ตอบคำถามนี้ให้ได้ถ้าคุณอยากประกอบอาชีพ ผ่านมุมมอง ผู้ประกอบการ “ปัญหาอะไรที่คุณคิดว่าคุ้มที่จะลงมือแก้”
กับวิกฤติโควิดปัจจุบันที่ทำให้เราต้องหันกลับมางานที่ทำอยู่ แล้ววางแผนอนาคตกันใหม่ หลายๆ industry อาจถึงทางตันต้องมีการปรับตัว และทำให้คนทำงานเองก็ต้องหันกลับมาดูแล้วถามตัวเองว่า เราจะเติบโตในหน้าที่การงานต่อไปอย่างไร
เครื่องมือที่จะช่วยทำให้เราพลิกวิกฤตในตลาดวันนี้ให้เป็นโอกาสได้ ที่อยากแนะนำวันนี้คือ Business Model You ค่ะ
Business Model U คือโมเดลพลิกแนวคิด ให้คุณเห็นโมเดลใหม่ๆของอาชีพ

ถ้าคนที่อยู่ในสายธุรกิจอาจจะคุณเคยกับการใช้ Business Model Canvas ในการวางแผนธุรกิจ ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็น Canvas ก็มีหน้าที่ไว้ทดลองทดสอบโมเดลธุรกิจในหลายๆรูปแบบ Business Model You ได้ใช้แนวคิดแบบการทดลองทดสอบแผนของผู้ประกอบการมาปรับใช้ในการบริหารการเติบโตในสายงานของเรา โดยองค์ประกอบต่างๆของ Business Model Canvas ก็ปรับมาให้เกิดข้อคิดในแนวทางที่เอาไปปรับใช้ได้หมดเลยค่ะ
ใครอยากลองทำดูไปพร้อมๆกันสามารถเข้าไป ดาวน์โหลด ได้ที่นี่ค่ะ
เรามีทรัพยากรอะไรที่จะไปใช้ ‘ประกอบ’ อาชีพบ้าง
โดยตามหลักการของหนังสือ Business Model You ได้บอกให้เราเริ่มจากทรัพยากรที่เรามีก่อนค่ะ ในฐานะของคนที่กำลังจะเริ่มงาน หรือโดยเฉพาะคนที่ทำงานอยู่แล้ว สิ่งที่เรามีติดตัวมาเราสามารถมาใส่ใน 2 ช่องนี้ได้ค่ะ
- Who you are / What you have? (Key Resource) – คุณมีอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ ความสามารถ connection ใบประกาศ สิทธิบัตร หรือธุรกิจใดๆ แม้แต่ทรัพย์สิน ที่ดิน รถยนต์ก็ถือเป็นสิ่งที่เราถือครองทั้งหมด ขอให้เรา scan ทั่วๆ นึกให้ครบให้หมด เพราะเหล่านี้เป็นขุมทรัพย์จุดเริ่มของเรา หรือแม้แต่ความเป็นตัวตนของเรา Personality ของเราก็เป็นคำถามที่น่าจะทำให้เราเห็นตัวเองชัดขึ้นค่ะ เราเป็นคนอย่างไร แล้วความเป็นเรามันนำอะไรต่อมาบ้าง เช่น ด้วยความที่เป็นคน friendly และขี้สงสัย ทำให้เรามีเพื่อนเป็นคนสายงานที่ต่างกันเยอะ
- What you do (Key Activities) – คุณทำอะไรอยู่บ้าง มีทักษะอะไรที่คุณได้สะสมมาจากการเรียน หรือการทำงาน หรืออาจจะเป็นทักษะที่ได้จากการทำงานอดิเรกก็ได้ค่ะ
หัวใจคือการค้นพบปัญหาที่คุ้มที่จะลงมือทำ – Problem worth solving
จะวัดกันว่างานที่เราทำมีอนาคตหรือไม่ต้องดูตรงนี้เลยค่า คุณค่าที่เราสร้างคืออะไร แล้วเราสร้างคุณค่าให้ใคร ในมุมของผู้ประกอบการการ “สร้างคุณค่า” คือ “การตอบโจทย์ ปัญหา (Pain) หรือ ความต้องการ (Gain)” เพราะฉะนั้น หัวใจของ Business Model You นี้คือฝึกให้เราบอกโอกาสการประกอบอาชีพผ่าน เลนส์ของผู้ประกอบการที่ต้องการแก้ไขปัญหาให้กลุ่มลูกค้าค่ะ
- How you help – Benefits you offer ? คุณค่าที่เรามุ่งจะสร้างคืออะไร โดยก่อนหาคุณค่าอยากให้ทุกคนเริ่มคิดทบทวนว่ามีปัญหาอะไรในชีวิตคนทั่วไป ชีวิตเรา สังคม ธุรกิจ ลูกค้าที่เราคิดว่าคุ้มพอกับเวลา แรงกาย แรงใจ ของเราที่เราจะลงมือลงไปแก้ แล้วถ้าแก้แล้วประโยชน์อะไรที่เขาได้รับจากงานนั้นๆจริงๆ
- Who you help – สำหรับคนที่ทำงานแล้ว ขอให้คุณเริ่มมองรอบตัว ระบุตัวคนเลยเป็นชื่อเลยได้ยิ่งดี คนคนนั้นเค้าทำหน้าที่อะไรในองค์กร คุณช่วยเหลืองานของเขาอย่างไร ถ้าไม่มีงานที่คุณทำเขาจะทำงานต่ออย่างไร ต่อไปก็ถึง level เจ้านายของเรา ไล่ไปเรื่อยๆจนระดับองค์กร แล้วลองมองออกมาข้างนอกองค์กรค่ะว่าเราช่วยคนข้างนอก ชุมชน สังคม คนกลุ่มไหน ลูกค้าของเราคือใคร การที่เราทำงานอยู่ทุกวันนี้มันช่วยอะไรให้ลูกค้าของเราได้บ้าง สำหรับคนที่เพิ่งจบใหม่หรือใครที่อยากเปลี่ยนงาน อันนี้อยากให้ถามใจตัวเองว่าเราอยากที่จะให้ความช่วยเหลือกับใคร ปัญหาที่เราอยากจะแก้เป็นปัญหาของใคร
สำหรับ section ระหว่าง customer กับ value หรือว่า How you help กับ Who you help ตรงนี้สามารถผลัดกันคิดสลับไปมาได้ค่ะ การมองให้ครบทั้งสองด้านจะทำให้ปัญหาที่เราอยากแก้ชัดเจน และคุณค่าที่เราจะสร้างขึ้นมาก็จะชัดขึ้นด้วย
ถ้าเราตอบคำถามต่อไปนี้ได้แล้ว ที่เหลือก็สามารถจะลุยต่อได้ง่ายๆค่ะ
คนทำงานยุคนี้จะชนะ AI ต้องมีแนวคิดแบบผู้ประกอบการ
พอเริ่มคิด 4 ช่องนี้แล้ว ก็ถึงขั้นการประกอบแบบคร่าวๆก่อน ขอให้เราเริ่ม scope ว่าทรัพยากรที่เรามี อันไหนที่ตอบโจทย์ Value กับ Customer ที่เรากำหนดขึ้นมาบ้าง แล้วจากมุมนี้แหละค่ะ จะเป็นแกนกลางในการสร้างโมเดลอาชีพใหม่ๆ
Model อาชีพใหม่คืออะไร ตัวอย่าง Youtuber VS ดารา
ถ้าเรามาดูอาชีพที่เกิดใหม่กันใกล้ๆ อย่างอาชีพ Influencer ก็มีรากฐานจากการใช้คน หรือ presenter เพื่อทำการนำเสนอผลิตภัณฑ์ โดยทั้ง Influencer และดารา คือทำงานให้สื่อและนักการตลาด ในขาข้างหนึ่งพวกเขาก็ต้องผลิตผลงานที่ทำให้คนสนใจตาม ในยุคก่อนอาจจะเป็นผลงานละคร ปัจจุบันก็มี Youtuber ที่สร้างผลงาน content ใหม่มากมาย เพื่อให้ตอบโจทย์ของ value อีกด้านที่พวกเขาต้องมีผู้ติดตามที่สนใจพร้อมฟัง นอกจากนั้นการมองงานผ่าน Business Model You ยังเพิ่มโอกาสให้คุณ
- ปรับเปลี่ยนงานเดิมให้ได้รสชาติใหม่ น่าสนใจมากขึ้น หากคุณมองที่ทักษะ skillset หรือทรัพยากรที่คุณมี แล้วลองถามตัวเองว่า มีกลุ่มลูกค้าอื่นๆที่คุณสามารถ เติมเต็มความต้องการหรือแก้ปัญหาให้กับพวกเขาอีกมั้ย มุมมองนี้อาจจะเปิดโอกาสให้คุณย้ายประเภทธุรกิจ เช่นในฐานะ sales ของธุรกิจน้ำมันที่กำลังถดถอย คุณลองหาโอกาสในธุรกิจที่ต้องใช้ skill การขายแบบ B2B เหมือนกันเพื่อทำให้อาชีพของคุณได้เติบโตต่อ
- ถ้าคุณยังคงชอบที่จะแก้ไขปัญหานี้ และสร้างคุณค่าที่เป็นโจทย์เดิม เพียงแค่คุณต้องหาทรัพยากรมาเพิ่มให้ตอบโจทย์ลูกค้าของคุณก็เป็นไปได้ เช่น การที่เป็น graphic designer ที่ทำหน้าที่ออกแบบ packaging ในการสื่อสารทุกวันนี้อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ไปใช้ digital project อย่าง mobile application ทุกวัน เพราะฉะนั้น graphic designer ต้องผันตัวไปมอง UX design เพื่อให้ทำงานในสาย digital product ได้
กลับมามองอาชีพเดิมในโอกาสใหม่ สร้างความแตกต่างผ่านมุมอื่น
นอกจากนั้นยังมีคำถามอื่นๆที่คุณสามารถลองตอบเพื่อเปลี่ยนมุมมองการทำงาน และหาโอกาสใหม่ๆให้กับอาชีพของคุณกับ 5 ช่องที่เหลือ
- How they know you/ How you deliver เราเข้าถึงลูกค้าเราอย่างไร พวกเขาเข้าถึงคุณค่าที่เราสร้างได้อย่างไร
- How you interact เราสื่อสารสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือคนที่ได้รับคุณค่าอย่างไร
- Who helps you ใครเป็น partner ที่จะช่วยให้คุณส่งคุณค่านั้นถึงมือลูกค้าของคุณ ใครที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา แล้วคุณสามารถเอื้อประโยชน์ให้กันและกันพร้อมเติบโตไปด้วยกันได้
- What you get ช่องทางรายได้ของคุณมีช่องทางไหนบ้าง
- What you give แล้วสิ่งที่คุณต้องลงมือลงแรงไป ลงทุนไปเพื่อให้ประกอบอาชีพนี้ได้คืออะไรบ้าง
การมองอาชีพ และบริหารอนาคตผ่าน mindset ผู้ประกอบการเป็นเรื่องสำคัญในยุคนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็ว อาจจะตอบคำถามได้ยากว่าอาชีพที่จะเป็นอาชีพที่รุ่งตลอด หรือแม้แต่รุ่งในยุคนี้คืออะไร อะไรที่จะไปได้ไกลสุด แต่ถ้าคุณตอบโจทย์ของการสร้างคุณค่า แล้วรู้จักกลุ่มลูกค้าของคุณดี ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานประจำ จะเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือฟรีแลนซ์ เราเชื่อว่ายังไงคุณก็โตต่อได้เรื่อยๆค่ะ
ถ้าอยากอ่านมุมมองเรื่องการบริหารอาชีพแบบผู้ประกอบการต่อ ลองฟัง Podcast ที่เราสัมภาษณ์กับ Future Trend พร้อมกับสรุปบทได้ในนี้ค่ะ มองการเติบโตในสายอาชีพผ่าน Mindset แบบ Entrepreneur สรุปประเด็น Future Trend Podcast คลิกที่นี่