5 วิธีจุด “ประกายความคิด” สู่ Perspective ใหม่ๆ

การทำอะไรเดิมๆ ช่วยให้เราไม่ต้องเสียเวลาคิด เช่น แปรงฟัน แต่ความจำเจเดิมๆ ก็ลดทอนความคิดสร้างสรรค์ในเวลาเดียวกัน เพราะสิ่งที่เราเรียกว่า Creativity อันที่จริงเป็นกระบวนการ “สร้างสรรค์” (Creation) ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเส้นใยประสาท ‘ใหม่ๆ’ ในสมองให้ยึดโยงแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ขณะที่ กิจวัตรเดิมๆ (Routine) จะเป็นอีกกระบวนการที่เรียกว่า “เก็บรวบรวม” (Recollection) ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเส้นใยประสาท ‘เดิมๆ’ ในสมองให้ยึดโยงแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ข้อเสียของ Routine คือ นานวันเข้ามีโอกาสที่เราจะติดอยู่ใน “กะลา” อยู่ในกรอบโลกทัศน์ของตัวเอง

ข้อดีคือ เราจะชำนาญเรื่องนั้นเชิงลึกและทำได้คล่องรวดเร็ว

แต่โลกทุกวันนี้เปลี่ยนไปเร็วมากๆ สิ่งที่เรารู้ถูก Disrupt ถูกแทนที่ด้วยเรื่องใหม่อยู่ตลอด จะมีประสิทธิภาพกับโลกปัจจุบันกว่ามากไหม? ถ้าเรารู้รอบด้าน พยายามเอาตัวเองไปสัมผัสมุมมองใหม่ๆ 

คำถามคือ เราจะเริ่มต้นทำได้อย่างไร? พบกับ 5 วิธีที่เริ่มได้ง่ายกว่าที่คิด..

5 วิธีจุดประกายความคิดสู่ Perspective ใหม่ๆ

  1. ทำทุกอย่างเหมือนเดิม…แต่ “กลับด้าน”
ประกายความคิด

เราเริ่มด้วยวิธีการง่ายๆ สำหรับผู้เริ่มต้น ยังไม่ต้องขวนขวายสิ่งใหม่ใดๆ ทั้งสิ้น

ให้ทำกิจวัตรประจำวันทุกอย่างเหมือนเดิมไปก่อน…แต่ให้ “กลับด้าน”

  • ปกติถือและดื่มกาแฟด้วยมือขวา…เปลี่ยนเป็นถือและดื่มด้วยมือซ้าย
  • ปกติวิ่งที่สวนทิศทางตามเข็มนาฬิกา…เปลี่ยนเป็นวิ่งทวนเข็มนาฬิกา
  • ปกติทาครีมหน้าด้วยนิ้วนางขวา…เปลี่ยนเป็นทาครีมด้วยนิ้วนางซ้าย
  • ปกติขับรถไปทำงานผ่านซอย A…เปลี่ยนเป็นซอย B (ถ้าพอมีทาง)

วิธีเหล่านี้ไม่ทำให้สมองเครียดเกินไป เป็นเหมือนการ ‘อุ่นเครื่อง’ สมองให้เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังจะตามมา

  1. ลิสท์เรื่องที่ “ไม่คุ้นเคย” …แล้วลงมือทำ

วิธีนี้เป็นการหา Input ที่ ‘หลากหลาย’ ไปในตัว

คุณอัศวิน พานิชวัฒนา หรือ “พี่หนึ่ง” ผู้คว่ำหวอดในวงการ Creative ของเมืองไทยเผยเคล็ดลับว่า ก่อนจะลงงานคิดดำดิ่งเรื่องไหน ให้รวบรวม Input มากองไว้ก่อนให้ได้มากที่สุด 

และควรเป็น Input ที่หลากหลาย ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นที่เราคิดเสมอไป (ดังที่บอกว่า Creativity เกิดจากการเชื่อมโยงสิ่ง ‘ใหม่’ เข้าด้วยกัน)

“ยิ่งหาข้อมูลได้เยอะ คุณจะยิ่งคิดงานออกเยอะ” พี่หนึ่งเคยฝากไว้กับทาง CareerVisa

เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวได้ง่ายๆ เช่น ปกติอ่านแต่หนังสือบริหารธุรกิจ ลองเปลี่ยนมาอ่านประวัติศาสตร์หรือจิตวิทยาดูบ้างเพื่อหาความเชื่อมโยง คุณอาจรู้ประวัติศาสตร์ Pattern วิกฤติเศรษฐกิจของศตวรรษที่แล้วเพื่อมาประเมินปัจจุบัน หรือ รู้จิตวิทยาเบื้องหลังว่า ที่ลูกค้าไม่ซื้อสินค้าคุณเพราะคุณดันมอบตัวเลือกเยอะเกินไป (Paradox of Choice)

ความยากในการปะทะสิ่งที่ไม่คุ้นเคยคือ “ความกลัว” ตามธรรมชาติของมนุษย์ในสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่คุ้นเคย และช่วงแรกๆ จะเกิด “แรงต้าน” สูงมากเพราะเราไม่ชิน เป็นอุปสรรคที่ต้องฝ่าใปให้ได้

  1. สงสัย สงสัย สงสัย
ประกายความคิด

จากที่เดินผ่านทุกวัน เห็นเป็นประจำ แต่ก็ไม่เคยใส่ใจ ไม่เคยเก็บมาขบคิดวิเคราะห์ คราวนี้คุณลองท้าทายตัวเองด้วยการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ รอบตัวว่า…สิ่งที่เห็นตรงหน้า…ทำไมมันต้องเป็นแบบนั้น?

Simon Sinek ผู้เขียนหนังสือที่มีอิทธิพลมากในโลกธุรกิจอย่าง Start With Why เผยว่า การถามด้วย “ทำไม” คือแก่นแท้ที่สุดที่จะพาเราไปสู่คำตอบถึงจุดประสงค์ที่สร้างสินค้าบริการนั้นขึ้นมาแต่แรก

วิธีนี้เป็นการฝึกตัวเองให้เป็นคนใคร่รู้อยู่ตลอดและสังเกตสิ่งรอบตัวด้วยสายตาที่สดใหม่ไปในตัว

ลองดูตัวอย่างง่ายๆ สมมติว่าคุณไม่ใช่คอกาแฟแต่นึกสงสัยว่าทำไมร้านกาแฟ Mother’s Roaster ถึงคนเต็มตลอด จึงเดินทางไปลองครั้งแรกที่สาขาใหญ่ตรงตลาดน้อย

คุณพบว่าแม้โลเคชั่นร้านจะไม่ได้เดินทางสะดวกนักเมื่อเทียบกับร้านอื่น ไม่มีที่จอดรถหน้าร้านหรือติดรถไฟฟ้า แต่ความยากลำบากกว่าปกติในการเดินทางมานี่เองกลับกลายเป็นเหมือน Journey ที่ต้องดันทุรังเข้ามา…ซึ่งสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของย่านที่มีความเป็น Street Art ผู้คนเดินเที่ยวและถ่ายรูปเก๋ๆ ตามมุมต่างๆ

หลังดื่มด่ำกาแฟรสชาติดีไปแล้ว คุณสังเกตอีกว่าทำไมบาริสต้าที่นี่หลายคนเป็น “ผู้สูงวัย” จึงถาม “ป้าพิม” เจ้าของร้านวัย 70+ และได้คำตอบว่า ตอนเปิดร้านเค้าตั้งใจเป็นสถานที่ที่ให้คนแก่ออกจากบ้านมาใช้ชีวิตข้างนอกกัน เพราะไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว สัดส่วนผู้สูงวัยมีแต่เพิ่มเรื่อยๆ

เราจะเห็นว่าเรื่องราวที่ได้รับรู้สามารถจุดประกายความคิดนำไปต่อยอดได้ ไม่ว่าจะ

  • โลเคชั่นร้านในบางธุรกิจอาจไม่จำเป็นต้องสะดวกสบายที่สุดเสมอไป 
  • คนไม่ได้ซื้อคุณแค่สินค้าแต่อุดหนุนเพราะคุณมีจุดยืนอุดมการณ์บางอย่างด้วย
  • โอกาสตลาดผู้สูงวัยที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

จากเดิมที่เรื่องกาแฟดูเหมือนไม่มีอะไรเกี่ยวข้อง กลับมอบมุมมองใหม่ให้เราได้

  1. คุยกับคนต่างวัย
ประกายความคิด

แนะนำให้เป็นคนที่อยู่ต่างเจเนอเรชั่นกับเราไปเลย โดยการทำงานหลักๆ มีอยู่ 4 เจนด้วยกัน: Baby Boomers / Gen X / Gen Y / Gen Z

Creative แถวหน้าอย่างพี่หนึ่งยังบอกว่า เขาชอบคุยกับเด็กรุ่นใหม่มาก การปะทะกับมุมมองของคนต่างเจเนอเรชั่นที่อายุห่างกันกว่า 20 ปีและเติบโตมากับโลกที่แตกต่างกันสิ้นเชิง ได้เปิดมุมมองได้อัพเดทว่าคนยุคนี้คิดยังไง เติมเต็มช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap) ที่หายไป 

ซึ่งสอดคล้องกับหน้าที่การงานเขาโดยตรงที่ต้อง “เข้าใจพฤติกรรม” กลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายตามแต่โจทย์ที่ได้มา

การพูดคุยกับคนต่างวัย-ต่างอาชีพ-ต่างฐานะ ยังเป็นการก้าวออกจาก Comfort Zone ออกจากโลกที่เราคุ้นเคย เตือนสติเราให้ไม่ด่วนสรุปเหมารวม (Stereotype) เช่น คนรุ่นเก่าหัวโบราณ-คนรุ่นใหม่หัวก้าวหน้า (ซึ่งไม่จริงเสมอไป) และฝึกเราให้มีการอดทนต่อความคิดเห็นต่าง (Tolerance) 

โดยเฉพาะยุคนี้ เทคโนโลยีเปิดโอกาสให้เราสัมผัสความคิดคนต่างวัยได้ง่ายมาก ล่าสุดอย่าง Clubhouse ที่มีห้องสนทนาหลากหลายประเด็นจากผู้พูดหลากหลายวงการ ล้วนเป็นเชื้อเพลิงความคิดสร้างสรรค์ชั้นดี 

  1. ทำเรื่องใหม่ติดต่อกันให้ได้อย่างน้อย 21 วัน
ประกายความคิด

ในแง่ประสาทวิทยา ต้องใช้เวลาราว 21 วัน กว่าที่นิสัยและความคิดใหม่ๆ จะฝังรากลึก เป็นไปตามทฤษฎี 21 วัน (The 21-Day Habit)

อย่างไรก็ตาม Dr. Maxwell Maltz ผู้คิดค้นทฤษฎีนี้กล่าวว่า 21 วันเป็นเพียงตัวเลขเฉลี่ย ถ้าจะเอาชัวร์ๆ ลองทำติดต่อกัน 30-45 วัน ไปเลยจะเห็นผลชัดเจนที่สุด

ระยะเวลานี้ใช้ได้กับทุกวิธีการ (คุณอาจมีวิธีการเฉพาะในแบบตัวเองนอกเหนือจากข้อเหล่านี้ก็ได้) ระหว่างทาง สมองจะเริ่มคุ้นเคยกับการคิดนอกกรอบ คิดในมุมกลับ ความคิดที่อยู่นอกกระแส จนท้ายที่สุดเราอาจพบว่าตัวเอง ‘หัวครีเอทีฟ’ เพิ่มขึ้นไปอีกระดับแล้ว

.

บางครั้งการที่เราคุ้นเคยอยู่แต่ในกรอบความคิดของตัวเอง ก็ทำให้เรามองข้ามทางออกของปัญหา เราลองมาดูตัวอย่าง การค้นพบวิธีแก้ปัญหาที่เป็นเหมือน “เส้นผมบังภูเขา” กัน

CEO บริษัทยาสีฟันแห่งหนึ่งกำลังกลุ้มใจปัญหาในโรงงาน เพราะเกิดข้อผิดพลาด มียาสีฟันบางส่วนที่หลุดออกมามีแต่ “กล่องเปล่า” ไม่มียาสีฟันภายใน

เมื่อตรวจสอบจึงพบว่าเป็นเรื่องยากมากๆ ที่ระบบสายพานไฮเทคความเร็วสูงจะไม่มีกล่องเปล่าหลุดลอดออกมา (หรือความผิดพลาดเป็นศูนย์นั่นเอง)

CEO ทุ่มเงิน 250 ล้านติดตั้งระบบเครื่องชั่งน้ำหนักความเร็วสูงแบบพิเศษไว้ที่ปลายสายพานของโรงงาน ถ้ากล่องเปล่าหลุดออกมาเมื่อไร สายพานจะหยุดทันที เพื่อให้คนงานมาเก็บกล่อง ก่อนจะกด Reset ให้สายพานทำงานต่อ

ต่อมาปรากฎว่า ไม่เคยพบกล่องยาสีฟันกล่องเปล่าอีกเลย เป็นไปได้อย่างไร? CEO จึงลงพื้นที่มาดูกับตัวและพบคนงานคนหนึ่งตั้ง “พัดลม” ตัวเล็กๆ ก่อนถึงเครื่องชั่งไฮเทค

CEO สอบถามคนงานเพื่อที่จะพบว่าตัวเองโดนสอนงานเข้าให้แล้ว ที่ผ่านมาเมื่อเจอกล่องเปล่า สายพานจะหยุดทำงาน แล้วคนงานคนนี้ก็ต้องเดินไปกดปุ่ม Reset ทุกครั้ง ซึ่ง “เสียเวลา” การทำงานของเค้ามาก

คนงานจึงตั้งพัดลม “เป่ากล่องเปล่าลงตะกร้า” ไปเลย จบข่าว

“ถูกกว่า และ มีประสิทธิภาพกว่า” CEO พึ่งจ่ายเงิน 250 ล้าน แทนที่จะจ่ายเงินค่าพัดลม

.

.

และหลายครั้ง ก่อนที่เราจะจุดประกายมุมมองการทำงานใหม่ๆ ให้ตัวเอง…ต้องรู้จักตัวเองว่าชอบสายอาชีพไหนเสียก่อน มาทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาสายอาชีพที่ใจลึกๆ เราต้องการได้ที่ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

แต่ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com


อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

productivity

5 คำแนะนำจากปาก Elon Musk สู่ Ultra Productivity ใน 30 วัน

Productivity คือความสามารถในการทำงานหรือผลิตผลงานได้มากขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนด โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมักวัดจากผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาหรือความพยายามที่ใช้

หัวหน้าที่ดี

วิธีง่าย ๆ สู่การเป็น “หัวหน้าที่ดี” ที่ใคร ๆ ก็รัก

ไม่กลัวลูกน้องเก่งเกินหน้าเกินตา, ฟัง มากกว่า พูด, ชมเชยเมื่อทำดี และ ตำหนิแบบมีชั้นเชิง, ให้เครดิตกับทีม ไม่ใช่กับตัวเอง

นี่คือคุณสมบัติของ “หัวหน้าอันเป็นที่รักของลูกน้อง” ในฐานะหัวหน้างาน…เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นและลูกน้องรักมากขึ้น?

Presentation

Masterful Presentation : วิธีนำเสนอ สำคัญกว่า เนื้อหาที่พูด

1. Steve Jobs หยิบ MacBook Air ออกมาจากซองจดหมาย 2. หน้าสไลด์ที่มีแค่ 3 หัวข้อเท่านั้น 3. ซูชิคำเล็กๆ ที่ถูกจัดเรียงมาอย่างสวยงาม นี่คือตัวอย่างของ Masterful Presentation ศิลปะการนำเสนอขั้นเซียนที่สะกดใจผู้คน