น่าสนใจไม่น้อยว่า แล้วองค์กรนี้มีวิธีบริหารหรือแนวทางการปั้นคนสายครีเอทีฟเหล่านี้ยังไง? ถึงได้สร้างงานโฆษณาและผลงานสร้างสรรค์นับไม่ถ้วนให้พวกเราได้ว้าวอยู่ตลอด!
DNA ที่ถ่ายทอดมาจาก David Ogilvy
อันดับแรก วัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจนและสตรองมักมาจากตัวผู้นำเอง และสำหรับ Ogilvy ก็มาจากผู้ก่อตั้งบริษัทอย่างคุณ David Ogilvy
มีหลาย mindset ชุดความคิดน่าสนใจที่เขาปลูกมันไว้ในใจ talents สายครีเอทีฟทุกคนตั้งแต่ยุคสมัยตั้งไข่ ตัวอย่างเช่น การคิดบูรณาการแบบต้นทาง-ปลายทาง เขามักเตือนสติคนสายครีเอทีฟที่มักกระโดดเข้าหาความครีเอทีฟที่แว่บเข้ามาในหัว
โดยให้เริ่มจากตรรกะเหตุผลก่อนอารมณ์ เริ่มจากการวิเคราะห์พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด การคำนวณเชิงตัวเลขยอดขาย การศึกษาคู่แข่งและตลาด ก่อนตกผลึกออกมาเป็นงานโฆษณาโดยใช้ความครีเอทีฟสอดแทรกลงไป นั่นหมายความว่า งานโฆษณาทุกชิ้นต้องเกิด impact กับกลุ่มเป้าหมาย ไม่ใช่แค่สตองความต้องการตัวคนคิด
นอกจากนี้ เขายังแนะนำคนรอบข้างให้ใส่ใจกับวารสารวิชาการที่ฟังดูเป็นเรื่องตรงข้ามของคนสายครีเอทีฟ โดยมองว่าเราต้องรู้ fact ที่แท้จริงก่อน ก่อนนำมาดัดแปลงใส่ความ creative เข้าไปให้มีอรรถรสน่าสนใจ
หรือการค่อยๆ educate กลุ่มเป้าหมายให้เข้าใจสินค้า เพื่อทดลองใช้ ก่อนกลับมาซื้อซ้ำ…ไม่ใช่หวังแต่ขาย ขาย ขาย ตั้งแต่ครั้งแรก
หรือการเน้นสร้าง branding ที่มีคาแรคเตอร์ชัด มีจุดยืนอุดมการณ์ มีภาพจำที่น่าค้นหา ซึ่ง branding ที่สตรองจะเล่นกับอารมณ์ของคนกลุ่มเป้าหมายที่รู้สึกชอบพอใจ จนยอมควักเงินจ่ายในราคาที่สูงขึ้น
หรือเรื่อง team building ทั้งในและระหว่างองค์กร เขายังแนะนำให้สานสัมพันธ์กับลูกค้าทุกตำแหน่ง-ทุกระดับชั้น ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง หัวหน้างาน จนไปถึงคนทำงานฝ่ายปฏิบัติการจริงๆ นอกจากเข้าใจบริบทขั้นตอนการทำงานแล้ว ยังเหมือนเป็นการซื้อใจลูกค้าไปในตัวด้วย
DNA ชุดความคิดหลายอย่างนี้ ได้ถูกถ่ายทอดมาสู่ Ogilvy ยุคปัจจุบัน
ทำงานเป็นระบบ
คนทั่วไปมักคิดว่า talents สายครีเอทีฟต้องมีความติสท์ ฉีกทุกกรอบ อยู่นอกตำรา และใช้แต่อารมณ์เป็นใหญ่ แต่ที่ Ogilvy ได้ปลูกฝังพนักงานให้อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์บนพื้นฐานของ data พิจารณาว่า customer journey ของลูกค้าเป็นแบบไหน และแบรนด์จะไปอยู่ในจุด touch point ไหนได้บ้างที่เวิร์คที่สุด?
บ่อยครั้งที่อารมณ์ความครีเอทีฟต้องมาหลังตรรกะเหตุผล โดยที่ Ogilvy ไม่ได้ยึดแต่ Creativity เท่านั้น แต่ยังซัพพอร์ตการทำงานด้าน Data และ Technology ด้วย ทั้ง 3 สิ่งนี้ต้องไปพร้อมกันในยุคนี้ถึงจะอยู่รอด
- ใช้ Data จนรู้แล้วว่าลูกค้าเป็นใคร ต้องการอะไร และมี Touch Point ต้องไปหาลูกค้าเจอที่ไหน
- ใช้ Technology เช่น ChatGPT ร่นระยะเวลาในการสร้างงาน copywriting ในปริมาณมหาศาล
- ก่อนใช้ Creativity เฉพาะตัวขั้นสูง ในการแปลง copywriting นั้นให้มีความ original เฉพาะตัวที่สุด
ต้องสร้าง Effective Impact
Ogilvy ยึดหลักมีประสิทธิภาพเป็นแก่น งานครีเอทีฟที่ปล่อยไป ยอดขายต้องเกิดและวัดผลได้ ไม่ใช่หยุดอยู่แค่ awareness หรือ engagement แต่ต้องไปให้ถึง conversion หรือ sales ให้ได้ต่อแบรนด์ลูกค้า
หรือสร้าง impact ที่เห็นสัมผัสได้กับตา เช่น เปลี่ยนจาก local brand บ้านๆ ให้กลายเป็น international brand เป็นที่รู้จักพูดถึงใน Twitter ระดับอินเตอร์
ความหลากหลายชนะทุกสิ่ง
คนทั่วไปอาจมองว่าเป็นองค์กรสำหรับคนสายครีเอทีฟจ๋าโดยเฉพาะ แต่อันที่จริงแล้ว Ogilvy เป็นอีกองค์กรที่เปิดรับ talents ที่มีสกิลหลากหลายเยอะมาก ไม่จำเป็นต้องจบด้านการสื่อสารหรือมีหัวครีเอทีฟขั้นสุดเสมอไป จะว่าไปแล้ว คนสายวิศวะ สายนักขาย สายสังคมศาสตร์ ก็ล้วนมีโอกาสเข้าทำงานองค์กรนี้ได้เหมือนกัน
ขอแค่คุณต้องมี passion & creativity ที่สตรองมากพอและพร้อมใช้มันผลิตผลงานสร้างสรรค์โดนๆ มีความ original สูง ต้องแตกต่างไม่เหมือนคู่แข่งในตลาด
ครีเอทีฟเป็นทีม
คนที่นี่ไม่มีใคร One Man Show แต่จะคุยกันตลอด แชร์ไอเดียกันเรื่อยๆ เพราะธรรมชาติของงานครีเอทีฟลักษณะต้องทำกันหลายคน ไม่สามารถลุยเดี่ยวได้ อีกอย่าง แต่ละคนก็มีแนวทางสไตล์ครีเอทีฟของตัวเอง และจะมีพื้นที่ให้ได้ปล่อยของ
Ogilvy ได้สร้างสรรค์ผลงานครีเอทีฟที่กินใจคนทั่วโลกมานับไม่ถ้วน แต่ซื้อใจยิ่งกว่าเมื่อได้รู้เบื้องหลังว่าปั้นทีมในองค์กรอย่างไร เป็นตัวอย่างที่สร้างแรงบันดาลใจให้พวกเราคนทำงานไม่น้อย…
อ้างอิง