี่ยวกับองค์กร จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่หลายองค์กรกำลังให้ความสำคัญและกำลังมาแรง . เชื่อได้ว่า ในทุกองค์กรมีเรื่องดี ๆ อยู่รอบตัวพนักงานมากมายที่เรามักมองข้ามไปด้วยภารกิจในแต่ละวัน และหลายคนก็อยากจะแชร์สิ่งดี ๆ ให้กับเพื่อนและครอบครัว ดังนั้น นอกจากองค์กรจะมีหน้าที่สร้างบรรยากาศและโปรแกรมส่งเสริมศักยภาพและความผูกพันของพนักงานดี ๆ มากมายแล้ว องค์กรจึงยังมีหน้าที่จุดประกายและสร้าง Positive Sentiment หรือแรงกระเพื่อมที่ส่งต่อความรู้สึกดี ๆ ในองค์กรให้เกิดขึ้นด้วยการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมอย่างจริงจัง (Structured Program) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุดและความภาคภูมิใจในองค์กรและในตัวเองของพนักงานแต่ละคนร่วมกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : Khon At Work Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 10

engagement

7 วิธีสร้างความ Engagement ให้พนักงานผ่านโลกออนไลน์

ทำไมพนักงานจึงแห่ลาออกมากกว่าช่วงก่อนโควิดเสียอีก ? สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าในช่วงแรกของวิกฤตการณ์ ทั้งองค์กร ผู้บริหาร และคนทำงาน ต่างก็ตื่นตัวในการสรรหาสารพัดวิธีในการทำงานแบบใหม่ รวมถึงวิธีในการสื่อสารระหว่างกัน และเชื่อมต่อกับพนักงานอย่างไม่ขาดสาย ( High Engagement ) จนพนักงานบอกว่า ใกล้ชิดกับหัวหน้างานและรู้สึกถึงความเป็นทีมมากกว่าแต่ก่อนเสียอีก ในทางวิชาการ นักวิจัยต่างก็หันมาสนใจเรื่องนี้จนในปี 2020 มีงานวิจัยที่ออกมาถึง 1,500 ชิ้นเกี่ยวกับการสร้างความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร . แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งเหล่านั้นกลับค่อยๆหายไปเพราะหลายคนเริ่มรู้สึกเคยชินกับมัน และกลับทำให้ปัญหาของพนักงานลาออกจากงานเพิ่มขึ้น ยิ่งคนลาออก หาคนใหม่ไม่ได้ พนักงานที่ยังอยู่ก็ยิ่งต้องรับภาระงานที่หนักขึ้น เครียด และเบิร์นเอาท์จนต้องลาออกตามกันไป แล้วไปสร้างวงจรนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในองค์กรถัดๆ ไป จากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาคินเซนทริค ยังพบอีกว่า ระดับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรลดลงกว่าก่อนช่วงปี 2019 ซึ่งปัจจัยสำคัญๆได้แก่ การสื่อสารของผู้บริหารระดับสูงที่สร้างความมั่นใจเกี่ยวกับอนาคตของบริษัท การได้รับฟีดแบคจากหัวหน้างาน และความสมดุลในชีวิตการทำงาน วันนี้จึงอยากมาแนะนำไอเดียใหม่ๆในการกลับมาสร้างพลังและความสดใสในที่ทำงานแบบเสมือนจริงกันสักหน่อย . 1. ช่วงสร้างรอยยิ้มสวัสดีวันใหม่อย่างสดใส ปัญหาอย่างแรกของคนทำงานที่บ้านก็คือ ขาดพลังในการทำงาน ลุกขึ้นมาทำงานทั้งๆที่ยังไม่ได้อาบน้ำหรือเปลี่ยนชุด ไม่มีใครกล่าวทักทาย ไม่ต้องสวัสดีใคร และไม่ต้องยิ้มให้ใคร ดังนั้น การมีคำคมประจำวันที่ปลุกพลังในการทำงาน หรือรูปภาพ desktop ที่ช่วยเรียกความสดใส รอยยิ้ม และปรับ mindset ให้พร้อมกับสิ่งที่จะต้องเจอในแต่ละวันอาจเป็นเรื่องง่ายๆที่ส่งผลดีอย่างไม่คาดคิดก็ได้ ในช่วงแรกของสถานการณ์โควิด-19 Jeff Bezos ซีอีโอของ Amazon เคยเขียนอีเมลปลุกใจพนักงานในทำนองว่า ผู้คนทั้งโลกกำลังต้องพึ่งพาบริการจากอเมซอน ซึ่งขณะนี้จึงถือเป็น ‘ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด’ ที่พนักงานทุกคนแสดงศักยภาพออกมา ซึ่ง ณ ตอนนั้นสามารถสร้างแรงจูงใจให้พนักงานของอเมซอนได้เป็นอย่างดีก่อนสถานการณ์ภายในองค์กรจะมีวิวัฒนาการไปในขั้นถัดไป . 2. ช่วงเรียกพลังก่อนเริ่มงานในแต่ละวัน ในแต่ละวันของการเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศหรือโรงงาน ย่อมจะมีช่วงที่พนักงานได้ไปทานข้าวเช้า เดินชอปปิ้งตลาดนัด ไปฟิตเนส หรือแม้แต่ดื่มกาแฟไป คุยกับเพื่อนร่วมงานไปเพื่ออัพเดทผลฟุตบอลหรือซีรี่ย์เรื่องดังเมื่อคืน แต่การทำงานบนโลกออนไลน์นั้น เช้ามาก็แค่เข้ามาในระบบแล้วเริ่มทำงาน ดังนั้น HR หัวหน้างานอาจหากิจกรรมสนุกๆที่ปลุกให้คนตื่นตัวและเตรียมพร้อมรับวันทำงานใหม่ในรูปแบบเสมือนจริง เช่น คลาสโยคะหรือแอโรบิค หรือแม้กระทั่งการเต้นซุมบ้าก่อนเริ่มงานทุกวันเวลาแปดโมงเช้าสลับกันไป ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพกายและใจที่ดีพร้อมทำงานอีกด้วย . 3. ช่วงเวลาคุยเล่นหน้า ‘ตู้กดน้ำ’ แบบเสมือนจริง ปกติในออฟฟิศจะมีช่วงเวลาที่พนักงานยืนแซวกันหรือปรึกษาเรื่องงานอย่างไม่เป็นทางการแถวๆตู้กดน้ำหรือเครื่องถ่ายเอกสาร แต่พอต้องทำงานที่บ้าน พื้นที่และช่วงเวลาเหล่านั้นก็หายไป บางองค์กรจึงแก้ปัญหานี้ด้วยการสร้างพื้นที่ขึ้นมา โดยเป็น google meet, zoom, discord (หรือโปรแกรมอื่นๆ) ง่ายๆ ขึ้นมา เปิดทิ้งไว้ทั้งวัน ใครที่อยากแวะเวียนเข้ามาคุยเล่นกับเพื่อน ก็สามารถเข้าออกห้องนี้ได้ตลอดเวลาได้เลย อาจเพิ่มความสนุกด้วยการคิดหัวข้อที่จะคุยไว้ตามช่วงเวลาก็ได้ ใครสนใจเรื่องไหนอยากคุยกันก็เข้ามาร่วมแจมได้ตลอด . 4. ช่วงเวลาสอนงานจริงจัง (Virtual mentorship) การทำงานออนไลน์ที่เน้นผลลัพธ์ ไม่เน้นกระบวนการนั้น มีข้อดีหลายอย่าง แต่บางครั้งสำหรับพนักงานที่ต้องการคนสอนงาน ตรวจงาน คอยนั่งข้างๆชี้แนะก็อาจไม่เพียงพอ การวางตารางการทำงานให้มีช่วงเวลาที่ ‘คุยเรื่องงาน’ หรือ ‘สอนงาน’ จริงจังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก นอกจากจะทำให้ได้ผลงานที่ดีขึ้นแล้ว ได้สื่อสารและรับฟังความต้องการของพนักงาน ยังทำให้พนักงานรู้สึกถึงโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา และความก้าวหน้าในงาน ที่ไม่ต่างจากการไปทำงานที่ออฟฟิศปกติอีกด้วย ซึ่งปัจจัยนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่ทำให้พนักงานลาออกมากที่สุดเพราะมักขาดการสื่อสารเกี่ยวกับอนาคต ความก้าวหน้า หรือทิศทางที่จะเติบโตต่อไปโดยเฉพาะเมื่อต้องทำงานที่บ้าน ซึ่งหากจะเพิ่มดีกรีของความสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์ได้จริง อาจมีโปรแกรมประเภท reverse mentoring ให้ลูกทีมผลัดกันสอนทักษะต่างๆบ้าง โดยเฉพาะทักษะทางออนไลน์ที่มักจะมีติดตัวมากับคนทำงานอายุน้อยอยู่แล้ว ซึ่งองค์กรระดับโลกอย่าง General Electric ได้พิสูจน์มาแล้วว่า การจัดให้มีเมนเทอร์จริงจังนี้ส่งผลทำให้การรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรทำได้ดีขึ้น Google เองก็เช่นกัน ค้นพบว่า พนักงานที่มีเมนเทอร์เรียนรู้งานได้เร็วกว่าพนักงานที่ไม่พี่เลี้ยงหรือคนสอนงานถึง 25% . 5. ช่วงเติมไฟในการทำงาน เมื่อทำงานมาได้สักระยะหนึ่ง โดยไม่ได้พบเจอผู้คน เราก็มักจะหมดไฟ หมดไอเดียในการทำงาน ดังนั้นการมีช่วงเวลาที่ได้เติมแรงบันดาลใจ เติมไอเดียใหม่ๆ อาจเป็นเรื่องที่จำเป็น องค์กรหรือหัวหน้าทีมอาจจะจัด session ในสไตล์ TED Talk เพื่อให้พนักงานผลัดกันเล่าเรื่องที่คิดว่าเป็นประโยชน์ สร้างแรงบันดาลใจ และเติมไอเดียใหม่ๆซึ่งกันและกัน อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับงานก็ได้ อย่างเช่น ชอคโกแลตที่อร่อยที่สุดในโลก เด็กประถมที่เขียนโค้ดได้ ไปจนถึงเรื่องราวความสำเร็จของสตาร์ทอัพพันล้าน ซึ่งในงานวิจัยของ Harvard Business School เรียกว่า EmployeeResource Groups (ERGs) คล้ายๆกับชมรมที่ส่งเสริมความหลากหลายในองค์กร (Diversity & Inclusion) ของคนที่สนใจเรื่องต่างๆ มีเป้าหมายที่แตกต่างกันมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งอาจรวมถึงเรื่องสุขภาพ หรือจิตวิทยาในองค์กรด้วย จุดเด่นของงานนี้อยู่ที่ คนธรรมดาก็สามารถเล่าเรื่องได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้า หรืออาวุโสกว่าเท่านั้น และไม่ต้องมี setting อลังการ ทำผ่านหน้าจอก็ได้ กิจกรรมนี้นอกจากจะช่วยกระตุ้นให้ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆนอกกรอบอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นวิธีการประเมินศักยภาพของพนักงานในมุมใหม่ๆ และพัฒนาทักษะในการสื่อสารของพนักงานอีกด้วย . 6. ช่วงเวลาค้นพบศักยภาพและให้อิสระ หัวใจสำคัญของการลดความเครียดในงาน คือต้องทำให้งานสนุก และอิสระเป็นหนึ่งในแรงจูงใจที่ดีในเรื่องนี้ การให้พนักงานมีพื้นที่ใหม่ๆในการทดลอง หรือค้นพบศักยภาพของตัวเอง การหมุนเวียนงาน (Job Rotation) ช่วงเวลาสั้นๆอาจทำให้พนักงานเกิดแรงบันดาลใจหรือดึงความสนใจและสมาธิในการทำงานกลับมาได้มากกว่าทนทำงานเดิมๆทุกๆวันหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งแนวโน้มในการเปลี่ยนงานยุคใหม่นี้ คนทำงานหลายคนเลือกที่จะเปลี่ยนสายอาชีพไปเลยไม่ใช่แค่ย้ายองค์กร ดังนั้น การให้พนักงานได้ลองสิ่งใหม่ภายในองค์กร อาจทำให้ได้พบพนักงานที่เก่งและมี passion ที่กำลังสรรหาคนอยู่ก็เป็นได้ . 7. ช่วงขอบคุณ ชมเชย และให้รางวัล ไม่มีใครอยากทำงานไปวันๆ โดยไม่เห็นความสำเร็จหรือไม่มีใครชื่นชม การสร้างพื้นที่ที่ไว้ยกย่องชมเชยกันอย่างเช่นห้องแชท #small-wins Channel แล้วเริ่มด้วยการขอบคุณหรือชมเชยกันในเรื่องเล็กๆน้อยๆในทุกวัน จะทำให้พนักงานมีกำลังใจในการทำงาน และแทนที่จะให้รางวัลกับพนักงานเป็นตัวเงิน ลองให้รางวัลกับพนักงานเป็น ‘เวลา’ ดูบ้าง ไม่ว่าจะเป็น extra time off, extra week off, หรือ paid vacations เพราะในช่วงที่ผ่านมา การทำงานที่บ้านทำให้คนต้องทำงานแทบจะตลอดเวลา มีงานวิจัยพบกว่า คนเราทำงานเพิ่มขึ้น 48.5 นาทีต่อวันในช่วงโควิด-19 และไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อนหรือทำกิจกรรมส่วนตัว โดยเฉพาะผู้หญิงทำงานที่มีบุตร และในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ชั่วโมงการทำงานของมนุษย์เงินเดือนก็มีแต่จะทำงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ การให้สวัสดิการหรือการสนับสนุนที่จะช่วยให้พนักงานมีเวลามากขึ้น ที่เรียกว่า Time-Saving Purchases เช่น บริการแม่บ้าน บริการส่งอาหาร บริการดูแลเด็กเล็ก ก็จะช่วยให้พนักงานบริษัทและงานบ้าน มีเวลาพักผ่อนและคลายเครียดจากงานที่เหนื่อยล้า และพร้อมจะกลับมาทำงานใหม่อย่างเต็มพลังมากขึ้นกว่าเดิม อีกวิธีที่จะช่วยเพิ่มเวลาแก่กันและกันได้ คือการสนับสนุนให้มีช่วงงดส่งอีเมล (After-Hours Emails) ซึ่ง Volkswagen ได้ทดลองใช้วิธีนี้ด้วยการให้ยุดส่งอีเมล 30 นาทีก่อนหมดเวลางาน และเริ่มส่งได้ 30 นาทีก่อนถึงเวลาเข้างานในเช้าวันใหม่ การสร้าง employee engagement ไม่ใช่เพียงกิจกรรมสนุกสนานทั้งๆที่งานกองเป็นตั้ง แต่เป็นการบริหารเวลา และช่วยให้พนักงานรักษาสมดุลในชีวิตและการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีช่วงเวลาที่เรียนรู้เต็มที่ ในขณะเดียวกันก็แบ่งเวลาให้ตัวเองได้ค้นคว้าสิ่งใหม่ๆเพื่อเติมพลัง แต่ละองค์กรสามารถลองนำไปปรับใช้ในสไตล์ของแต่ละองค์กรหรือตอบโจทย์พนักงานแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการและกำลังเผชิญกับความท้าทายในรูปแบบที่แตกต่างกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : Khon At Work Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 9