โตขนาดนี้แล้ว ยังหาตัวเองไม่เจอ ไม่ต้องกังวล!

หลายคนอาจจะกำลังสับสนในชีวิตตัวเองว่า จริง ๆ แล้วเราชอบอะไรกันแน่ หรืออะไรที่เหมาะสมกับเราที่เราทำได้ดี ไม่ต้องกังวลไป ไม่ใช่ทุกคนที่จะตามหาตัวเองเจอได้ไวแบบใจคิด เพียงแต่ว่าถ้าหากเราอยากได้ตัวช่วย ลองทำตามสเต็ปเหล่านี้ดู

การตามหาตัวเอง สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ตัวเองเร็ว และการรู้ตัวเองช้าก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพียงแต่ว่าถ้าหากเราปล่อยชีวิตตัวเองไปวัน ๆ แบบไม่มีแบบแผน มันก็อาจจะทำให้ความเป็นตัวเองหาเจอได้ยากขึ้น เพราะงั้นเราจึงต้องมีตัวช่วย ที่จะทำให้เราตามหาตัวเองเจอได้ง่ายขึ้น

 

ยิ่งกับวัยทำงาน หรือคนที่อยากริเริ่มทำอะไรเป็นของตัวเอง การหาความเป็นตัวเองหรือรู้ตัวเองว่าเราทำอะไรได้ดีค่อนข้างจะเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าหากเรายังติดขัดเรื่องนี้อยู่ ลองทำใจเย็น ๆ และหาตัวช่วยกันดู

 

วันนี้ CareerVisa จะมาเปิดขั้นตอนการหาตัวเอง ที่จะทำให้คุณพบเจอกับสิ่งที่ใช่สำหรับเราได้ง่ายขึ้น มาลองดูกัน

 

หากยังหาตัวเองไม่เจอ ลองทำตามสเต็ปเหล่านี้ดู

 

เข้าใจอดีตที่ผ่านมาของตนเอง

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะมีอดีตในชีวิตที่ดี และไม่ดี เพียงแต่เราต้องทำความเข้าใจว่าเราผ่านจุด ๆ นั้นมาได้อย่างไร ถ้าหากมีปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ให้ทำความเข้าใจว่าตอนนั้นเราแก้ไขมันอย่างไร และทำความเข้าใจว่าสิ่งใดทำให้เราประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน หากเราสามารถเข้าใจอดีต เราก็จะรู้ว่าลิมิตของเราคืออะไร ข้อดีข้อเสียที่เคยเกิดขึ้นของตัวเองมีอะไรบ้าง

 

หาความแตกต่างของตัวเองให้เจอ

ลองเขียนดูว่าเราแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร ทั้งแตกต่างในทางที่ดี และในทางที่ไม่ดี เพื่อดูว่าจุดเด่น และจุดด้อยของเรามีอะไรบ้าง และความปรับแก้หรือพัฒนาตัวเองไปในด้านไหน

 

หาความหมายของทุกอย่างที่เราทำ

อย่าทำอะไรไปโดยไม่มีความหมายหรือเป้าหมาย ให้หาให้เจอว่าเราทำสิ่ง ๆ หนึ่งไปเพื่ออะไรและทำไมต้องทำสิ่งนั้น เพื่อที่เราจะได้วางแผนและรู้ว่าควรให้ความสำคัญหรือคุณค่ากับสิ่งที่ทำแค่ไหน

 

นึกถึงความต้องการของตัวเองให้ชัดเจน

หาว่าเราต้องการอะไรในชีวิต มีเป้าหมายหรือความสำเร็จอะไรที่อยากไปให้ถึง ก่อนที่จะวางแผนในส่วนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานที่จะทำ หรือสิ่งที่จะทำ ทุกอย่างนี้ก็เพื่อที่จะให้เข้าใจตัวเองและทำสิ่งต่าง ๆ ออกมาอย่างมีแรงผลักดันมากยิ่งขึ้น

 

ตระหนักถึงจุดเด่นหรือพลังของตัวเอง

รู้ตัวเองว่าเรามีอะไรดี และใช้มันให้ถูกวิธี หากเราค่อย ๆ หาตัวเองไปเรื่อย ๆ ลองผิดลองถูกจนเจอสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุด นั่นแหละคือความเป็นตัวของเรา คือจุดที่เราทำได้ดี

 

เก็บอารมณ์ให้เป็น

อย่าปล่อยความไม่พอใจ หรือความหงุดหงิดใจออกมาจนหมด ให้ทำทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลมากกว่าอารมณ์ หลายครั้งที่อารมณ์จะทำให้เราลืมโฟกัสของตัวเอง และหาตัวเองเจอได้ช้าขึ้น

 

ทำตัวเองให้ใจกว้าง

เปิดใจรับสิ่งต่าง ๆ ให้มาก ทำอะไรหลาย ๆ อย่างเพื่อตามหาตัวเอง เราไม่มีทางรู้ว่าเราชอบอะไรมากที่สุด หากเราไม่ยอมลองทำอะไรหลาย ๆ อย่างให้ได้มากที่สุด

 

ให้ความสำคัญกับมิตรภาพหรือสังคม

การที่ได้เข้าสังคม หรือคุยกับเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนความสนใจหรือตามหาว่าเราคุยเรื่องไหนแล้วสนุก ก็เป็นอีกอย่างที่จะทำให้เจอตัวเองได้ง่ายขึ้น ถ้าเราไม่ได้ลองเปิดใจฟังหรือรับความรู้ใหม่ ๆ ก็อาจจะไม่รู้ว่ามีสิ่งที่เราชอบอยู่มากมายก็เป็นได้

 

 

การหาตัวเองไม่ใช่เรื่องยาก ให้เปิดใจให้มาก และให้เวลากับตัวเอง

 

อ้างอิง : https://www.psychalive.org/finding-yourself/

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

มีอะไรต้องทำมากมาย จัดตารางชีวิตไม่ทัน ทำอย่างไรดี?

ใครเป็นสาย Active ฟังทางนี้ ! จะทำอย่างไรดีเมื่อเรามีอะไรต้องทำเยอะไปหมด จนเริ่มจัดการกับตัวเองไม่ได้ วันนี้เรามาลองดูกันว่าปัญหานี้แก้ได้อย่างไร และบอกเลยว่าง่ายกว่าที่คิดอย่างแน่นอน

“เมอร์เซอร์” เผยรายงานเทรนด์ตลาดพนักงานที่มีศักยภาพสูงทั่วโลกในปี 2566 พบว่านายจ้างในประเทศไทยเดินหน้าเรื่องแผนงานการสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน แต่ยังขาดการดูแลสวัสดิภาพและทักษะของพนักงาน

ผู้บริหารสายงานทรัพยากรบุคคลในประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของพนักงานแบบองค์รวม ซึ่งรวมถึงการดูแลด้านสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของพนักงาน นอกเหนือจากการบ่งชี้ปัญหาช่องว่างทางทักษะของพนักงานแล้ว บริษัทควรมีแผนงานในการเสริมสร้างทักษะความสามารถที่เหมาะสมให้กับพนักงาน วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566 (ประเทศไทย) — 6 ใน 10 ของผู้บริหารในภาพรวมคาดการณ์ว่า แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจทั่วโลกจะยังไม่สดใสมากนัก แต่องค์กรของตนเองจะสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงหรือมีการเติบโตที่ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ดีหากคำนึงถึงแผนธุรกิจสำหรับในปีนี้ ผู้บริหารส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียยังคงมีความกังวลในเรื่องต้นทุนของการลงทุนและหนี้สินของบริษัท และภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัว อันมีผลต่อการแข่งขันเพื่อดึงดูดพนักงานที่มีทักษะและความสามารถโดดเด่น และจากรายงานแนวโน้มตลาดแรงงานที่มีทักษะศักยภาพสูงทั่วโลกในปี 2566 ซึ่งจัดทำโดยเมอร์เซอร์ (Global

จะรับมืออย่างไร เมื่อสภาพจิตใจพังเพราะทำงานหนัก

การทำงานให้อะไรเราหลายอย่าง ทั้งความรู้ด้านการทำงาน เพื่อนร่วมงานที่ดี แต่นอกจากแง่บวกแล้วอย่างหนึ่งที่การทำงานให้เราได้เหมือนกันก็คือ “ความเหนื่อยล้า” บางคนรู้สึกเหนื่อยกับงาน กับสังคมที่ทำงานจนเข้าสู่โหมดใจพัง หรือ “Emotional Breakdown” มาดูกันว่าเราจะรับมือกับอาการนี้ได้อย่างไรบ้าง