สำรวจ 5 ประเภท ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในที่ทำงาน

ในวันที่ทุกคนต้องเจอกับคนมากมายในที่ทำงาน ทำงานร่วมกับคนหลายแบบ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะพบเจอกับปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกับที่ทำงาน หรือกับคนในทีม เพราะฉะนั้นจงเรียนรู้ว่าปัญหานั้นน่าจะมีอะไรบ้าง และหาวิธีแก้ไขกันไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

เป็นปกติของทุก ๆ ที่ที่จะต้องพบเจอกับปัญหา ไม่ว่ามากหรือน้อยก็ตาม ในที่ทำงานก็เช่นกัน ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ได้ เพียงแต่อย่าเอาตัวเองเข้าไปในปัญหาก็เพียงพอแล้ว

อย่างไรก็ตามก็มีหลากหลายที่ที่มีสังคมที่ดี และมีปัญหาเกิดขึ้นน้อย แต่ในกรณีที่แต่ละคนมาจากต่างที่ เรียนคณะที่ต่างกันมา มีความคิดความอ่าน และบุคลิกที่แตกต่างกัน เมื่อมาอยู่ด้วยกัน บางทีก็ย่อมมีอะไรที่คิดไม่เหมือนกันและเกิดปัญหาได้อยู่แล้ว ซึ่งถ้าหากเราสามารถเรียนรู้คร่าว ๆ และพอมองออกว่าปัญหาไหนสามารถเกิดขึ้นได้บ้าง เราจะได้เตรียมตั้งรับได้ทัน

วันนี้ CareerVisa จึงจะมาเปิด 5 ประเภทของปัญหา ที่สามารถเกิดขึ้นในที่ทำงานของคุณได้ มาลองดูกันว่ามีปัญหาแบบไหนบ้าง และเราจะป้องกันได้อย่างไร

[สำรวจ 5 ประเภท ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในที่ทำงาน] 

  1. ความขัดแย้งเมื่อต้องทำงานร่วมกัน : เมื่อมีงานที่เราต้องพึ่งพาอาศัยกัน ทำงานร่วมกันและใช้ความสามัคคีสูง หลายครั้งก็มักจะเกิดปัญหาความขัดแย้งมา อย่างเช่น บางคนไม่ได้ช่วยงานอย่างเต็มที่ หรือทำงานเสร็จไม่ตามวันที่กำหนดไว้ ทำให้กระทบงานส่วนอื่นของเพื่อนร่วมทีมคนอื่น เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกที่ทำงานที่มีการทำงานแบบทีม 

วิธีการแก้ไข : เราสามารถช่วยกันเตือนกันเองเรื่องของเดดไลน์งานได้ อย่างเช่น หากเราต้องทำงานต่อจากเพื่อนร่วมงานอีกคน เมื่อใกล้ถึงเดดไลน์งานที่เราต้องรับงานมาทำต่อ เราก็สามารถทักเพื่อสอบถามสถานะของงานเพื่อที่จะได้ไม่ทำให้งานส่วนของตัวเองได้รับปัญหาตามไปด้วยได้

 

  1. ปัญหากับหัวหน้างาน : หัวหน้างานแต่ละคนมีสไตล์การทำงานที่แตกต่างกัน รวมไปจนถึงวิธีการสื่อสารและวางตัว ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถอยู่ร่วมกับหัวหน้าทุกสไตล์ได้ บางทีถ้าหากเราเจอหัวหน้าที่ทำงานไม่ตรงกับสิ่งที่เราคาดหวังไว้ ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหา ระหว่างเราและหัวหน้า จนกระทบกับการทำงาน ทำให้ผลงานออกมาไม่ได้ดีเท่าที่ควร

วิธีการแก้ไข : หัวหน้างานสามารถนัดคุยกับลูกทีมแต่ละคนเพื่อขอ feedback จากการทำงาน ทั้งในเรื่องของการทำงานและสไตล์การทำงานของหัวหน้า เพื่อที่จะได้คิดหาวิธีการปรับตัวและแก้ไขร่วมกันให้ดีกว่าเดิม

 

  1. วิธีการทำงานไม่ตรงกัน : เพราะแต่ละคนมีการเรียนรู้งานและสไตล์การทำงานแตกต่างกัน บางคนชอบทำงานคนเดียว บางคนชอบทำงานเป็นทีม บางคนอาจจะชอบทำงานที่บ้าน หรือบางคนชอบทำงานที่ออฟฟิศ ด้วยสไตล์การทำงานที่อาจจะแตกต่างกัน เลยอาจจะทำให้คนทำงานหลายคนทำงานด้วยกันและเกิดปัญหาขึ้นได้ 

วิธีการแก้ไข : หากต้องทำงานร่วมกัน ให้ลองนั่งแชร์เป้าหมายซึ่งกันและกันว่า เรามีเป้าหมายงานอย่างไร มีวิธีการทำงานแบบไหน และจะหาตรงกลางหรือปรับเข้าหากันได้ด้วยวิธีไหนบ้าง เพราะให้งานออกมาบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ร่วมกัน

 

  1. ขัดแย้งเรื่องบุคลิกส่วนตัว : เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในทีม บางคนมีบุคลิกที่แตกต่างจากคนอื่น บางคนเงียบ บางคนเสียงดัง สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เกิดปัญหาได้ทั้งนั้น สิ่งสำคัญคือการรักษาความเป็นมืออาชีพ และวางตัวให้เหมาะสมกับการทำงาน

วิธีการแก้ไข : ถ้าหากเรื่องความขัดแย้งเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หลายครั้งก็ควรจะมองข้ามไปและทำความเข้าใจว่ามันเป็นบุคลิกส่วนบุคคลที่อาจจะไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ถ้าหากบุคลิกเหล่านั้นกระทบกับการทำงานและทำให้เกิดปัญหา ก็ควรพูดคุยกันตรง ๆ เพื่อปรับแก้ไขกันตั้งแต่เนิ่น ๆ

 

  1. ความขัดแย้งจากประสบการณ์ที่เคยผ่านมา : ประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา สร้างค่านิยมและความเชื่อในการทำงานที่แตกต่างกัน บางคนยึดติดกับประสบการณ์จนทำให้ไม่สามารถปรับตัวกับการทำงานที่ใหม่ได้ ก็อาจจะทำให้มีปัญหากับการทำงานร่วมกับคนอื่นได้เช่นกัน

วิธีการแก้ไข : ถ้าหากเราเป็นหัวหน้า แล้วเจอว่าลูกน้องมีประสบการณ์การทำงานมาไม่เหมือนกัน ให้ลองแลกเปลี่ยนพูดคุยประสบการณ์และละคน และปรับวิธีการทำงานหรือหาตรงกลางให้การทำงานออกมาราบรื่นมากยิ่งขึ้น

 

 

ปัญหาการทำงานไม่ใช่ทุกสิ่งที่จะทำให้การทำงานร่วมกันนั้นออกมาย่ำแย่ มันยังสามารถแก้ไขได้ หากทุกคนมี mindset ที่อยากพัฒนาตัวเองและทำงานร่วมกันให้ออกมาดีที่สุด

 

 

อ้างอิง : https://au.indeed.com/career-advice/career-development/examples-of-conflict-in-the-workplace

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

มีอะไรต้องทำมากมาย จัดตารางชีวิตไม่ทัน ทำอย่างไรดี?

ใครเป็นสาย Active ฟังทางนี้ ! จะทำอย่างไรดีเมื่อเรามีอะไรต้องทำเยอะไปหมด จนเริ่มจัดการกับตัวเองไม่ได้ วันนี้เรามาลองดูกันว่าปัญหานี้แก้ได้อย่างไร และบอกเลยว่าง่ายกว่าที่คิดอย่างแน่นอน

“เมอร์เซอร์” เผยรายงานเทรนด์ตลาดพนักงานที่มีศักยภาพสูงทั่วโลกในปี 2566 พบว่านายจ้างในประเทศไทยเดินหน้าเรื่องแผนงานการสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน แต่ยังขาดการดูแลสวัสดิภาพและทักษะของพนักงาน

ผู้บริหารสายงานทรัพยากรบุคคลในประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของพนักงานแบบองค์รวม ซึ่งรวมถึงการดูแลด้านสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของพนักงาน นอกเหนือจากการบ่งชี้ปัญหาช่องว่างทางทักษะของพนักงานแล้ว บริษัทควรมีแผนงานในการเสริมสร้างทักษะความสามารถที่เหมาะสมให้กับพนักงาน วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566 (ประเทศไทย) — 6 ใน 10 ของผู้บริหารในภาพรวมคาดการณ์ว่า แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจทั่วโลกจะยังไม่สดใสมากนัก แต่องค์กรของตนเองจะสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงหรือมีการเติบโตที่ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ดีหากคำนึงถึงแผนธุรกิจสำหรับในปีนี้ ผู้บริหารส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียยังคงมีความกังวลในเรื่องต้นทุนของการลงทุนและหนี้สินของบริษัท และภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัว อันมีผลต่อการแข่งขันเพื่อดึงดูดพนักงานที่มีทักษะและความสามารถโดดเด่น และจากรายงานแนวโน้มตลาดแรงงานที่มีทักษะศักยภาพสูงทั่วโลกในปี 2566 ซึ่งจัดทำโดยเมอร์เซอร์ (Global

โตขนาดนี้แล้ว ยังหาตัวเองไม่เจอ ไม่ต้องกังวล!

หลายคนอาจจะกำลังสับสนในชีวิตตัวเองว่า จริง ๆ แล้วเราชอบอะไรกันแน่ หรืออะไรที่เหมาะสมกับเราที่เราทำได้ดี ไม่ต้องกังวลไป ไม่ใช่ทุกคนที่จะตามหาตัวเองเจอได้ไวแบบใจคิด เพียงแต่ว่าถ้าหากเราอยากได้ตัวช่วย ลองทำตามสเต็ปเหล่านี้ดู