หัวหน้ารู้ได้อย่างไรว่า ลูกน้องคนไหนถือว่าเก่ง

“น้องในทีมคนนี้มีของ” คือคำที่หัวหน้าแบบเราๆ น่าจะเคยสัมผัสมาบ้าง แต่บางทีเรื่องนี้ก็ใช้ความรู้สึกประเมิน ดูเป็นนามธรรมจับต้องไม่ค่อยได้

ถ้าต้องการกฎเกณฑ์แบบมืออาชีพในการวัดศักยภาพลูกทีม หัวหน้าควรใช้เกณฑ์หรือมีหลักคิดยังไงบ้างในการวัด?

 

ทัศนคติมาก่อนใคร

 

ทุกอย่างเริ่มที่ทัศนคติในหัว หัวหน้าวัดได้จากการเรียกมาพูดคุยสอบถามอยู่บ่อยๆ และสังเกตการตอบสนอง (Reaction) ต่อปัญหาการทำงานที่เกิดขึ้น เช่น

 

  • ลูกน้อง A เอาแต่บ่น รู้สึกเบื่อหน่ายที่ต้องคอยตามแก้ปัญหา 
  • ลูกน้อง B มองว่าปัญหาทำให้เราเติบโต ได้เรียนรู้ และคิดว่าบริษัทจ้างเรามาแก้ปัญหา

 

แม้สุดท้ายผลลัพธ์การแก้ปัญหาจะเหมือนกัน แต่ลูกน้อง B ดูมีทัศนคติที่ไปต่อได้อีกไกลเลย

 

ผลงานเป็นที่ประจักษ์

 

ต่อมาคือวัดกันที่ผลงานตรงๆ ศักยภาพดีต้องมาจากพื้นฐานผลงานที่ดีก่อน

 

โดย Performance = Result + Efficiency บางคนผลลัพธ์ดีอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องดูด้วยว่ามีประสิทธิภาพ คุ้มเวลา คุ้มค่าเหนื่อย คุ้มต้นทุนหรือไม่ หรือ เวลา assign งานไปให้ ส่งงานเร็วกว่า ตรงโจทย์กว่า หรือใช้ทรัพยากรน้อยกว่า

 

เต็มใจเติบโตแค่ไหน

 

แม้จะมีศักยภาพไปต่อได้อีกไกล แต่ต้องยอมรับความจริงว่า Talent เก่งๆ บางคน ไม่ได้อยากไต่เต้า Career path ในองค์กรไปจนถึงยอดสูงสุด เพราะมันมาพร้อมความรับผิดชอบมหาศาล ความกดดัน ความคาดหวังจากหลายฝ่าย 

 

หัวหน้าจึงต้องมองให้ออกเพื่อจะได้โปรโมต Talent ได้ถูกคน ทุ่มทรัพยากรไปเสิร์ฟให้ได้ถูกคน เพราะเราไปบังคับจิตใจหรือเปลี่ยนความต้องการใครไม่ได้

 

ประเด็นนี้หัวหน้าต้องแยกให้ออกระหว่างความเต็มใจในการ Learn vs. Grow บางคนเต็มใจเรียนรู้พัฒนาตัวเองไม่สิ้นสุด แต่…ไม่เต็มใจเติบโตในองค์กรต่อไป หัวหน้าต้องหาคำตอบต่อไป เช่น เพราะเค้าอาจแค่เอนจอยกับตำแหน่งงานที่ทำอยู่มากๆ หรือเพราะ โครงสร้างองค์กรไม่มีช่องว่างให้เค้าไต่เต้าไปได้มากกว่านี้รึเปล่า

 

คนที่มี Soft Skills

 

เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่ง การทำงานไม่ได้วัดกันที่ Hard skills อีกต่อไป แต่จะโฟกัสไปที่ Soft skills มากขึ้น เช่น 

  • Empathy – มีความเป็นคน เข้าอกเข้าใจอีกฝ่ายแค่ไหน 
  • Communication – คุยรู้เรื่อง มีศาสตร์และศิลป์ในการเจรจาแค่ไหน 
  • Decision making – กล้าตัดสินใจท่ามกลางข้อมูลที่จำกัดแค่ไหน 
  • Leadership – มีภาวะความเป็นผู้นำแค่ไหน กล้ารับผิดแทนคนอื่นไหม พร้อมให้เครดิตกับคนอื่นไหม EQ สูง คิดรอบคอบ คำนึงถึงข้อดีข้อเสีย มีวุฒิภาวะ จิตใจมั่นคง

 

ใช้ใจวัด

 

สุดท้ายกลับมาที่ Sense ของเราเอง อย่ามองข้ามสัญชาตญาณในตัวเอง บางคนเป็น First impression ที่น่าจับตา ศักยภาพฉายแสงมาแต่ไกล บางคนคุยด้วยแล้ว Chemistry เคมีตรงกันเว่อร์ ถูกชะตา 

 

ทั้งนี้ทั้งนั้น หัวหน้าต้องระวังอคติความลำเอียงในตัวเอง หรือกับดักจิตวิทยาต่างๆ ในการวัดศักยภาพลูกน้องด้วย 

 

เช่น ต้องระวังความสนิทสนมที่มากเกินไป การทำงานค่อยรักษาระยะห่างในบางเรื่องกันบ้าง หรือ อาจเกิดจาก Beauty privilege คนหน้าตาดีทำอะไรก็ดูดี ผลงานของพนักงานหน้าตาดีอาจแค่มาตรฐานปกติ แต่ความหน้าตาดีมีมนตร์เสน่ห์บางอย่างที่ส่งเสริมทำให้ผลงานดูโดดเด่นเกินจริงกว่าคนอื่น

 

สุดท้าย หัวหน้าต้องบาลานซ์ให้ดี การอ่านคนให้ออก มองเห็นทะลุถึงศักยภาพ มีความเป็นศาสตร์และศิลป์ไม่น้อย และบ่งบอกถึง “ศักยภาพในตัวหัวหน้า” เองด้วยเช่นกัน!

 

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ดูยังไงว่าคนสัมภาษณ์งานกำลังพูดไม่จริง

ผลวิจัยเผยว่า คนเรา “โกหก” ซึ่งๆ หน้าเวลาสัมภาษณ์งานมากกว่าที่คิด เพื่อปกปิดเรื่องที่ไม่อยากให้รู้ หรือให้รู้แค่บางส่วนเท่าที่อยากให้รู้พอ หลายคนทำไปเพราะสถานการณ์บังคับ คือพื้นฐานเป็นคนดีมีจรรยาบรรณ แต่จังหวะสำคัญนี้ก็ต้องขอซักหน่อย เพราะใครๆ ก็อยากได้งาน

คนแบบไหนที่ไม่น่าอยู่ในอำนาจได้นาน 

การไต่เต้าขึ้นมาเป็นหัวหน้ามีอำนาจในมือ vs. การรักษาตำแหน่งหัวหน้าและอำนาจในมือ เป็น 2 สิ่งที่ดูเผินๆ เหมือนกัน แต่ถ้าดูลึกๆ จะพบว่าต่างกันสิ้นเชิง