คนรุ่นใหม่อยากทำงานในองค์กรที่สนุก ชอบคิดอะไรใหม่ๆ

หลายคนชอบไปเดินเล่นหาอะไรกินที่ EmQuartier & Emporium แวะช็อป Gourmet Market ที่พารากอน จนไปถึงตั้งหน้าตั้งตารอ Emsphere และ Bangkok Mall ที่กำลังจะเปิดในเร็วๆ นี้

ห้างเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของเครือ The Mall Group ที่ไม่ว่าเดินเข้าไปทีไร ต้องสัมผัสกับธรรมชาติน้ำตกต้นไม้และบรรยากาศประสบการณ์ที่น่าประทับใจทุกที 

 

คำถามที่คนทำงานน่าจะฉุกคิดคือ แล้วองค์กรมีสไตล์การทำงานและปั้นทีมคนรุ่นใหม่ยังไง ถึงทำให้ห้างยังเป็นแถวหน้าในวงการ ดูสดใหม่ทันสมัย เข้าไปเดินทีไรก็แฮปปี้ทุกที! 

 

Fun & Feast!

 

The Mall เป็นห้างที่ชอบทำอะไรสนุกๆ อยู่ตลอด อะไรมาใหม่เป็นต้องขอลองก่อนใคร คิดน้อยๆ ทำเยอะๆ ถึงล้มเหลวก็มีทัศนคติ fail forward ล้มไปข้างหน้าเพื่อได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ

 

ในมุมพนักงานแล้ว ทุกฝ่ายมีโอกาสได้ปล่อยของแชร์ไอเดีย

  • ฝั่งมาร์เก็ตติ้ง ที่ออกแคมเปญชวน WOW! อยู่แทบทุกเดือน 
  • ฝั่งแบรนด์ดิ้ง ที่เน้นสร้างภาพลักษณ์แบบฉีกกฎเดิมๆ
  • ฝั่งสถาปนิก ที่โชว์ของงาน interior design คูลๆ
  • ฝั่งร้านค้า ที่กล้าดึงร้านใหม่ๆ ไม่เคยมีที่ไหนมาลง 

 

อบอุ่นใจแบบมือโปร

 

องค์กรไม่ได้เรียกฝ่ายบุคคลว่า HR แต่นิยามว่าคือ Chief People Officer (CPO) ปฏิบัติต่อกันแบบมีความ humane & empathy 

 

และเป็นวัฒนธรรมองค์กรไปแล้วที่ CPO จะมากล่าวต้อนรับพนักงานใหม่ด้วยตัวเอง และสร้างความรู้สึกเป็นองค์กรเดียวกัน มีการตั้งกลุ่ม TMG Family เพื่ออัพเดทข่าวสาร แจ้งกิจกรรม หรือรับฟังความคิดเห็นระหว่างพนักงานด้วยกันเองโดยเฉพาะ

 

การให้ความสำคัญกับพนักงาน ยังเป็นต้นทางสู่สวัสดิการเจ๋งๆ เช่น ซื้อสินค้าในราคาพนักงาน ใช้บริการสวนน้ำฟรีทั้งครอบครัว หรือทุนการศึกษาทั้งตัวพนักงานและลูกๆ 

 

ผู้บริหารหญิงแกร่ง

 

ต้องไม่ลืมยกความดีความชอบให้ พี่แอ๊ว-ศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร The Mall Group 

 

แต่ไหนแต่ไร พี่แอ๊วคือผู้บริหารหญิงแกร่งมีวิชั่น ทำอะไรต้องแตกต่าง สร้างนิวสแตนดาร์ดที่ไม่มีใครทำมาก่อน ไปยืนในจุดที่ยังไม่มีใครกล้ายืน 

 

สโลแกนคลาสสิคของพี่แอ๊ว คือ “เราไม่ต้องไปอยู่ในทุกที่ แต่ทุกที่ที่เราไป เราต้องชนะ” ซึ่งอาณาจักร The EM District คือตัวอย่างที่ชัดเจน

 

ในแง่การทำงาน The Mall บอกลาวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ แต่วัดกันที่สกิล ในปัจจุบัน เธอยัง decentralize กระจายอำนาจบริหารและตัดสินใจไปยังแผนกต่างๆ ให้เทคแคร์เองได้เลย เพื่อเพิ่มความรู้สึก ownership ให้คิดซะว่าตัวเองมีนามสกุล ณ เดอะมอลล์ ปิดท้าย

 

พี่แอ๊วยังถ่ายทอด mindset ไม่กลัวความล้มเหลวไปยังพนักงานทุกคน ให้ pioneer อะไรใหม่ๆ สนุกๆ คิดแต่พอดี ทำให้เยอะๆ The Mall สาขาแรกคือสาขาราชดำริใจกลางเมือง ซึ่ง…ประสบความล้มเหลว แต่พี่แอ๊วก็สู้ต่อ เรียนรู้ เติบโต จนเป็นอาณาจักรแบบทุกวันนี้

 

ทำงานแบบมาตรฐานสากล

 

แม้ The Mall ยังไม่ใช่บริษัทมหาชน แต่เป็นองค์กร “หัวก้าวหน้า” ที่ทำอะไรใหม่ๆ สนุกๆ คอยดันเส้นมาตรฐานให้สูงขึ้นตลอด

 

ฝ่ายบริหารผลักดันการทำงานแบบมืออาชีพ เป็นระบบให้ได้มากที่สุด ไม่ใช่มวยวัด และเปิดกว้างทางความคิด รับไอเดียเจ๋งๆ และนำไปต่อยอด มีเฟรมเวิร์คการทำงานที่นำมาปรับใช้ได้จริง

 

ความน่าสนใจคือ มีทัศนคติที่มองว่าองค์กรคือส่วนหนึ่งของสังคม ของเมือง ของชุมชนละแวกนั้น จึงต้องมองมิติอื่นที่นอกจากเพิ่มจำนวนทราฟิกคนมาเดินห้างด้วย เช่น 

  • การใช้พลังงานในตึกอาคารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 
  • การบริหารจัดการขยะของเสีย

 

ตั้งแต่สมัยก่อนแล้ว ลูกค้าสัมผัสมาตรฐานสูงๆ ได้หลายอย่าง เช่น

  • เป็นเจ้าแรกๆ ที่เอาธรรมชาติอย่างต้นไม้ น้ำตก มาไว้ในห้าง
  • เป็นเจ้าแรกๆ ที่นำระบบ CRM มาใช้แบบครบวงจร 
  • เป็นเจ้าแรกๆ ที่มีบริการพรีเมียม เช่น Doorman หน้าทางเข้าหรือชุดยูนิฟอร์มสวยๆ ของพนักงานห้าง

 

หรือปัจจุบัน อัพเกรดไปเป็น Digital Commerce Retail เช่นนำ Virtual store อยู่ทุกจุดในห้าง เชื่อมประสบการณ์ช็อปปิ้งแบบออฟไลน์-ออนไลน์อย่างไร้รอยต่อ

 

Diversity & Inclusion

 

ทุกวันนี้ The Mall ไฮบริด talents ทั้งรุ่นใหม่-รุ่นใหญ่ จริงอยู่ที่ว่าคนรุ่นใหม่ไว้ใจได้เลยว่าจะได้ทำงานด้านเทคโนโลยี เทรนด์ใหม่ๆ และอะไรที่ดีลกับผู้บริโภคยุคใหม่ และคนรุ่นใหญ่ก็มาช่วยบริหารและมอบประสบการณ์ที่เคยสำเร็จมาก่อนจนไปถึงช่วยดูแลงานดีเทล เพราะคนรุ่นใหญ่ก็ยังมีองค์ความรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา

 

และแม้ว่าจุดเริ่มต้นจะเป็นธุรกิจครอบครัว แต่ปัจจุบันวางจุดยืนตัวเองเป็น Multi-National Company เฟ้นหาผู้บริหารชาวต่าวชาติชุดใหม่มาร่วมทีม หลายคนประสบความสำเร็จในธุรกิจรีเทลด้านต่างๆ จากทั่วโลกมาแล้ว ทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา

 

พอทีมงานหลากหลายขนาดนี้ ก็มาพร้อมไอเดียแปลกใหม่ ไม่คุ้นหูแต่ฟังดูน่าท้าทาย ตัวอย่างง่ายๆ ที่ลูกค้าแบบเราสัมผัสได้โดยตรง คือการคัดเลือก Tenant mix ร้านค้าที่จะมาลง เช่น การเลือกร้านอาหารฝรั่งแท้ๆ ในเครือ Cocotte มาขึ้นห้างที่ The EmQuartier ตั้งแต่ร้านยังไม่เป็นที่รู้จักนัก หรือ Échiré แบรนด์เนยและเบเกอรี่ฝรั่งเศสระดับไฮเอนท์ ที่จะมาประจำที่ The Emsphere

 

ทั้งหมดนี้ทำให้ The Mall Group ได้รับรางวัลองค์กรดีเด่นในหลายสาขาตลอดหลาปีที่ผ่านมา เช่น Asia Pacific Enterprise Awards หรือ Inspirational Brand Award 

 

รางวัลที่ได้และความประทับใจของลูกค้าที่มาใช้บริการเป็นเพียงผลลัพธ์ปลายทาง ที่มาจากต้นทางการบริหารปั้นทีมภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพแบบนี้นี่เอง

 

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ดูยังไงว่าคนสัมภาษณ์งานกำลังพูดไม่จริง

ผลวิจัยเผยว่า คนเรา “โกหก” ซึ่งๆ หน้าเวลาสัมภาษณ์งานมากกว่าที่คิด เพื่อปกปิดเรื่องที่ไม่อยากให้รู้ หรือให้รู้แค่บางส่วนเท่าที่อยากให้รู้พอ หลายคนทำไปเพราะสถานการณ์บังคับ คือพื้นฐานเป็นคนดีมีจรรยาบรรณ แต่จังหวะสำคัญนี้ก็ต้องขอซักหน่อย เพราะใครๆ ก็อยากได้งาน

คนแบบไหนที่ไม่น่าอยู่ในอำนาจได้นาน 

การไต่เต้าขึ้นมาเป็นหัวหน้ามีอำนาจในมือ vs. การรักษาตำแหน่งหัวหน้าและอำนาจในมือ เป็น 2 สิ่งที่ดูเผินๆ เหมือนกัน แต่ถ้าดูลึกๆ จะพบว่าต่างกันสิ้นเชิง