อยากเปลี่ยนงานแล้ว แต่รู้สึกว่าเร็วไป เปลี่ยนเลยดีไหมนะ?

เป็นคนเปลี่ยนงานบ่อยจะเกิดข้อดีหรือข้อเสียอย่างไรบ้าง? หลายคนตั้งคำถามนี้ขึ้นมา หลังจากที่ส่องเรซูเม่ของตัวเองและเห็นว่าเราเป็น Job Hopper เปลี่ยนงานบ่อยเหลือเกิน

ส่องข้อดี-ข้อเสียของการเปลี่ยนงานบ่อย

เป็นคนเปลี่ยนงานบ่อยจะเกิดข้อดีหรือข้อเสียอย่างไรบ้าง? หลายคนตั้งคำถามนี้ขึ้นมา หลังจากที่ส่องเรซูเม่ของตัวเองและเห็นว่าเราเป็น Job Hopper เปลี่ยนงานบ่อยเหลือเกิน 

 

ซึ่งเหตุผลของการเปลี่ยนงานมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการที่เรารู้สึกว่าเนื้องานไม่ได้เข้ากับตัวเอง การที่เราไม่ได้เอ็นจอยสภาพแวดล้อมหรือสังคมในที่ทำงาน ไปจนถึงการที่ได้โอกาสใหม่ ๆ มาและเราตัดสินใจเลือกโอกาสนั้นแทนที่งานที่ทำอยู่

 

อย่างไรก็ตามทุกอย่างล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย วันนี้ CareerVisa จะมาส่องข้อดีและข้อเสียของการเปลี่ยนงานบ่อยให้ทุกคนได้รับรู้และนำไปพิจารณาในการตัดสินใจเปลี่ยนงานของตัวเองกัน

✅”ข้อดี” ของการเปลี่ยนงานบ่อย

– มีโอกาสได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อย ๆ เพราะทุกการเปลี่ยนงานเรามักจะต่อรองเพื่อให้ได้เงินเดือนและ Benefit อื่น ๆ ที่ดีกว่าที่เดิม

– ได้เลือกสภาพแวดล้อมการทำงาน และเลือกความยืดหยุ่นในการทำงานบ่อยครั้ง

– เจอสภาพแวดล้อมการทำงานหลากหลายรูปแบบ ทำให้มีภูมิต้านทาน และอาจจะรู้วิธีการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

– มีทักษะการทำงานที่หลากหลาย เพราะได้ทำงานหลากหลายที่ เจอคนหลายคนที่มีความรู้ที่ต่างกัน

– มี Connection ทางการงานมากยิ่งขึ้น รู้จักคนในวงการการทำงานมากยิ่งขึ้น

❎”ข้อเสีย” ของการเปลี่ยนงานบ่อย

– ชื่อเสียงของตัวเองอาจจะเสียได้ เพราะว่าเปลี่ยนงานบ่อยเลยอาจจะทำให้ที่ทำงานหลากหลายที่เกิดคำถามและข้อสงสัยขึ้นมา

– ต้องปรับตัวใหม่หลายครั้ง และต้องเหนื่อยกับการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวเองอยู่ตลอดเวลา

– เติบโตทีละนิด ไม่ได้ก้าวกระโดดมากนักเพราะประสบการณ์งานต่อสถานที่หนึ่งน้อยเกินไป

– เกิดความกดดันได้ง่าย ความสุขในการทำงานลดลง เพราะต้องปรับตัวใหม่ตลอดเวลา

– อาจจะเสียสิทธิ์ที่จะได้รับผลประโยชน์บางอย่างของบริษัทเดิมเพราะออกจากงานไวเกินไป

อ้างอิง: https://www.linkedin.com/pulse/5-advantages-disadvantages-job-hopping-stephanie-amos/

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

productivity

5 คำแนะนำจากปาก Elon Musk สู่ Ultra Productivity ใน 30 วัน

Productivity คือความสามารถในการทำงานหรือผลิตผลงานได้มากขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนด โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมักวัดจากผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาหรือความพยายามที่ใช้

หัวหน้าที่ดี

วิธีง่าย ๆ สู่การเป็น “หัวหน้าที่ดี” ที่ใคร ๆ ก็รัก

ไม่กลัวลูกน้องเก่งเกินหน้าเกินตา, ฟัง มากกว่า พูด, ชมเชยเมื่อทำดี และ ตำหนิแบบมีชั้นเชิง, ให้เครดิตกับทีม ไม่ใช่กับตัวเอง

นี่คือคุณสมบัติของ “หัวหน้าอันเป็นที่รักของลูกน้อง” ในฐานะหัวหน้างาน…เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นและลูกน้องรักมากขึ้น?

Presentation

Masterful Presentation : วิธีนำเสนอ สำคัญกว่า เนื้อหาที่พูด

1. Steve Jobs หยิบ MacBook Air ออกมาจากซองจดหมาย 2. หน้าสไลด์ที่มีแค่ 3 หัวข้อเท่านั้น 3. ซูชิคำเล็กๆ ที่ถูกจัดเรียงมาอย่างสวยงาม นี่คือตัวอย่างของ Masterful Presentation ศิลปะการนำเสนอขั้นเซียนที่สะกดใจผู้คน