เพราะรู้จัก TAPS Model ลูกทีมจึงต่อคิวมาขอคำปรึกษา

Consult ต่างกับการ Coach ยังไง? และ Mentoring เหมือนกับ Counseling ใช่หรือไม่?หัวหน้าหลายคนคิดว่าคำเหล่านี้เป็นคำที่คล้ายๆ กัน ใช้แทนกันได้ แต่ความจริงแล้วมีความแตกต่างกันในรายละเอียด จึงอาจนำมาสู่ความบาดหมางกันของหัวหน้า-ลูกน้องที่เข้าใจผิดกัน

 

  • ลูกน้องแค่อยากมาระบายให้ฟังเฉยๆ…แต่ถูกหัวหน้าชี้แนะสั่งสอนกลับ
  • ลูกน้องต้องการหาทางออก…แต่หัวหน้ากลับแค่รับฟัง
  • ลูกน้องถาม How…แต่หัวหน้าดันตอบ Why

 

หัวหน้าที่เข้าใจความต่างเรื่องนี้อย่างแท้จริงเท่านั้น จึงชนะใจ-อ่านใจ-ซื้อใจลูกทีมได้อยู่หมัด! 

 

ขอแนะนำให้รู้จักกับ “TAPS Model” ที่คนเป็นระดับหัวหน้างานจำเป็นต้องรู้ นี่คือเฟรมเวิร์คที่ถูกคิดค้นโดย Dr.David Rock หัวหน้าทีมวิจัยด้านการทำงานของสมองมนุษย์

 

TAPS Model อันดับแรก เราต้องมองเป็นภาพให้ออกก่อน โดยมีโครงสร้างหลักดังนี้

 

เส้นแนวนอน 

  • ฝั่งซ้าย คือ…ปัญหา (Problem) 
  • ฝั่งขวา คือ…ทางออก (Solution) 

 

เส้นแนวตั้ง 

  • ข้างบน คือ…ซักถาม (Ask) 
  • ข้างล่าง คือ…บอกเล่า (Tell)

 

เมื่อเรานำมาตัดไขว้ประกอบร่างกัน จะเกิดเป็นช่อง 4 ช่องที่ทำให้เกิด 4 คำนิยามที่แตกต่างกัน ได้แก่ Counseling-Coaching-Consulting-Training

 

ซ้ายบน คือ “Counseling – การให้คำปรึกษา” ประกอบด้วย

  • ประกอบด้วย ซักถาม (Ask) & ปัญหา (Problem) ค้นหาต้นตอของปัญหาผ่านชุดคำถามต่างๆ ที่ทำให้เข้าใจอะไรต่างๆ แบบกระจ่างชัดขึ้น เป็นเสมือนการมาบำบัดเยียวยาสภาพจิตใจด้วยเช่นกัน

 

ตัวอย่างอาชีพ เช่น Psychologist จิตแพทย์ที่จะนั่งพูดคุยแบบตัวต่อตัว คอยตั้งคำถามเพื่อให้เราค้นพบต้นตอของปัญหาที่ค้างคาในใจ



ซ้ายล่าง คือ  “Consulting – การเป็นที่ปรึกษา” ประกอบด้วย

  • ประกอบด้วย ซักถาม (Ask) & ปัญหา (Problem) มองเห็นปัญหา วิเคราะห์แจกแจงมันออกมา ทำบนพื้นฐานของข้อมูลตัวเลข เป็นกระบวนการขั้นตอนที่มีเป้าหมายคือแก้ปัญหานั้นให้จบ

 

ตัวอย่างอาชีพ เช่น Managing Consultant ที่ปรึกษาธุรกิจประจำองค์กรใหญ่ๆ อย่าง McKinsey ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาและข้อมูลอย่างละเอียด



ขวาบน คือ  “Coaching – การโค้ช” ประกอบด้วย

  • ประกอบด้วย ซักถาม (Ask) & ทางออก (Solution) มีกระบวนการตั้งคำถามแบบไม่ชี้นำ เชื่อในศักยภาพของผู้ได้รับการโค้ช จนทำให้เกิดการตระหนักรู้และค้นพบทางออกด้วยตัวเอง 

 

ตัวอย่างอาชีพ เช่น Executive Coach โค้ชส่วนตัวประจำตัว CEO ที่คอยตั้งคำถามถึงวิสัยทัศน์ธุรกิจและความต้องการลึกๆ ที่ซ่อนเร้นในใจ



ขวาล่าง คือ  “Training – ฝึกอบรม” ประกอบด้วย

  • ประกอบด้วย บอกเล่า (Tell) & ทางออก (Solution) เพียบพร้อมด้วยองค์ความรู้ในตัวเป็นทุนเดิม จึงต้องการบอกต่อ แชร์ถ่ายทอดเป็นวิทยาทานเพื่อให้เกิดการตกผลึกทางความคิดจนหาทางแก้ปัญหาเองได้ต่อไป 
  • ทั้งนี้ทั้งนั้น Training มักเป็นการฝึกอบรมแบบกลุ่ม แต่ถ้าเป็นการสอนตัวๆ มักใช้คำว่า Mentoring/Advising

 

ตัวอย่างอาชีพ เช่น เหล่า Mentor ผู้สอนคลาสพัฒนาตนเองต่างๆ ทำหน้าที่มาบอกต่อความรู้และประสบการณ์ที่มีเพื่อชี้แนะผู้เรียนให้นำไปต่อยอดเองได้

 

ในทางปฏิบัติ TAPS Model มีความ “ยืดหยุ่น” ในตัว หัวหน้าสามารถสวมหมวกหลายใบในแต่ละขั้นตอนได้

 

หัวหน้าที่เริ่มใช้กับลูกน้องอาจพบว่า ตอนแรกตัวเองต้องสวมหมวก Consulting วิเคราะห์ปัญหาธุรกิจที่ต้องใช้ข้อมูลรอบด้าน แต่ไปๆ มาๆ ลูกน้องเริ่มระบายความในใจออกมา ว่าจริงๆ แล้วไม่ได้อยากเติบโตขนาดนั้น แต่ทำไปเพราะแค่อยากได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานเท่านั้นเอง จนต้องเปลี่ยนไปสวมหมวก Coaching ซักถามความต้องการอื่นๆ ที่แท้จริงในใจ

 

เราจะเห็นว่า TAPS Model มีประโยชน์มากๆ มันช่วยจัดระเบียบความคิด ค้นหาความต้องการที่แท้จริงของลูกน้อง กำหนดได้ถูกจุดว่าตัวเองควรอยู่ช่องไหนหรือควรหาใครในช่องอื่นมาช่วยเหลือ ซึ่งถ้าประยุกต์ใช้อย่างรอบตอบ ก็ช่วยพัฒนาตัวเราให้เป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อปั้นทีมและองค์กรให้โตไปด้วยกัน

 

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ดูยังไงว่าคนสัมภาษณ์งานกำลังพูดไม่จริง

ผลวิจัยเผยว่า คนเรา “โกหก” ซึ่งๆ หน้าเวลาสัมภาษณ์งานมากกว่าที่คิด เพื่อปกปิดเรื่องที่ไม่อยากให้รู้ หรือให้รู้แค่บางส่วนเท่าที่อยากให้รู้พอ หลายคนทำไปเพราะสถานการณ์บังคับ คือพื้นฐานเป็นคนดีมีจรรยาบรรณ แต่จังหวะสำคัญนี้ก็ต้องขอซักหน่อย เพราะใครๆ ก็อยากได้งาน

คนแบบไหนที่ไม่น่าอยู่ในอำนาจได้นาน 

การไต่เต้าขึ้นมาเป็นหัวหน้ามีอำนาจในมือ vs. การรักษาตำแหน่งหัวหน้าและอำนาจในมือ เป็น 2 สิ่งที่ดูเผินๆ เหมือนกัน แต่ถ้าดูลึกๆ จะพบว่าต่างกันสิ้นเชิง