ทำไมเด็กจบใหม่ ถึงอยากทำงานกับ The Standard

The Standard ติดอันดับ 50 บริษัทในเมืองไทยปี 2023 ที่คนรุ่นใหม่อยากทำงานด้วยมากที่สุด! ความน่าสนใจคือ นี่เป็นการจัดอันดับที่มีบริษัทใหญ่ชั้นนำระดับโลกอื่นๆ รวมอยู่ด้วยแล้ว The Standard บิ้วด์ทีม-ปั้นองค์กรยังไง? ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงร่อนเรซูเม่รัวๆ กันขนาดนี้?!!

หัวนำ-หางตาม

 

อันดับแรก คงต้องยกความดีความชอบให้กลุ่มผู้บริหารระดับสูงขององค์กร The Standard เองที่มี DNA ของการริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ ไม่เหมือนใคร พร้อมสร้างมาตรฐานใหม่ในวงการสื่อ

 

ตัวอย่างที่หลายคนคุ้นเคยคือ คุณเคน-นคิรนทร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือน “ตัวแทน” องค์กร คุณเคนยังมีแนวทางบริหารที่ใส่ใจดีเทล แต่ก็ยังคงความ empathy ไว้อยู่ 

 

เป็นคนที่ Leading by doing ตัวเขาเองไม่ใช่ผู้ถือหุ้นหลักตั้งแต่ต้น แต่เป็นคนทำงานระดับปฏิบัติการ จนสร้างผลงานและไต่เต้าขึ้นมาเป็น CEO บริษัทได้สำเร็จ

 

เขาไม่ใช่แค่บอส แต่เป็นผู้นำที่กรุยทางบุกเบิกไอเดียเจ๋งๆ ให้พนักงานเดินตามอย่างสนุกท้าทาย และด้วยอายุที่ไม่มากไม่น้อย จึงเป็นเหมือนสะพานเชื่อมสะพานพนักงานรุ่นเก๋า-รุ่นใหม่ได้อย่างยอดเยี่ยม

 

ทำงานที่ใช่ ใครๆ ก็อยากทำ

 

The Standard ปฏิเสธสังคมการทำงานเดิมๆ แบบระดับขั้น (Hierarchy) ที่มีโครงสร้างซับซ้อนและขั้นตอนการขอ approve งานที่ใช้เวลานาน 

 

หรือสังคมการทำงานที่ยึดถือความอาวุโสสุดโต่ง (Seniority) แต่วัดกันที่ความสามารถตรงๆ ความเข้าใจ ความ “้เป็นงาน” ในเรื่องนั้นจริงๆ

 

ตัวอย่างล่าสุดที่ชัดเจนมากคือ คนที่คุมนโยบายการเติบโตในแพลตฟอร์ม TikTok ขององค์กร คือกลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ที่อายุยังน้อยอยู่เลย 

 

และน้องๆ พนักงานระดับปฏิบัติการแทบจะเป็น Gen Z 100% ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เติบโตมากับแพลตฟอร์มนี้ มีจริตและเข้าใจผู้ใช้งานแพลตฟอร์มนี้มากที่สุดนั่นเอง 

 

เรียกว่าเข้าข่าย Put the right man into the right job. พอเป็นแบบนี้ พนักงานจึงรู้สึกได้ทำงานที่ใช่ ตรงสาย ถูกจริต ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทุกวัน แถมมีอำนาจตัดสินใจ จึงรู้สึกได้เติบโตอย่างแท้จริง

 

โอบกอดเรื่องใหม่ๆ อยู่เสมอ

 

The Standard รู้ดีว่า องค์กรที่มีเพดานการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ต่ำ พนักงานเข้ามาทำงานไม่นาน ก็เรียนรู้ได้ครบหมดแล้ว กลายเป็นว่าอยู่ได้ไม่นานเดี๋ยวก็ลาออกไปโตที่อื่น

 

ที่นี่จึงโอบกอดเรื่องใหม่ๆ เข้ามาใช้อยู่เสมอ แต่เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกแถวหน้าด้านสื่อและคอนเทนต์ อันดับแรกเพราะเป็นสื่อ จึงใช้ข้อดีในการพบเจอผู้บริหารชั้นนำเก่งๆ ระดับประเทศในหลากหลายอุตสาหกรรมมาใช้ นำองค์ความรู้ด้านการบริหารองค์กรมาปรับใข้ จึงได้อะไรใหม่ๆ เทรนด์ล่าสุด insight ล่าสุด 

 

เช่น ตั้งแต่หลายปีที่แล้ว ขณะที่องค์กรทั่วไปยังใช้สโลแกนทำงานแบบครอบครัว แต่ The Standard รีบปรับไปใช้ ทำงานแบบทีมฟุตบอล ซึ่งได้อิทธิพลมาจากผู้บริหารระดับสูงในแวดวงธุรกิจระดับโลก 

 

หรือก่อตั้ง The Standard Sustainability เปลี่ยนวิธีการทำงานในองค์กรและการทำคอนเทนต์ให้มีความยั่งยืนในระยะยาว หรือยุคก่อนหน้าที่เป็นแบบ Data-driven แต่ยุคสมัยหน้าต้องลึกซึ้งถึงขนาด Purpose-driven company กันแล้ว

 

ใส่ใจสภาพแวดล้อมการทำงาน

 

ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าสภาพแวดล้อม-บรรยากาศ มีผลต่อความคิด-ความรู้สึกในการทำงานของพนักงาน โดยออฟฟิศ The Standard ถูกออกแบบเป็นสไตล์ Co-Working Space 

 

เป็น vibe ที่สบายๆ ให้ความรู้สึกเข้าถึงง่าย เพิ่มการมี engagement ของพนักงาน ลดกำแพงระหว่างหัวหน้า-ลูกน้อง สภาพแวดล้อมเปิดโล่งแนวนี้ ยังถูกใจรสนิยมกลุ่มพนักงาน Gen Z โดยเฉพาะที่ชื่นชอบความไม่เป็นทางการ ความ Flexible ในการนั่งทำงาน เบื่อๆ ลุกไปทำตรงโน้นตรงนี้ก็ได้ มีจุดนั่งพักทุกระยะ มีโซนคาเฟ่เท่ๆ

 

บางที Creativity และแรงกายแรงใจในการทำงาน ก็มาจากสภาพแวดล้อมแบบนี้แหล่ะ!

 

The Standard ยังมีมาตรฐาน “สวัสดิการ” ครบถ้วน เช่น ช่วยค่าเดินทางพนักงาน เปิดโอกาสในการเรียนรู้ผ่านการ assign งานใหม่ๆ ที่เหมาะกับตัวเอง หรือการส่งไป Training ฝึกอบรม ลงเรียนคอร์สต่างๆ

 

ความเป็นสื่อรุ่นใหม่ จึงมี DNA ทำงานแบบ active เร็ว ไว มีประสิทธิภาพ เน้นผลลัพธ์ และพร้อมปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ก็จึงไม่แปลกเลยที่ The Standard จะเป็นตัวเลือกในใจต้นๆ ของพนักงานรุ่นใหม่ 



อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ดูยังไงว่าคนสัมภาษณ์งานกำลังพูดไม่จริง

ผลวิจัยเผยว่า คนเรา “โกหก” ซึ่งๆ หน้าเวลาสัมภาษณ์งานมากกว่าที่คิด เพื่อปกปิดเรื่องที่ไม่อยากให้รู้ หรือให้รู้แค่บางส่วนเท่าที่อยากให้รู้พอ หลายคนทำไปเพราะสถานการณ์บังคับ คือพื้นฐานเป็นคนดีมีจรรยาบรรณ แต่จังหวะสำคัญนี้ก็ต้องขอซักหน่อย เพราะใครๆ ก็อยากได้งาน

คนแบบไหนที่ไม่น่าอยู่ในอำนาจได้นาน 

การไต่เต้าขึ้นมาเป็นหัวหน้ามีอำนาจในมือ vs. การรักษาตำแหน่งหัวหน้าและอำนาจในมือ เป็น 2 สิ่งที่ดูเผินๆ เหมือนกัน แต่ถ้าดูลึกๆ จะพบว่าต่างกันสิ้นเชิง