น่าจะคิด(ได้)แบบ Google ตั้งแต่สมัยทำงานแรกๆ

หนังสือ How Google Works เขียนโดยคุณ Eric Schmidt อดีต CEO Google (2001-2011) ที่ปลุกปั้นมาตั้งแต่บริษัทเปิดแรกๆ วันนี้เลยจะมาถอดบทเรียนคร่าวๆ ว่าทำยังไง Google ถึงประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้?

โตได้เพราะคนเก่ง

 

องค์กรขับเคลื่อนด้วย “คน” อันดับแรกจึงต้องพูดถึงคน โดย Google มีกลุ่มคนที่เรียกว่า Creative Talents อยู่มหาศาล

 

ถ้าว่ากันตามตรง นวัตกรรมเจ๋งๆ จาก Google ไม่ได้มาจากเจ้าของบริษัทคนเดียว ไม่ได้มาจากผู้บริหารกลุ่มหนึ่ง และแน่นอนส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากคุณ Erik เองด้วยซ้ำ!

 

แต่มาจากกลุ่มคน Creative Talents ในองค์กรต่างหาก! เพราะ Google สามารถ attract & retain กลุ่มคนเก่งๆ แบบนี้ให้มาร่วมทีมได้ แม้พวกเค้าจะสามารถชี้นิ้วจิ้มเป็นฝ่ายเลือกบริษัทได้มากมายก็ตาม

 

Google เปิดโอกาสให้ Creative Talents ได้ “ปล่อยของ” สามารถบุกเบิกโปรเจคท์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน มีพื้นที่ให้ความผิดพลาด มีทัศนคติล้มไปข้างหน้า ทำออฟฟิศให้เป็นที่ปลอดภัยในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน จนไปถึงการโต้เถียงโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์

 

ทั้งนี้ Google ตีความ Creative ว่าไม่ใช่แค่ไอเดียบรรเจิดฟุ้งเฟ้อที่เด้งออกมาจากหัวยังไงก็ลองทำแบบนั้นเลย แต่ความ Creative ทั้งหมดนั้น…

  • ต้อง align ไปกับกลยุทธ์ธุรกิจที่กำลังเป็นอยู่
  • ต้อง practical ทำได้จริงด้วย resource ที่มีอยู่
  • ต้องมี data ข้อมูลซัพพอร์ตความน่าเชื่อถือด้วย
  • และต้อง make sales สร้างยอดขายได้จริงในท้ายที่สุด แม้ตอนแรกๆ จะยังไม่ทำเงินก็ตาม

 

เรื่องนี้ขอให้ระวัง Hindsight bias ที่ว่าเวลามองย้อนกลับไปแล้วทุกอย่างเมคเซนส์ในอดีต เพราะ Google ไม่ได้ยิ่งใหญ่ก่อน แล้วคนเหล่านี้ถึงค่อยมาร่วมทีม แต่พวกเค้าเลือก Google มาตั้งแต่แรก จึงทำให้องค์กรยิ่งใหญ่ได้ต่างหาก!

 

เริ่มมาตั้งแต่ขั้นตอน Interview สัมภาษณ์เฟ้นหาคนเก่งหัวครีเอทีฟ โดยไม่ได้โฟกัสแค่ Resume แต่จะดูที่กึ๋นในการแก้โจทย์ปัญหายากๆ ด้วย 

  • มีการตั้งคำถาม Why ขึ้นมาอันดับแรกเพื่อหาเหตุผลตั้งต้นในการทำสิ่งต่างๆ 
  • ค้นหาความครีเอทีฟที่อาจซ่อนเร้นในตัวแคนดิเดตผ่านชุดคำถามเนียนๆ เช่น ถ้าคุณ Erik ต้องติดอยู่ในสนามบินกับคนนี้ เขาจะหยิบประเด็นเรื่องไหนมาพูดคุยได้อย่างน่าสนใจ? 
  • การ Interview จะค้นหาความทะเยอทะยานในตัวแคนดิเดตด้วยเพราะเก่งอย่างเดียวไม่พอ Google ต้องการคนที่ชอบท้าทายอะไรใหม่ๆ และเปิดรับความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามธรรมชาติของอุตสาหกรรม Tech

 

โฟกัส โฟกัส โฟกัส

 

ทุกวันนี้ Google มีบริการยิบย่อยมากมายเต็มไปหมด แต่ในยุคสมัยแรกไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะ Google เลือกที่จะ “โฟกัส” แค่สินค้าบริการ 1 อย่าง และทำมันให้ดีที่สุด ดีกว่าคู่แข่งเจ้าไหนๆ ในตลาด ดีที่สุดจนไม่มีใครอยากย้ายค่าย และนั่นคือ Search engine ที่คนทั่วโลกใช้กันอยู่แทบจะเจ้าเดียวทุกวันนี้

 

Google ให้พนักงานโฟกัสแค่เรื่องเดียวและทำมันให้ดีที่สุด เมื่อสำเร็จแล้ว จึงค่อยๆ แตกย่อยไปบริการอื่นๆ เช่น Google Maps / Google Drive / Gmail

 

อาหารสมองที่มากกว่าแค่อิ่มท้อง 

 

ไม่ต่างจากสมัยเรียนมัธยม เพื่อนที่เราสนิทด้วย มักเป็นคนเดียวกับที่พักเที่ยงแล้วไปกินข้าวด้วยกันบ่อยๆ นั้นคือจังหวะเดียวกับที่ได้แลกเปลี่ยน “พูดคุย” กัน มิตรภาพจึงเริ่มฟอร์มขึ้นจนสนิทกันในที่สุด

 

Google เองก็เข้าใจธรรมชาติมนุษย์นี้ จึงลงทุนกับ Canteen โรงอาหารออฟฟิศที่คุณภาพระดับภัตตาคารหรูย่อมๆ เลย พนักงานทานฟรีได้ไม่อั้นตลอดเวลา โต๊ะนั่งสะดวกสบาย มีพื้นที่มากพอให้หายใจไม่ต้องเบียดเสียดวุ่นวายเสียงดัง อาหารมาพร้อมวัตถุดิบเกรดพรีเมียม อร่อย ดีต่อสุขภาพ และมีความหลากหลายสูงมาก เพราะ Google มีพนักงานหลายเชิ้อชาติทั่วโลก

 

คุณ Erik มองว่า นี่ไม่ใช่พื้นที่แค่อาหารกายให้อิ่มท้องเท่านั้น แต่เป็นทั้งอาหารใจและอาหารสมองด้วย เพราะเป็นพื้นที่บิ้วด์ทีมไปในตัว สมาชิกได้มา interact เข้าใจตัวตนเพื่อนร่วมทีมในมุมอื่นๆ ที่นอกจากงาน และขณะเดียวกัน ก็เป็นพื้นที่แชร์ไอเดียหรือ discuss กันแบบไม่เป็นทางการด้วย เรารู้กันอยู่ว่า ไอเดียบรรเจิดบางทีก็เด้งออกมาตอนเราไม่ได้คิดถึงมัน มักออกมาตอนอาบน้ำ ตอนเดินเล่นในสวน หรือตอนกินข้าวอยู่

 

จะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่แค่ Canteen ที่เดียว แต่รวมถึงการออกแบบออฟฟิศทุกส่วนเลย 

อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้ามาได้

มีห้องนวด โต๊ะพูล ที่นอน Nap pods

มีพื้นที่สีเขียวแทรกตัวอยู่รายล้อมทุกจุด

 

จน Google เป็นบริษัทที่ได้รับคำขมมากมายด้านสถาปัตยกรรมออฟฟิศที่สวยงาม ออฟฟิศที่น่าทำงาน เป็นต้นแบบของ “ออฟฟิศโมเดิร์น” สมัยใหม่ ที่องค์กรไหนอยากโมเดิร์น เป็นต้องดู Google เป็นตัวอย่าง

 

บทบาทของผู้นำ

 

สุดท้ายแล้วตัวผู้นำเองก็ยังคงสร้าง Impact ใหญ่ๆ ผ่าน mindset ที่น่าเอาเป็นแบบอย่าง คุณ Erik มีส่วนริเริ่มกฎ 70-20-10

  • แบ่งงบ 70% ให้งานหลักสำคัญที่องค์กรทำอยู่
  • แบ่งงบ 20% ให้โปรเจคท์ใหม่ที่ลองแล้วดีมีแววต่อยอดได้
  • แบ่งงบ 10% ให้กับการลองผิดลองถูก ทดลองไอเดียใหม่ๆ

การคิดค้นไอเดียเจ๋งๆ จึงเป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณนโยบายบริษัท

 

และการ “ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่ไว้ก่อน” ปักหมุดไปเลย 100 ต่อให้ไปไม่ถึง อาจไปสิ้นสุดแค่ 70-80 ก็ยังดีกว่าตั้งเป้าเล็กๆ กลางๆ ที่ 50 ต่อให้ทำได้ก็ได้แค่ 50

 

นอกจากนี้ คุณ Erik ช่วยหล่อหลอมให้องค์กรไม่มีวัฒนธรรมบทลงโทษให้กับการลองผิดลองถูก เพราะถ้าผิดแล้วถูกลงโทษ ก็คงไม่มี Creative Talents คนไหนกล้าแตกแถวทำตัวเด่น

 

เขาเองยังมีจุดยืนวิสัยทัศน์ที่สตรอง แต่ยืดหยุ่นในการปฏิบัติ เพื่อปรับตัวตามสภาพตลาดและเทคโนโลยีที่เปลี่ยน

 

Google คิดได้แบบนี้ ทำตัวแบบนี้ดังที่กล่าวมา ตั้งแต่สมัยแรกๆ ที่ปั้นองค์กร จนทุกวันนี้ success ระดับโลก บางทีถ้าองค์กรเราลองประยุกต์ใช้ คิดได้ประมาณนี้ ทำตัวประมาณนี้ ก็น่าจะนำทางไปสู่ความสำเร็จที่มากขึ้น…

 

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ดูยังไงว่าคนสัมภาษณ์งานกำลังพูดไม่จริง

ผลวิจัยเผยว่า คนเรา “โกหก” ซึ่งๆ หน้าเวลาสัมภาษณ์งานมากกว่าที่คิด เพื่อปกปิดเรื่องที่ไม่อยากให้รู้ หรือให้รู้แค่บางส่วนเท่าที่อยากให้รู้พอ หลายคนทำไปเพราะสถานการณ์บังคับ คือพื้นฐานเป็นคนดีมีจรรยาบรรณ แต่จังหวะสำคัญนี้ก็ต้องขอซักหน่อย เพราะใครๆ ก็อยากได้งาน

คนแบบไหนที่ไม่น่าอยู่ในอำนาจได้นาน 

การไต่เต้าขึ้นมาเป็นหัวหน้ามีอำนาจในมือ vs. การรักษาตำแหน่งหัวหน้าและอำนาจในมือ เป็น 2 สิ่งที่ดูเผินๆ เหมือนกัน แต่ถ้าดูลึกๆ จะพบว่าต่างกันสิ้นเชิง