จะรับมืออย่างไร เมื่อสภาพจิตใจพังเพราะทำงานหนัก

การทำงานให้อะไรเราหลายอย่าง ทั้งความรู้ด้านการทำงาน เพื่อนร่วมงานที่ดี แต่นอกจากแง่บวกแล้วอย่างหนึ่งที่การทำงานให้เราได้เหมือนกันก็คือ “ความเหนื่อยล้า” บางคนรู้สึกเหนื่อยกับงาน กับสังคมที่ทำงานจนเข้าสู่โหมดใจพัง หรือ “Emotional Breakdown” มาดูกันว่าเราจะรับมือกับอาการนี้ได้อย่างไรบ้าง

“Emotional Breakdown” หรืออาการที่คน ๆ หนึ่ง เหนื่อยกับอะไรบางอย่างจนไม่อยากที่จะทำสิ่งนั้น หรือรู้สึกว่าอารมณ์ของเราในตอนนี้ ไม่พร้อมรับกับอะไรรอบตัวทั้งสิ้น เพราะเราได้รับแรงกดดันมามากพอแล้ว ตอนนี้ขอแค่ได้พักเยอะ ๆ ก็คงจะดี

หลายคนอาจจะมองข้ามเรื่องของสุขภาพจิตของตัวเอง ไม่ได้คิดว่าเราจะไปถึงจุดที่อารมณ์หรือความแข็งแกร่งทุกอย่างพังทลายลง แต่บอกเลยว่าอารมณ์และความรู้สึกของเรานี่แหละคือสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะการมีสุขภาพจิตที่ดี คือสิ่งที่ทำให้เราสามารถทำกิจกรรมหรือทำงานรอบตัวได้อย่างเต็มที่ และทำผลงานออกมาได้ดี 

หากสุขภาพจิตพังหรือใจพัง บอกเลยว่างานที่ต้องทำหรือกิจกรรมรอบตัว ต้องออกมาอย่างไม่เต็มที่ การใช้ชีวิตเราก็จะดำเนินไปแบบไม่มีความสุขด้วยเช่นกัน

วันนี้ CareerVisa จึงอยากจะมายกวิธีแก้ปัญหา หากเรากำลังเผชิญหน้ากับสภาพจิตใจพังจากการทำงาน มาดูกันว่าเราจะทำอย่างไรได้บ้างให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

วิธีรับมือกับ Emotional Breakdown

 

ลองพักอยู่กับตัวเองสักแปป

หลายคนทำแต่งาน ไม่เคยมีเวลาพักให้ตัวเองหรือให้เวลาตัวเองได้ผ่อนคลาย เพราะฉะนั้นลองพักสักแปป ได้ทำอะไรอย่างอื่นนอกเหนือจากงานบ้าง อาจจะทำให้รู้สึกดีขึ้น

 

ทำ To-do list ให้สั้นลง

ส่วนใหญ่แล้วคนที่บ้างานหรือทำงานหนัก จะมี To-do list เยอะแยะไปหมด และไม่ได้ยืดหยุ่นให้ตัวเองได้พักขนาดนั้น เพราะฉะนั้นลองตัดทอนสิ่งที่ตัวเองต้องทำต่อวันหลัง เพื่อบาลานซ์เวลางานกับเวลาส่วนตัวให้เหมาะสม

 

ระบุปัจจัยความเครียดของตัวเอง

รู้ตัวเองว่าอะไรที่เป็นสิ่งที่ทำให้เราเครียดหรือจิตตก แล้วหลีกเลี่ยงหรือหาวิธีรับมือกับมัน หากเราสามารถระบุปัญหาได้ การที่จะหาวิธีแก้ไข ก็จะง่ายขึ้นเช่นกัน

 

อยู่กับปัจจุบัน

หลายครั้งที่ความรู้สึกจิตตก หรือใจพัง มักจะมาจากการที่เรายึดติดกับอดีตหรือสิ่งที่เคยทำผิดพลาด จนลืมมองว่าปัจจุบันคือเวลาที่เราสามารถแก้ไขหรือพัฒนาตัวเองได้ดีที่สุด เพราะฉะนั้นหากเราเคยมีสิ่งที่ผิดพลาด ให้นำมาเป็นจุดปรับปรุง และอยู่กับปัจจุบันให้มากขึ้นก็จะทำให้สมองเราหนักน้อยลง

 

ค่อย ๆ จัดการไปทีละเรื่อง

อย่าเอาปัญหาทุกอย่างมาคิดพร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกัน บอกเลยว่าต้องปวดหัวมากแน่ ๆ ให้ค่อย ๆ คิดและแก้ไขปัญหาไปทีละอย่าง เพื่อที่เราจะได้จัดการตัวเองและความคิดของตัวเองได้อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ไม่เครียดจนเกินไป

 

ขอความช่วยเหลือจากคนอื่น

อย่าคิดว่าเราอยู่คนเดียว มันจะต้องมีบางคนที่สามารถให้ความช่วยเหลือเราได้ เพราะฉะนั้นถ้าหากไม่สามารถรับมือได้ ให้ลองคิดที่จะขอคำปรึกษาหรือความช่วยเหลือจากคนรอบข้างและคนที่ไว้ใจได้ ก็จะทำให้เราไม่เครียดมากจนเกินไป อีกทั้งยังมีที่ระบายอารมณ์อีกด้วย

 

 

สุขภาพจิตและอารมณ์ของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ อย่ามองข้ามไม่ว่าจะกับเรื่องของการทำงานหรือชีวิตส่วนตัว หมั่นทำให้สุขภาพจิตของตัวเองมั่นคงอยู่เสมอ ทุกปัญหาในชีวิตก็จะผ่านไปได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน

 

อ้างอิง : https://blog.manahwellness.com/dealing-with-an-emotional-breakdown-at-work/

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

มีอะไรต้องทำมากมาย จัดตารางชีวิตไม่ทัน ทำอย่างไรดี?

ใครเป็นสาย Active ฟังทางนี้ ! จะทำอย่างไรดีเมื่อเรามีอะไรต้องทำเยอะไปหมด จนเริ่มจัดการกับตัวเองไม่ได้ วันนี้เรามาลองดูกันว่าปัญหานี้แก้ได้อย่างไร และบอกเลยว่าง่ายกว่าที่คิดอย่างแน่นอน

“เมอร์เซอร์” เผยรายงานเทรนด์ตลาดพนักงานที่มีศักยภาพสูงทั่วโลกในปี 2566 พบว่านายจ้างในประเทศไทยเดินหน้าเรื่องแผนงานการสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน แต่ยังขาดการดูแลสวัสดิภาพและทักษะของพนักงาน

ผู้บริหารสายงานทรัพยากรบุคคลในประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของพนักงานแบบองค์รวม ซึ่งรวมถึงการดูแลด้านสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของพนักงาน นอกเหนือจากการบ่งชี้ปัญหาช่องว่างทางทักษะของพนักงานแล้ว บริษัทควรมีแผนงานในการเสริมสร้างทักษะความสามารถที่เหมาะสมให้กับพนักงาน วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566 (ประเทศไทย) — 6 ใน 10 ของผู้บริหารในภาพรวมคาดการณ์ว่า แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจทั่วโลกจะยังไม่สดใสมากนัก แต่องค์กรของตนเองจะสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงหรือมีการเติบโตที่ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ดีหากคำนึงถึงแผนธุรกิจสำหรับในปีนี้ ผู้บริหารส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียยังคงมีความกังวลในเรื่องต้นทุนของการลงทุนและหนี้สินของบริษัท และภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัว อันมีผลต่อการแข่งขันเพื่อดึงดูดพนักงานที่มีทักษะและความสามารถโดดเด่น และจากรายงานแนวโน้มตลาดแรงงานที่มีทักษะศักยภาพสูงทั่วโลกในปี 2566 ซึ่งจัดทำโดยเมอร์เซอร์ (Global

โตขนาดนี้แล้ว ยังหาตัวเองไม่เจอ ไม่ต้องกังวล!

หลายคนอาจจะกำลังสับสนในชีวิตตัวเองว่า จริง ๆ แล้วเราชอบอะไรกันแน่ หรืออะไรที่เหมาะสมกับเราที่เราทำได้ดี ไม่ต้องกังวลไป ไม่ใช่ทุกคนที่จะตามหาตัวเองเจอได้ไวแบบใจคิด เพียงแต่ว่าถ้าหากเราอยากได้ตัวช่วย ลองทำตามสเต็ปเหล่านี้ดู