Stakeholder Capitalism ยุคนี้ “P” Planet สำคัญสุด!

Stakeholder Capitalism
พวกเราหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับคำนี้ดี “Shareholder Capitalism” แนวคิดนี้เริ่มต้นขึ้นในยุค 1980 บรรดา CEO บริษัทใหญ่ต่างมุ่งเน้น “กำไรสูงสุด” แก่องค์กรและผู้ถือหุ้น (พร้อมๆ กับผลตอบแทนของเหล่า CEO โดยเฉพาะอเมริกันที่โตแบบก้าวกระโดด)

พวกเราหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับคำนี้ดี “Shareholder Capitalism” แนวคิดนี้เริ่มต้นขึ้นในยุค 1980 บรรดา CEO บริษัทใหญ่ต่างมุ่งเน้น “กำไรสูงสุด” แก่องค์กรและผู้ถือหุ้น (พร้อมๆ กับผลตอบแทนของเหล่า CEO โดยเฉพาะอเมริกันที่โตแบบก้าวกระโดด)

แนวคิดนี้เป็นเชื้อเพลิงที่นำไปสู่การเกิด Globalization โลกาภิวัฒน์ขึ้นทั่วโลก บริษัทข้ามชาติบินไปลงทุนในอีกซีกโลกหนึ่ง(รวมถึงไทย) หาตลาดแรงงานราคาถูก หาแหล่งตั้งโรงงานผลิตสินค้า

เดากันได้ เหตุการณ์จากนี้เกิดการกอบโกยทำทุกวิถีทางเพื่อทำกำไรสูงสุดแก่บริษัทและผู้ถือหุ้น กดขี่แรงงาน กดค่าแรง ใช้แรงงานผิดกฎหมาย เช่นที่ อินเดีย บังคลาเทศ 

ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ปล่อยมลพิษ น้ำเน่าเสีย ตัดไม้ทำลายป่า…โลกและคนเริ่มถูกทำร้ายอย่างกว้างขวาง

แต่ยุคนั้นหลายประเทศทั่วโลกเอาเศรษฐกิจมาก่อน สิ่งแวดล้อมยังเป็นเรื่องรอง Shareholder Capitalism จึงเป็นแนวคิดกระแสหลักที่ดำเนินไปอีกหลายทศวรรษ

ถึงวันนี้เรารู้แล้วว่าสังคมและโลกของเราบอบช้ำมากแค่ไหน จึงเริ่มเกิดแนวคิดที่ต้านกระแสหลักนี้ซึ่งมีชื่อว่า “Stakeholder Capitalism” 

Stakeholder แปลว่า “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” แนวคิดทุนนิยมนี้ก้าวไกลไปกว่าการมองแค่ตัวบริษัทและผู้ถือหุ้น แต่มองครอบคลุมไปถึง “สังคมผู้คนและโลก” ใบนี้ของเรา

เป้าหมายคือสร้าง “คุณค่า” ที่มีความหมายสูงสุดแก่ทุกฝ่ายโดยรวม ไม่ใช่สร้างตัวเลขกำไรให้เร็วและเยอะที่สุดแก่ผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนเหมือนแต่ก่อน

Stakeholder Capitalism เชื่อว่ามี “2 P” ที่ต้องรีบดูแลโดยด่วน

Planet

P แรกคือ Planet หรือ “สุขภาพของโลก” เพราะมันคือบ้านของเรา ต่อให้เรามีทรัพย์สินในบ้านมากแค่ไหน แต่ถ้าบ้านไฟไหม้หรือน้ำท่วม…ก็ไม่มีความหมาย

ทุกประเทศและบริษัทต้องร่วมมือกัน ไม่ว่าเชื้อชาติประเทศใด อยู่ที่ไหน ขนาดเล็กใหญ่ เพราะเราอยู่ใช้หลังคาร่วมกัน

Planet ไม่ใช่ประเด็นเรื่องเก๋ๆ นะครับแต่ทุกฝ่ายต้องร่วมมืออย่างจริงจังก่อนจะสายเกินไป ดังที่ Sir David Attenborough นักธรรมชาติวิทยาแถวหน้าของโลกวัย 95 ปี กล่าวว่า “ถึงสุดท้ายแล้วธรรมชาติจะยังคงอยู่ต่อไป…แม้ว่าจะมีหรือไม่มีมนุษย์ก็ตาม ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเรียนรู้อยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ”

People

P ที่สองคือ People หรือ “ผู้คน” ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร ยุคนี้เราไม่ได้แยกขาดจากกันเหมือนเมื่อก่อน แต่ถูกเชื่อมต่อเข้าหากันแบบ Global Citizen ประชากรโลก เราเข้าใจวัฒนธรรมอันหลากหลาย เราเสพอะไรหลายอย่างเหมือนๆ กัน สามารถไปที่ไหนก็ได้ คุยกับคนอีกซีกโลกแบบ Real-Time ได้

เราเริ่มเห็นทิศทางที่ดีของ Stakeholder Capitalism จากองค์กรธุรกิจชั้นนำ

การประชุม World Economic Forum เมื่อปี 2020 ถึงกับกำหนดประเด็นหลักในการประชุมเป็นเรื่อง “Stakeholders for a cohesive and sustainable world”

การจัดอันดับ CEO ที่ดีที่สุดในโลกของ Harvard Business Review ในปี 2019 ก็พบว่านอกเหนือไปจากความสามารถด้านการเงิน ยังมีการนำเกณฑ์วัดใหม่ที่เรียกว่า ESG Metrics (Environment, Society, Governance) มาเป็นส่วนหนึ่งของคะแนนมากถึง 30% 

แม้แต่ Business Roundtable องค์กรธุรกิจทรงอิทธิพลที่ประกอบด้วย CEO กว่า 200 บริษัทชั้นนำในสหรัฐอเมริกา เช่น Apple, Amazon, Boring, Coca-Cola ได้ลงนามใน Statement on the Purpose of a Corporation ว่าการดำเนินธุรกิจจากนี้ต้องสอดคล้องกับ Stakeholder Capitalism

คือแนวคิดศตวรรษนี้ได้เปลี่ยนไปจากเดิมแล้ว ยิ่งการมาของโควิด-19 ยิ่งตอกย้ำความสำคัญของ People & Planet

การขยับตัวขององค์กร

ข่าวดีคือ เราเริ่มเห็น “สัญญาณบวก” ของเรื่องนี้บ้างแล้ว!

Starbucks ทั่วโลกเปลี่ยนหลอดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง มาเป็นหลอดกระดาษ พร้อมออกแบบถ้วย(แบบเย็น)ใหม่ให้ดื่มได้โดยไม่ต้องใช้หลอด ในแต่ละปีทั่วโลกมีการใช้ถ้วยพลาสติกกว่า 600,000 ล้านถ้วย แม้ Starbucks จะคิดเป็นเพียง 1% แต่ก็ขอมีส่วนร่วมในการลดใช้ เป็นผู้นำในการส่งสัญญาณสู่เปลี่ยนแปลงที่รักษ์โลกขึ้น

Image Cr. bit.ly/3drXoIw

แบรนด์นมพรีเมียม Dairy Home ของไทย ใช้แนวคิด Zero Waste ลดของเสียในโรงงานที่เกิดจากกระบวนการผลิตให้เหลือน้อยที่สุดจนแทบไม่มี หรือถ้วยโยเกิร์ตของแบรนด์ที่เป็นวัสดุไบโอพลาสติก ย่อยสลายได้ 100% ใน 6 เดือนเมื่อฝังกลบ หรือการรับซื้อขวดคืนจากลูกค้าโดยให้ราคาขวดละ 5 บาท

Plant-based meat หรือเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช ซึ่งเป็นกระแสเทรนด์ที่เริ่มมา อย่างน้อยก็นิยมกันในหมู่คนรักสุขภาพ ดารา คนมีกำลังซื้อสูง ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 250,000 ล้านบาทภายในปี 2025

Image Cr. bit.ly/3qEag24

บริษัทวิจัย Technavio ในกรุงลอนดอน เผยว่า อุตสาหกรรมเบอร์เกอร์ที่ทำจากพืชจะเติบโตถึง 41% ระหว่างปี 2020-2024 กว่าครึ่งหนึ่งของการเติบโตมาจากตลาดที่ภูมิภาค North America

  • โลกมีหมูอยู่ราว 700 ล้านตัว
  • มีวัวอยู่ราว 1,000 ล้านตัว
  • มีมนุษย์อยู่ราว 7,000 ล้านคน
  • และมีไก่อยู่ราว 26,000 ล้านตัว

Plant-based meat จะมาช่วยลดการฆ่าสัตว์ในอุตสาหกรรมอาหารที่มนุษย์ทารุณพวกเขามาช้านาน

ไม่ใช่แค่ Planet…แต่ People ก็ได้รับการใส่ใจมากขึ้นแล้ว

Microsoft เป็นบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับดีเสมอในเรื่อง ค่าจ้างที่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ (Gender Equal Pay) และสวัสดิการต่างๆ ที่มีให้พนักงานแบบดีเยี่ยม

บริษัท CareerVisa จัดทำ “แบบประเมินอาชีพ” ช่วยผู้คนที่มีค่านิยมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หาอาชีพที่ใช่ที่เติมเต็มหัวใจทุกวันที่ไปทำงานอีกด้วย!

ใครเป็นคุณแม่มือใหม่ที่ Facebook ก็ลาหยุดได้เต็มๆ 4 เดือนโดยยังได้รับเงินเดือนเท่าเดิม 100% รวมถึงมีการจัดคอร์สสอนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แก่พนักงาน หรือคนอื่นๆ ที่เค้าทำหน้าที่ปกป้องเราอย่างทหารผ่านศึก

ผลวิจัยจาก Nielsen เผยว่า กว่า 30% ของผู้บริโภคยินดีจ่ายแพงขึ้น ถ้ารู้ว่าแบรนด์นั้นช่วยเหลือทำเพื่อสังคมทางใดทางหนึ่ง แนวคิดนี้ได้เป็นความต้องการพื้นฐานไปแล้วโดยเฉพาะกลุ่มคน Gen-Z และ Millennials ซึ่งจะกลายเป็นกลุ่มคนมีกำลังซื้อสูงในอนาคตตามวัย

เห็นได้ชัดว่าโลกศตวรรษที่ 21 ได้โอบกอด Stakeholder Capitalism แล้ว ให้เวลาได้ทำหน้าที่ของมัน อนาคตเราคงได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมแน่ๆ

.

.

ทดลองทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบกันเถอะ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

productivity

5 คำแนะนำจากปาก Elon Musk สู่ Ultra Productivity ใน 30 วัน

Productivity คือความสามารถในการทำงานหรือผลิตผลงานได้มากขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนด โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมักวัดจากผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาหรือความพยายามที่ใช้

หัวหน้าที่ดี

วิธีง่าย ๆ สู่การเป็น “หัวหน้าที่ดี” ที่ใคร ๆ ก็รัก

ไม่กลัวลูกน้องเก่งเกินหน้าเกินตา, ฟัง มากกว่า พูด, ชมเชยเมื่อทำดี และ ตำหนิแบบมีชั้นเชิง, ให้เครดิตกับทีม ไม่ใช่กับตัวเอง

นี่คือคุณสมบัติของ “หัวหน้าอันเป็นที่รักของลูกน้อง” ในฐานะหัวหน้างาน…เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นและลูกน้องรักมากขึ้น?

Presentation

Masterful Presentation : วิธีนำเสนอ สำคัญกว่า เนื้อหาที่พูด

1. Steve Jobs หยิบ MacBook Air ออกมาจากซองจดหมาย 2. หน้าสไลด์ที่มีแค่ 3 หัวข้อเท่านั้น 3. ซูชิคำเล็กๆ ที่ถูกจัดเรียงมาอย่างสวยงาม นี่คือตัวอย่างของ Masterful Presentation ศิลปะการนำเสนอขั้นเซียนที่สะกดใจผู้คน