เป็น HR อย่างไรให้พนักงานไม่เกลียด? โปรดเลี่ยงพฤติกรรม 10 สิ่งเหล่านี้

HR หรือ Human Resources ถือว่าเป็นตำแหน่งสำคัญในบริษัท เป็นคนที่ทำหน้าที่บริหารหรือจัดสรรทรัพยากรบุคคล หรือพนักงานที่เข้ามาทำงานในบริษัทนั่นเอง คนที่เป็น HR มีหน้าที่ตั้งแต่ดูแลต้อนรับพนักงาน จัดการเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการ ไปจนถึงความเรียบร้อยในการเป็นอยู่ของพนักงานในบริษัท

10 พฤติกรรมที่ HR ไม่ควรทำ หากไม่อยากโดนพนักงานไม่ชอบ

HR หรือ Human Resources ถือว่าเป็นตำแหน่งสำคัญในบริษัท เป็นคนที่ทำหน้าที่บริหารหรือจัดสรรทรัพยากรบุคคล หรือพนักงานที่เข้ามาทำงานในบริษัทนั่นเอง คนที่เป็น HR มีหน้าที่ตั้งแต่ดูแลต้อนรับพนักงาน จัดการเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการ ไปจนถึงความเรียบร้อยในการเป็นอยู่ของพนักงานในบริษัท

 

ซึ่ง HR ควรจะเป็นบุคคลที่พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงได้ มีอัธยาศัยดี มีความคิดในเชิงบวกและเข้าใจการเป็นอยู่และปัญหาของพนักงานทุกคน เพราะฉะนั้น HR จึงมีส่วนสำคัญในการทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานนั้นดีขึ้นโดยภาพรวม

 

เพียงแต่ว่าตำแหน่งนี้ก็ตามมาด้วยความคาดหวังของคนหลายคนในบริษัท จึงต้องระมัดระวังเรื่องพฤติกรรม และวางตัวให้เหมาะสมกับตำแหน่งคนกลางคนพนักงานในบริษัท มาลองส่องกันว่าหากต้องการที่จะเป็น HR ที่เป็นที่รักของทุกคน ควรจะเลี่ยงพฤติกรรมอะไรบ้าง

 

10 พฤติกรรมที่ HR ไม่ควรทำ หากไม่อยากโดนพนักงานไม่ชอบ

 

❎เมินเฉยต่อปัญหาของพนักงานในบริษัท

เพราะตำแหน่ง HR คือคนที่ต้องดูแลความเป็นอยู่ของพนักงานทุกคน และรับฟังปัญหาเพื่อช่วยหาทางแก้ไขให้กับพนักงานด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าหาก HR ละเลยปัญหาต่าง ๆ หรือไม่รับฟังเสียงจากพนักงาน ก็ย่อมเป็น HR ที่ไม่มีความเป็นกลางและอาจจะไม่สามารถช่วยเหลือพนักงานได้อย่างเต็มที่

 

❎ไม่กระตือรือร้นในการหาคนทำงาน: อย่าอาศัยการที่คนสมัครงานมาและสัมภาษณ์งานเพื่อจ้างงานอย่างเดียว แต่ตำแหน่ง HR ควรจะต้องกระตือรือร้นในการหาทรัพยากรคุณภาพในการเข้ามาร่วมงานและมีการดูแลขั้นตอนการรับสมัครโดยไม่ตัดสินการจ้างงานจากการสัมภาษณ์อย่างเดียว


❎วางแผนเงินเดือนโดยไม่มีโครงสร้าง

การเลือกที่จะตัดสินใจเรื่องเงินเดือนและสวัสดิภารให้กับพนักงานแต่ละคน ควรมีเหตุและผลรองรับ รวมถึงควรจะมีที่มาที่ไปในการเคาะเงินเดือน ซึ่ง HR ต้องมีความรู้ในการจัดสรรเงินเดือนและสวัสดิการเหล่านี้ 

 

❎การฝึกอบรมพนักงานที่ไม่ได้มาตรฐาน

นอกจากหน้าที่การจัดหาพนักงานและการจัดการเงินเดือนและสวัสดิการ HR ยังต้องมีส่วนร่วมในการจัดหาวิธีการพัฒนาพนักงาน ทั้งด้านการจัดหารคอร์สต่าง ๆ และการฝึกอบรม

 

❎การลงโทษที่ไม่มีที่มาที่ไป

หากเราเลือกที่จะลงโทษพนักงานโดยพร่ำเพรื่อ อาจจะทำให้พนักงานเกิดความกลัวและต่อต้านต่อการทำงานและกฎระเบียบของบริษัท ดังนั้น HR ควรจะมีทักษะด้านการจัดการคนอย่างสูง และเข้าใจถึงความรู้สึกของพนักงานและวางแผนจัดการอย่างมีเหตุและผล

 

❎การจ้างงานที่ไม่ดี ไม่ได้มาตรฐาน

อย่าตัดสินใจจ้างงานหรือเลิกจ้างงานอย่างไม่มีมาตรฐานและไม่เหมาะสม เพราะว่าพนักงานควรจะได้รับความเท่าเทียมกัน ซึ่ง HR ก็ควรจะต้องศึกษาตรงส่วนนี้และทรีทพนักงานให้ได้อย่างเท่าเทียมกัน

 

❎ไม่มีการวางแผนการทำงานให้พนักงานอย่างชัดเจน

HR ที่ดีควรวางแผนการ Onboard หรือการเริ่มต้นการทำงานให้กับพนักงานเป็นอย่างดีในช่วงแรกที่เข้าทำงาน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้กับพนักงานและนำเสนอความเป็นมาของบริษัทเพื่อสร้างเป้าหมายที่ตรงกันและทำให้พนักงานสามารถทำงานต่อไปได้ง่ายขึ้น

 

❎ไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาเชิงรุก

อย่ารอแต่รับฟังปัญหาจากพนักงาน แต่ให้หมั่นที่จะพัฒนาบริษัทหรือองค์กรให้ได้อย่างสม่ำเสมอ โดย HR ควรจะมีการจัดการปัญหาเชิงรุก และหมั่นทำความรู้จักและทำความเข้าใจการเป็นอยู่ของพนักงานอยู่ตลอดเวลา

 

❎มีการจัดการข้อมูลที่ไม่ดี

หน้าที่ของ HR อีกอย่างหนึ่งคือการจัดการข้อมูล รวบรวมและเก็บข้อมูลของพนักงานแต่ละคนให้เป็นระเบียบ ในกรณีที่วันหนึ่งพนักงานต้องการใช้ข้อมูลส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับบริษัทในการทำธุระต่าง ๆ HR ต้องสามารถดำเนินการสิ่งเหล่านี้ให้ได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย


❎ไม่ยอมรับในบทบาทของ HR อย่างแท้จริง

HR เป็นตำแหน่งงานที่ต้องการคนที่มีความเข้าใจในตัวงานอย่างสูง มีการกระตือรือร้นที่จะปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงขององค์กร และมีมมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานความรู้จักและช่วยเหลือพนักงาน จึงเป็นตำแหน่งที่ถ้าหากใครสนใจจะต้องมีการเปิดใจและปรับตัวเองให้ได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ทำงานนี้ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

อ้างอิง: https://www.forbes.com/sites/forbeshumanresourcescouncil/2018/04/13/10-costly-mistakes-your-hr-department-should-avoid/

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

productivity

5 คำแนะนำจากปาก Elon Musk สู่ Ultra Productivity ใน 30 วัน

Productivity คือความสามารถในการทำงานหรือผลิตผลงานได้มากขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนด โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมักวัดจากผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาหรือความพยายามที่ใช้

หัวหน้าที่ดี

วิธีง่าย ๆ สู่การเป็น “หัวหน้าที่ดี” ที่ใคร ๆ ก็รัก

ไม่กลัวลูกน้องเก่งเกินหน้าเกินตา, ฟัง มากกว่า พูด, ชมเชยเมื่อทำดี และ ตำหนิแบบมีชั้นเชิง, ให้เครดิตกับทีม ไม่ใช่กับตัวเอง

นี่คือคุณสมบัติของ “หัวหน้าอันเป็นที่รักของลูกน้อง” ในฐานะหัวหน้างาน…เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นและลูกน้องรักมากขึ้น?

Presentation

Masterful Presentation : วิธีนำเสนอ สำคัญกว่า เนื้อหาที่พูด

1. Steve Jobs หยิบ MacBook Air ออกมาจากซองจดหมาย 2. หน้าสไลด์ที่มีแค่ 3 หัวข้อเท่านั้น 3. ซูชิคำเล็กๆ ที่ถูกจัดเรียงมาอย่างสวยงาม นี่คือตัวอย่างของ Masterful Presentation ศิลปะการนำเสนอขั้นเซียนที่สะกดใจผู้คน