หัวหน้าที่เป็นงาน ต้อง “เล่นละคร” หลายบทบาทให้เป็น

ในเมื่อมาร์เก็ตติ้งยังมีการทำ Personalization เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจงเลย แล้วทำไมหัวหน้าจะตอบโจทย์ลูกน้องในทีมตัวเองแต่ละคนไม้ได้?

อย่างไรก็ตาม ถ้าจะ Personalization เอาอกเอาใจให้ถูกจริตได้ทุกคนก็คงจะไม่ไหว จึงมีการจัดกลุ่มประเภทหมวกหลายใบให้กับหัวหน้า เพื่อให้เล่นละครได้สมบทบาทกับลูกน้องแต่ละกลุ่มได้เหมาะสม


นักดับเพลิง (Firefighter)

 

เมื่อเกิดปัญหาใหญ่ขึ้น สมาชิกทีมคนอื่นวิ่งหนี แต่หัวหน้าวิ่งเข้าใส่! เป็นฮีโร่ให้ทีม เป็นเกราะกำบังให้คนอื่น เป็นคนปลุกกำลังใจและกระตุ้นให้มีสติท่ามกลางความแตกตื่น

 

นี่ไม่ใช่หัวหน้าบ้าระห่ำ แต่เป็นหัวหน้าที่มีวิสัยทัศน์ต่างหาก…อ่าว ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? เพราะเป็นการวิ่งเข้าใส่ปัญหาที่มีแผนรองรับอยู่แล้ว กล่าวคือ หัวหน้ามี contingency plan ในหัวอยู่แล้วเมื่ออะไรๆ ไม่เป็นไปตามแผน เมื่อเกิดปัญหาจึงไม่แตกตื่น 

 

หัวหน้าแบบนี้รู้อยู่แล้วว่าปัญหายังไงๆ ก็ต้องเกิดขึ้นแน่ไม่มากก็น้อย จึงไม่ได้มีทัศนคติต่อปัญหาที่เป็นลบ แต่มองว่าเป็นเรื่องปกติที่ต้องเจออยู่แล้ว โดยเฉพาะกับทีมที่สร้างสรรค์งานอะไรใหม่ๆ อยู่ตลอด


วาทยกร (Conductor)

 

ควบคุมจังหวะของวงทั้งหมด มีบทบาทในการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงท่วงทำนองดังใจอยาก เป็นหัวหน้าที่เป็นนักบุกเบิก ผู้คิดค้น เป็นผู้นำอย่างแท้จริง  นอกจากเก่งคนแล้วยังเก่งงานด้วย เป็นคนที่สามารถ lead by examples ได้อย่างดีเยี่ยม

 

สกิลสำคัญคือการ มองคนให้ออก-อ่านเกมให้ขาด เพราะหัวหน้าวาทยกรทำงานเป็นทีม ต้อง assign & delegate งานให้ลูกน้องในทีมอย่างเหมาะสม เป็นงานที่ใช่ คนที่ใช่ ในจังหวะเวลาที่ใช่! เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว หัวหน้าวาทยกรจะพร้อมเดินนำลุยพาทุกคนสู่เป้าหมายเอง


จิตแพทย์ (Psychologist)

 

หัวหน้าที่รับฟังปัญหาและความต้องการของลูกน้อง เป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นบุคคลที่เข้าหาแล้วสบายใจ เป็นหัวหน้าที่มี soft skills รอบด้าน เป็นคนที่มองคนเป็นคน ไม่ใช่มดงาน คอยรับฟังและประสานรอยบาทแผลในจิตใจ เป็นหัวหน้าประเภทที่…แม้ลูกน้องจะเก่งงานแซงหน้าไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังยินดีอยากเข้ามาขอคำปรึกษาต่างๆ

 

สกิลที่สำคัญคือ coaching & mentoring เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ด่วนตัดสินใจ พร้อมให้คำแนะนำที่ไปปรับใช้จริงได้ นอกจากนี้ สกิล empathy ยังสูงลิบจนใครๆ อยากเข้าหาด้วยความสบายใจ


เชียร์ลีดเดอร์ (Cheerleader)

 

หัวหน้าที่ทำให้การมาทำงานของลูกน้องเป็นไปด้วยความสนุกตื่นเต้น มีความท้าทาย มีรสชาติของการแข่งขัน รู้สึกถึงความเป็นทีม รู้สึกถึงความเป็นพวกเดียวกันที่มีเป้าหมายใหญ่ข้างหน้าที่ต้องทำร่วมกันเท่านั้นถึงจะสำเร็จ

 

สกิลที่ต้องมีคือ positivity & motivation มองเห็นโอกาสในปัญหา พร้อมกระตุ้นและให้กำลังใจลูกทีมได้ ซึ่งช่วยให้ลูกน้อง active กระตือรือร้นกับการทำงาน ซึ่งนำไปสู่การคิดค้นไอเดียใหม่ๆ


โค้ชฟุตบอล (Football Coach)

 

หัวหน้าที่เป็นเลิศด้านการวางแผน จัดเรียงลำดับความสำคัญ มองเห็นศักยภาพซ่อนเร้นของคนในทีม เป็นคนที่ตั้งเป้าหมายและซอยย่อยออกมาเป็น actionable plans ที่ลูกน้องเห็นแล้วรู้เลยว่าต้องทำยังไงต่อ

 

จะดีมากขึ้นไปอีก ถ้าหัวหน้ามี guidance ที่เป็นรูปธรรม เช่น เวลาพรีเซนท์งานลูกค้า จะไม่แนะนำเด็กจบใหม่ในทีมแค่ว่าให้ทำ data visualization ย่อยข้อมูลเป็นรูปภาพที่เข้าใจง่าย แต่จะแนะนำลงลึกไปเลยว่า 

  • ใช้ bar chart สำหรับเปรียบเทียบข้อมูลในแต่ละชุด
  • ใช้ pie chart เมื่อต้องการเห็นรายละเอียดสัดส่วน
  • และใช้ heatmap เพื่อเช็คว่าคนเข้าเว็บไซต์คลิกที่ปุ่มบริเวณไหนบ้าง

 

เราจะเห็นว่า ใน 5 บทละครนี้ สิ่งที่หัวหน้าต้องมีเหมือนกันคือ Empathy & Communication ต้องเปิดใจ เห็นใจ เข้าอกเข้าใจกันจริงๆ ถึงจะร่วมงานกันได้ดี พร้อมทักษะการสื่อสารในการสร้างแรงจูงใจ กำหนดเป้าหมายร่วมกัน หรืออธิบายวิธีแก้ปัญหา

 

ถ้าหัวหน้า 1 คน สามารถเล่นละครได้ครบทั้ง 5 บทบาทนี้ได้ ก็น่าจะนำทีมให้โตระเบิด และทุกคนทำงานอย่างมีความสุขขึ้น

 

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ดูยังไงว่าคนสัมภาษณ์งานกำลังพูดไม่จริง

ผลวิจัยเผยว่า คนเรา “โกหก” ซึ่งๆ หน้าเวลาสัมภาษณ์งานมากกว่าที่คิด เพื่อปกปิดเรื่องที่ไม่อยากให้รู้ หรือให้รู้แค่บางส่วนเท่าที่อยากให้รู้พอ หลายคนทำไปเพราะสถานการณ์บังคับ คือพื้นฐานเป็นคนดีมีจรรยาบรรณ แต่จังหวะสำคัญนี้ก็ต้องขอซักหน่อย เพราะใครๆ ก็อยากได้งาน

คนแบบไหนที่ไม่น่าอยู่ในอำนาจได้นาน 

การไต่เต้าขึ้นมาเป็นหัวหน้ามีอำนาจในมือ vs. การรักษาตำแหน่งหัวหน้าและอำนาจในมือ เป็น 2 สิ่งที่ดูเผินๆ เหมือนกัน แต่ถ้าดูลึกๆ จะพบว่าต่างกันสิ้นเชิง