มีคนประเภทนี้อยู่รอบตัวเราในที่ทำงาน ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว (รวมถึงตัวคุณเองด้วย!) เราจะมีวิธีพูดอย่างไรในประเด็นนี้ให้อีกฝ่ายรับรู้เพื่อกระชับ (ไม่ใช่ทำลาย) ความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นและเข้าใจตรงกันมากขึ้น?
คนส่วนใหญ่มักบอกให้ “พูดไปตรงๆ” คิดอะไรก็พูดอย่างนั้น การพูดตรงๆ ทำให้เราสบายใจ เหมือนได้ปลดปล่อย แต่น้อยครั้ง (ดังที่เรารู้กันอยู่) ที่วิธีนี้จะได้ “ผลลัพธ์” แบบที่ใจเราต้องการ
เรามักเจอกับการป้องกันตัวจากอีกฝ่าย / การโยงไปเรื่องอื่นที่เราผิด / หรือแม้แต่อีกฝ่ายรับทราบ…แต่ลึกๆ ข้างในเกิดการ “ผิดใจ” กันแล้ว
เราจึงขอแนะนำ 5 วิธีบอก “เพื่อนร่วมงาน” ว่า “You Hurt Me.” ในแบบที่ Win-Win ทั้งสองฝ่าย สื่อสารความรู้สึกลึกๆ ข้างในของคุณเพื่อให้อีกฝ่ายได้ยินและเข้าใจ
1. Start with Why ?
ทำไมสิ่งที่คุณกำลังจะพูด(เตือนด้วยความหวังดี)ถึงสำคัญ? การเริ่มแบบนี้ทำให้อีกฝ่ายเปิดรับ(และอยากรู้) มากกว่าเปิดเข้าประเด็นโต้งๆ
- เพราะรักและห่วงใยนะถึงต้องบอก ถ้าเป็นคนอื่นนี่ไม่แคร์ไปแล้ว
- ถ้าพี่กับผมทำงานกันได้ดี จะทำโปรเจ็คท์นี้จะเสร็จก่อนกำหนด
เมื่อเริ่มด้วย Why แล้วก็ให้ปิดท้ายด้วย… “เลยอยากจะขอพูดบางอย่างที่ทำให้การร่วมงานกันระหว่างพวกเราดีขึ้น”
2. อธิบายคร่าวๆ เรื่องที่เกิดขึ้นซึ่งทำให้คุณปวดร้าวใจ
จุดนี้ต้องอย่ายืดยาว อย่าโยงไปเรื่องอื่น อย่าแก้ตัวแบบสุภาพแทนอีกฝ่าย (เช่น รู้ว่าน้องไม่ได้ตั้งใจหรอก บลาๆๆ) แต่ให้รวบสรุปเหลือแค่ “1 ประโยคสั้นๆ”
- ตอนผมอธิบายอยู่ พี่ชอบพูดแทรกกลางคัน
- ตอนผมต่อรองราคาลูกค้าอยู่ น้องชอบ…(อย่างโน้น-อย่างนี้)
จังหวะนี้โดยธรรมชาติอีกฝ่ายจะพูดแทรกขึ้นทันทีเพื่อขออธิบาย(และแก้ตัว) เช่น “ใจเย็นนะ เดี๋ยวก่อนสิ ผมไม่ได้ตั้งใจ…”
เราอย่าพึ่งปฏิเสธหรือ “ปัดทิ้ง” คำขออธิบายนั้นทันที เพราะจะเป็นการไปเพิ่มอารมณ์ร้อนให้แก่อีกฝ่าย ให้พูดทำนองว่าขอคุณพูดให้จบก่อน เช่น “รู้แหล่ะว่าไม่ได้ตั้งใจ…แต่ตอนนี้เอาเป็นว่า ขอผมพูดให้จบก่อนนะ” (พร้อมใช้ภาษามือช่วยได้)
3. บอก Impact ว่าส่งผลถึงจิตใจคุณอย่างไร ?
ว่าพฤติกรรมอะไรของอีกฝ่ายที่ทำให้คุณเจ็บปวด นี่เป็น Unarguable Debate ความจริงที่อีกฝ่ายจะปฏิเสธหรือโต้แย้งไม่ได้เลย (ช่วยไม่ได้ ก็ฉันรู้สึกแบบนี้จากสิ่งที่คุณพูด)
ให้พูด Impact นั้นด้วย “น้ำเสียงเป็นกลาง” อย่าดุดัน อย่าอารมณ์ขึ้น หรืออย่าดราม่าเศร้าเกิน บอกไปตรงๆ ว่าสิ่งที่เค้าพูดมันทำให้คุณโกรธ / หงุดหงิด / เจ็บ / กลัว / หวาดระแวง…รู้สึกยอมแพ้หรืออะไรก็ตามแต่
ที่สำคัญ ให้ใช้สรรพนามเป็น “I” (ผม-ดิฉัน-หนู-พี่-น้อง) เสมือนว่าเราเป็นฝ่าย “ถูกกระทำ” แทนที่จะใช้สรรพนาม “You” กล่าวหาว่าเขาทำอะไร จะช่วยลดแรงต้านจากอีกฝ่ายได้
4. อยากให้อีกฝ่ายทำอะไรแทน ?
ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ อยากให้เค้าพูดว่าอะไรแทน เพื่อให้อะไรๆ ดีกว่าเดิม? อาจเป็นเรื่องเรียบง่าย เช่น
- ต่อไปนี้ขอให้คุณพูดจนจบเสียก่อน ถ้าสงสัยค่อยถามทีหลัง
- อยากให้รับฟังความเห็นต่างที่อยู่คนละขั้ว อาจได้รับมุมมองใหม่ๆ
- ถามอะไรสำคัญไปในกลุ่ม อ่านแล้วได้ความว่าอย่างไรก็ควรตอบกลับด้วย (เช่น ไป/ไม่ไป)
5. ย้ำปิดท้าย ว่าทำไมคุณจำเป็นต้องพูดเรื่องนี้
ให้เอาเหตุผล Why ข้อ1 มาเสริมปิดท้าย เช่น เพราะรักและห่วงใยในฐานะหัวหน้าที่มีต่อน้องๆ หรือ เดี๋ยวเราจะต้องทำงานร่วมกันอีกนาน
ก่อนจะเสริมว่า คุณเองก็คาดหวังให้อีกฝ่ายทำแบบเดียวกัน คือถ้าคุณเผลอพูดอะไรไม่ดีไป วันหน้าอีกฝ่ายก็เรียกคุณมาทำแบบเดียวกันนี้ได้ (แค่สลับบทบาทกัน)
.
.
เราจะเห็นเลยว่าวิธีการพูดนั้นสำคัญ เป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งเลยทีเดียว เมื่อเราพูดแบบนี้จนอีกฝ่ายเข้าใจ ต่อไปการทำงานก็ง่ายขึ้นแล้วเพราะหัวใจของความสำเร็จคือการร่วมมือกันทำงานเป็นทีมนั่นเอง
.
.
ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…คุณพร้อมมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วันแล้วหรือยัง? >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/
ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com
ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/
อ้างอิง